นวัตกรรมบริหารวิชาการสร้างนวัตกรสะเต็มศึกษาเพื่อใช้ในชีวิตจริง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมบริหารวิชาการเพื่อสร้างนวัตกรในโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการนำสะเต็มศึกษาไปใช้ในชีวิตจริง โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ กลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 296 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้างานกลุ่มบริหารวิชาการ และครูผู้สอนรายวิชาสะเต็มศึกษา สุ่มตัวอย่างโรงเรียนและผู้ให้ข้อมูลแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารวิชาการตามแนวคิดการนำสะเต็มศึกษาไปใช้ในชีวิตจริง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น นำค่าที่ได้มาสังเคราะห์จัดทำเป็นร่างนวัตกรรมบริหารวิชาการฉบับที่ 1 จากนั้นจึงนำไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 17 คน ประเมินความเป็นไปได้และความเหมาะสมของร่างนวัตกรรมดังกล่าว ผลการประเมินนำไปสู่การปรับร่างนวัตกรรมบริหารวิชาการฉบับที่ 2 เมื่อปรับเสร็จจึงนำไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 คน ประเมินความเป็นไปได้และความเหมาะสมโดยการสนทนากลุ่ม เพื่อปรับและยกร่างนวัตกรรมบริหารวิชาการฉบับสมบูรณ์ ผลการวิจัยได้นวัตกรรมบริหารวิชาการสร้างนวัตกรสะเต็มศึกษาเพื่อใช้ในชีวิตจริง ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) นวัตกรรมหลักสูตรสร้างนวัตกรสะเต็มศึกษาแก้ปัญหาชีวิต การทำงานและเศรษฐกิจ 2) นวัตกรรมการเรียนการสอนสร้าง นวัตกรสะเต็มศึกษาแก้ปัญหาชีวิต การทำงานและเศรษฐกิจ และ 3) นวัตกรรมการวัดและประเมินผลสร้างนวัตกรสะเต็มศึกษาแก้ปัญหาชีวิต การทำงานและเศรษฐกิจ
Article Details
References
ณิชภัทร นนทะโส และยุทธพงศ์ ทิพย์ชาติ. (2561). การศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาตามความคิดเห็นของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิเขต 2. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่3, 1447-1460.
นุชนภา ราชนิยม. (2554). การศึกษาสภาพปัญหา และความพร้อมของการจัดการเรียนการสอนรูปแบบสะเต็มศึกษาในระดับประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. CUIR. http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51059
บำรุง เฉียบแหลม. (2559). นโยบายการจัดการเรียนการสอนสะเต็มในสถานศึกษา. สระบุรี. รายงานผลการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ในเขตตรวจราชการที่ 1. กระทรวงศึกษาธิการ. http://www.reo1.moe.go.th/web/images/download/2560-reo1-policy-stem.pdf
ประสงค์สิทธิ์ ราชชมภู และนิธิตา สิริพงศ์ทักษิณ. (2563). กระบวนการนำนโยบายสะเต็มศึกษาไปปฏิบัติในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารการบริหารการปกครอง, 9(2), 541-556.
ปูชนีย์ ช่วยไธสง และพีรศักดิ์ วรฉัตร. (2563). การพัฒนาแนวทางการบริหารสะเต็มศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 32. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 9(2), 584-597.
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2561). บทบรรณาธิการ. วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา, 1(2).
ลือชา ลดาชาติ, วิลาวัลย์ โพธิ์ทอง, วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์ และลฏาภา ลดาชาติ. (2562). ความเข้าใจและมุมมองของครูเกี่ยวกับสะเต็มศึกษาและการออกแบบเชิงวิศวกรรม. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 39(3), 133-149.
วิทยา วรพันธุ์ และ ประสาท เนืองเฉลิม. (2562). การประเมินการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 6(1), 419-426.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561, 2 กันยายน). รู้จักสะเต็ม. STEM education Thailand. http://www.stemedthailand.org/?page_id=23
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2563. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). รายงานการวิจัย เพื่อจัดทำข้อเสนอนโยบาย การส่งเสริมการจัดการศึกษาด้านสะเต็มศึกษาของประเทศไทย. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). รายงานการวิจัยแนวโน้มภาพอนาคตการศึกษาและการเรียนรู้ของไทยในปีพ.ศ.2573. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ.2561. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
Beatty, A. (2011). Successful STEM education:workshop summary. The National Academies Press.
Homhol, P.D. & Kanjanasakda, Y. (2009). Need for and lack of engineering workforce in Thailand’s industrail estates. University of Thai Chamber of Commerce Journal, 29(3),67-83.
Markman, A. (2012, December 4). How to create an innovation ecosystem. Harvard Business Review. https://hbr.org/2012/12/how-to-create-an-innovation-ec
Painprasert, N. & Jeerungsuwan, N. (2015). Factors supporting the STEM education learning management of leader teachers in the STEM education network of Thailand. The Twelfeth International Conference on eLearning for Knowledge-Based Society (pp. 36.1-36.6). Siam Technology College.
Vasquez Jo.A., Sneiser, C.I., & Comer, M. W. (2013). STEM Lesson essentials, grade3-8: Integrating science, technology, engineering, and mathematics. Heinemann.
Vennix, J., den Brok, P. & Taconis, R. . (2017). Perceptions of STEM-based outreach learning activities in secondary education. Learning Environment Research, 20(1), 21-46. https://doi.org/10.1007/s10984-016-9217-6