ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวควบคู่การฝึกสมาธิแบบอานาปานสติเพื่อพัฒนาพฤติกรรมความมุ่งมั่นในการทำงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัฒนพฤกษา จังหวัดนนทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบพฤติกรรมความมุ่งมั่นในการทำงานของนักเรียน กลุ่มทดลองก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวควบคู่การฝึกสมาธิแบบอานาปานสติเพื่อพัฒนาพฤติกรรมความมุ่งมั่นในการทำงาน (2) เปรียบเทียบพฤติกรรมความมุ่งมั่นในการทำงานของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวควบคู่การฝึกสมาธิแบบอานาปานสติและนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ใช้กิจกรรมแนะแนวปกติหลังการทดลอง และ (3) เปรียบเทียบพฤติกรรมความมุ่งมั่นในการทำงานของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังการทดลองกับติดตามผล กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัฒนพฤกษา จังหวัดนนทบุรี จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการจับคู่ แบ่งเป็นนักเรียนกลุ่มทดลอง 15 คน และนักเรียนกลุ่มควบคุม 15 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แบบวัดพฤติกรรมความมุ่งมั่นในการทำงานที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .88 (2) ชุดกิจกรรมแนะแนวควบคู่การฝึกสมาธิแบบอานาปานสติ และ (3) กิจกรรมแนะแนวปกติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ภายหลังการทดลองนักเรียนกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมความมุ่งมั่นในการทำงานสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ภายหลังการทดลอง นักเรียนกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมความมุ่งมั่นในการทำงานสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักเรียนกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมความมุ่งมั่นในการทำงานหลังการทดลองไม่แตกต่างจากติดตามผล
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
เกียรติวรรณ อมาตยกุล. (2534). สอนให้เป็นอัจฉริยะตามแนวนีโอฮิวแมนนิส. กรุงเทพมหานคร: ที.พี พริ้นท์.
ชญาภา วิชชาวณิชนันท์. (2553). การใช้การให้การปรึกษากลุ่มแบบเผชิญความจริงเพื่อเสริมสร้างความมุ่งมั่นในการทำงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
นที ศิริจรรยาพงษ์. (2560).พฤติกรรมความมุ่งมั่นในการทำงานของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9. วารสารวิชาสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล, 15(1), 79-94.
ประณิตา ทองพันธ์. (2560). ผลการใช้กิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตลอออุทิศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 15(1) 79-94.
ปริญญา ตันสกุล. (2543). คัมภีร์แห่งอัจฉริยะ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จิตจักรวาล
พรรณธิดา สายตา. (2553). ทักษะการรับรู้ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการฝึกสมาธิก่อนกิจกรรมเสริมประสบการณ์. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.
พระมหาเกรียงศักดิ์ สุทธิชาติ. (2548). ผลของชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้เทคนิคการเจริญภาวนาตามแนวสติปัฏฐาน 4 ที่มีต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของเยาวชนชายในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 2 จังหวัดราชบุรี. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
พระมหาสุริยันต์ สัตตะยากุมภ์. (2555). ผลของการฝึกสมาธิแบบอานาปานสติที่มีต่อพฤติกรรมการตั้งใจเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.
พัชตรา พรหมชาติ. (2555). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาพฤติกรรมมุ่งมั่นในการทำงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพระแม่มารี กรุงเทพมหานคร. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มสธ. ครั้งที่ 3.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
มารุต พัฒผล.(2552). เอกสารประกอบการเรียนรู้รายวิชาสัมมนานวัตกรรมโค้ชเพื่อการรู้คิด บทที่ 3 สมองกับการรู้คิด สาขาพหุวิทยาการ/สหวิทยาการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สืบค้นจาก http://www.curriculumandlearning.com/upload/Coaching/
ระเวียง ดอนศรีชา. (2561). การใช้กิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(4), 119-129.
เรขา กลลดาเรืองไกร. (2560). สร้างสมาธิ เสริมไอคิว. สืบค้นจาก https://goodlifeupdate.com/healthy-body/health-education/49620.html