ผลการพัฒนาทักษะทางสมองด้านการควบคุมอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดป่าประดู่ โดยการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบระดับทักษะทางสมองด้านการควบคุมอารมณ์ของนักเรียนกลุ่ม-ทดลองก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว และ 2) เปรียบเทียบระดับทักษะทางสมองด้านการควบคุมอารมณ์ของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับชุดกิจกรรมแนะแนวกับนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับกิจกรรมแนะแนวปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 78 คน รวม 2 ห้องเรียนที่จัดชั้นเรียนแบบคละความสามารถของโรงเรียนวัดป่าประดู่ จังหวัดระยอง ที่มีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะทางสมองด้านการควบคุมอารมณ์ต่ำที่สุด จากนั้นสุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะทางสมองด้านการควบคุมอารมณ์ 2) ชุดกิจกรรมแนะแนวปกติ และ 3) แบบวัดทักษะทางสมองด้านการควบคุมอารมณ์ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ภายหลังการทดลอง คะแนนเฉลี่ยทักษะทางสมองด้านการควบคุมอารมณ์ของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) ภายหลังการทดลอง คะแนนเฉลี่ยทักษะทางสมองด้านการควบคุมอารมณ์ของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะทางสมองด้านการควบคุมอารมณ์สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับกิจกรรมแนะแนวปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กระทรวงศึกษาธิการ.
กฤตวรรณ คำสม. (2564). ผลการใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาทักษะสมอง (EF) ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู. วารสารคุรุศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี, 3(2), 51-64.
จีริสุดา แก้วประเสริฐ. (2555). ผลของการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดมนุษยนิยมเพื่อฝึกความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนหลวงพ่อปานคลองด่านอนุสรณ์จังหวัดสมุทรปราการ. [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบณัฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ณัฎฐา ผิวมา. (2564). การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานด้วยบูรณาการเทคโนโลยีเกมคอมพิวเตอร์. วารสาร มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 15(1), 1-15.
ภัทรมน ขันธาฤทธิ์. (2551). การสร้างชุดการสอนกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดป่าบำเพ็ญเหนือ เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ยุพาพรรณ ศิริอ้าย. (2558). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตด้านการจัดการอารมณ์และความเครียดของเด็กกำพร้า มูลนิธิห่วงใยเด็กกำพร้า จังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วชิรา ธานีรัตน์. (2564). ผลของการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาทักษะทางสมองด้านการใส่ใจจดจ่อของเด็กปฐมวัย ชั้นปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 7(2), 1-7.
วิไลวรรณ มะหะพรหม. (2561). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวควบคู่ศิลปะที่มีต่อการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ด้านการตระหนักรู้อารมณ์ของตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนไผทอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สมร ทองดี และ ปราณี รามสูตร. (2545). หน่วยที่ 9 แนวคิดในการพัฒนากิจกรรมแนะแนว. ใน ประมวลสาระชุดวิชาการพัฒนาเครื่องมือและกิจกรรมแนะแนว หน่วยที่ 9-15 ( น.1-50). นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุภาพร ทองสาดี. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงบริหารด้านการยับยั้งควบคุมตนเองและด้านความจำขณะทำงานของเด็กปฐมวัยที่มีภาวะเสี่ยงสมาธิสั้น. [วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุภาวดี หาญเมธี. (2559). พัฒนาทักษะสมองEF ด้วยการอ่าน. รักลูก.
อรนุช ยังเจริญ. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมจัดประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงบริหารด้านการควบคุมอารมณ์ ของเด็กปฐมวัยที่มีภาวะเสี่ยงสมาธิสั้น. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Bandura, A. (1986). Social foundation of thought and action: A social of cognitive theory. Prentice-Hall.
Frijda, N.H. (1986). The motions. Cambridge: Cambridge University Press.
Nunan, D. (2003). Practical English language teaching. McGraw-Hill Education.