นับหนึ่งข้ามความกลัว: การสำรวจความกลัวความล้มเหลว ในการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะของครูวิทยาศาสตร์

Main Article Content

อนุพงศ์ ไพรศรี
ศรายุทธ ชาญนคร
สุพรรณวดี ประสงค์
สุทธิกานต์ เลขานุกานต์
ธนวรรษน์ เหง้าดา
ธาฤชร ประสพลาภ
วราลักษณ์ สีระคาม
ชาตรี ฝ่ายคำตา

บทคัดย่อ

การเปลี่ยนแปลงอย่างผันผวนในโลกปัจจุบันทำให้เป้าหมายการศึกษามุ่งไปที่การพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นในชีวิตจริงและส่งเสริมผู้เรียนตามศักยภาพของเขา ความท้าทายที่เกิดขึ้นคือครูผู้สอนต้องปรับเปลี่ยนมุมมอง ความเชื่อและแนวปฏิบัติจากการสอนแบบเดิมที่เป็นการบรรยายมาเป็นการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะของผู้เรียน งานวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความกลัวความล้มเหลวของครูวิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษา ในจังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 55 คน ได้จากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม เรื่อง ความกลัวความล้มเหลวในการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะของครูวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย คำถามปลายปิดที่ใช้มาตรวัดแบบลิเคิร์ท และคำถามปลายเปิด มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.90 ผลการศึกษาพบว่า ครูวิทยาศาสตร์มีความกลัวความล้มเหลวด้านอารมณ์ความรู้สึกในการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะอยู่ระดับปานกลาง ครูมองว่าผู้เรียนเป็นบริบทสำคัญที่ทำให้การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว  ครูมีความกลัวความล้มเหลวด้านลักษณะนิสัยเฉพาะบุคคลในการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะอยู่ระดับปานกลาง ซึ่งส่วนใหญ่มองโลกในแง่ดี กล้าเผชิญหน้าและมีความพร้อมในการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ แต่ครูบางส่วนยอมรับความล้มเหลวในการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ งานวิจัยครั้งต่อไปกลุ่มผู้วิจัยเสนอให้นักวิจัย และนักการศึกษาแนวทางการกระตุ้นหรือส่งเสริมให้ครูวิทยาศาสตร์ลดความกลัวความล้มเหลวในการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะผ่านกระบวนการพัฒนาวิชาชีพครู ซึ่งคาดหวังว่าจะทำให้ครูเข้าใจการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะมากขึ้น และสามารถนำไปใช้ในห้องเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

How to Cite
ไพรศรี อ., ชาญนคร ศ. ., ประสงค์ ส. ., เลขานุกานต์ ส. ., เหง้าดา ธ. ., ประสพลาภ ธ., สีระคาม ว. ., & ฝ่ายคำตา ช. (2023). นับหนึ่งข้ามความกลัว: การสำรวจความกลัวความล้มเหลว ในการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะของครูวิทยาศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 16(1), 126–139. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/edjour_stou/article/view/261303
บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษาและสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). เอกสารประกอบลำดับที่ 4 โครงการวิจัยและพัฒนากรอบสมรรถนะผู้เรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น สำหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. เอกสารสำเนา

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กระทรวงศึกษาธิการ.

ชาตรี ฝ่ายคำตา, ธาฤชร ประสพลาภ, อนุพงศ์ ไพรศรี, เขมวดี พงศานนท์, นิอร ภูรัตน์, และ กุลธิดา สะอาด. (2566). การพัฒนาชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพที่ส่งเสริมสมรรถนะของครูวิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้ในเนื้อหาเฉพาะที่เน้นการคิดขั้นสูง. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา, 6(1), 36-73.

ภัสราภรณ์ สหะกิจ. (2564). ทรรศนะเกี่ยวกับทิศทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในหลักสูตรฐานสมรรถนะของประเทศไทย. วารสารชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพครู, 1(2), 112-137.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.). (2565). กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษา (ร่าง). https://cbethailand.com

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). เข้าใจสมรรถนะอย่างง่าย ๆ ฉบับประชาชน และเข้าใจหลักสูตรฐานสมรรถนะอย่างง่าย ๆ ฉบับครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษา. http://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/1661-file.pdf

Australian Curriculum, Assessment and Reporting Authority [ACARA]. (2014). Foundation to year 10 curriculum: Language for interaction (ACELA1428). https://www.australiancurriculum.edu.au

Annetta, L., Keaton, W., Shaprio, M., & Burch, J. (2018). Competency-based education in science teacher education: The next disruptive innovation or the next disruption. In M. Shelley & S. A. Kiray (Eds.), Education Research Highlights in Mathematics, Science and Technology 2018 (pp 123-140). ISRES Publishing.

Christian, K.B., Kelly, A.M., & Bugallo, M.F. (2021). NGSS-based teacher professional development to implement engineering practices in STEM instruction. International Journal of STEM Education, 8(21), 1-18.

Ford, R., & Meyer, R. (2015). Competency-based education 101. Procedia Manufacturing, 3, 1473-1480.

Gervais, J. (2016). The operational definition of competency-based education. The Journal of Competency-Based Education, 1(2), 98-106.

Henry, M. A., Shorter, S., Charkoudian, L. K., Heemstra, J. M., Le, B., & Corwin, L. A. (2021). Quantifying fear of failure in STEM: modifying and evaluating the Performance Failure Appraisal Inventory (PFAI) for use with STEM undergraduates. International Journal of STEM Education, 8(1), 1-28.

Kang, E. J. S., McCarthy, M. J., & Donovan, C. (2019). Elementary teachers’ enactment of the NGSS science and engineering practices. Journal of Science Teacher Education, 30(7), 788–814.

Lane, R., McMaster, H., Adnum, J., & Cavanagh, M. (2014). Quality reflective practice in teacher education: A journey towards shared understanding. Reflective Practice, 15(4), 481-494.

Likert, R. (1961). New Patterns of management. McGraw-Hill Book Company.

Lutovac, S. (2020). How failure shapes teacher identities: Pre-service elementary school and mathematics teachers’ narrated possible selves. Teaching and Teacher education, 94, 103120.

Lutovac, S., & Flores, M. (2021). ‘Those who fail should not be teachers’: Pre-service Teachers’ Understandings of Failure and Teacher Identity Development. Journal of Education for Teaching, 47(3), 379-394.

Martin, A.J. (2012). Fear of Failure in Learning. In: Seel, N.M. (eds) Encyclopedia of the Sciences of Learning. Springer, Boston, MA. https://doi.org/10.1007/978-1-4419-1428-6_266

Martin, A. J., & Marsh, H. W. (2003). Fear of failure: Friend or foe?. Australian Psychologist, 38(1), 31-38.

OECD. (2018). The Future of Education and Skills: Education 2030. Position paper,https://www.oecd.org/education/2030/E2030%20Position%20Paper%20(05.04.2018).pdf

O’sullivan, N., & Burce, A. (2014, September). Teaching and learning in competency-based education. In The Fifth International Conference on e-Learning (eLearning-2014) (pp. 22-23).

Patrick, S., & Sturgis, C. (2013). necessary for success: Building mastery of world-class Skills—A state policymakers guide to competency education. Competency works issue Brief. International Association for K-12 Online Learning.

Park, S., & Oliver, J. S. (2008). Revisiting the conceptualisation of pedagogical content knowledge (PCK): PCK as a conceptual tool to understand teachers as professionals. Research in Science Education, 38(3), 261- 284.

Schön, D. A. (2017). The reflective practitioner: How professionals think in action. Routledge.

Simpson, A., & Maltese, A. (2017). “Failure is a major component of learning anything”: The role of failure in the development of STEM professionals. Journal of Science Education and Technology, 26(2), 223-237.

Sohsomboon, P., & Yuenyong, C. (2021, June). Strategies for teacher utilizing ethnography as a way of seeing for STEAM education. Journal of Physics: Conference Series, 1933(1), 012080.

Waller, R. E., Lemoine, P. A., Mense, E. G., & Richardson, M. D. (2019). Higher education in search of competitive advantage: Globalization, technology and e-learning. International Journal of Advanced Research and Publications, 3(8), 184-190.