รูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งกลุ่มข้าวพันธุ์พื้นเมืองชุมชนบ้านลิ่มทอง ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาพัฒนาการกลุ่มข้าวพันธุ์พื้นเมืองของชุมชนบ้านลิ่มทอง ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ (2) เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหากลุ่มข้าวพันธุ์พื้นเมืองของชุมชนบ้านลิ่มทอง ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ และ (3) เพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งกลุ่มข้าวพันธุ์พื้นเมืองของชุมชนบ้านลิ่มทอง ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม การเก็บข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และจัดเวทีระดมสมองและพัฒนาศักยภาพ ผลการศึกษาพบว่า พัฒนาการเพาะปลูกข้าวชุมชนบ้านลิ่มทองตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ แบ่งออกเป็น 3 ยุค ได้แก่ ยุคก่อตั้งชุมชนกับการเพาะปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมือง (พ.ศ. 2527-2539) ยุคเปลี่ยนแปลงการเพาะปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมือง (พ.ศ. 2540-2552) และยุคปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมืองแบบพึ่งพาตนเอง (2552-2561) ปัจจุบันกลุ่มข้าวพันธุ์พื้นเมืองกำลังเผชิญกับปัญหาการตลาด การบริหารจัดการกลุ่มที่เข้มแข็ง การขยายกลุ่มที่ชัดเจน เป็นต้น คณะผู้วิจัยจึงได้ค้นหารูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งกลุ่มข้าวพันธุ์พื้นเมืองชุมชนบ้านลิ่มทอง จนเกิดการจัดการโครงการจัดการกลุ่มที่ชัดเจน พร้อมทั้งมีกติกากลุ่ม เดิมมีสมาชิก 17 คน หลังจากดำเนินการวิจัยมีสมาชิกเพิ่มอีก 13 คน รวมเป็น 30 คน มีการตั้งชื่อกลุ่มว่า “กลุ่มข้าวปลอดสารบ้านลิ่มทอง” นอกจากนี้ยังระดมวัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่ในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม เช่น เครื่องสีข้าวขนาดเล็ก พื้นที่เก็บข้าวของชุมชน เครื่องบรรจุข้าวสุญญากาศ และมีงบประมาณกองทุนของกลุ่ม จำนวน 200,000 บาท ซึ่งถือได้ว่ากลุ่มข้าวพันธุ์พื้นเมืองชุมชนบ้านลิ่มทองมีศักยภาพที่สามารถขับเคลื่อนกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ประกาศลิขสิทธิ์จะปรากฏในเกี่ยวกับวารสาร ควรอธิบายสำหรับผู้อ่านและผู้เขียนว่าเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นผู้เขียนวารสารหรือบุคคลที่สาม ควรรวมถึงข้อตกลงการอนุญาตเพิ่มเติม (เช่นใบอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์) ที่ให้สิทธิ์แก่ผู้อ่าน (ดูตัวอย่าง) และควรให้วิธีการรักษาความปลอดภัยหากจำเป็นสำหรับการใช้เนื้อหาของวารสาร