คำแนะนำสำหรับผู้แต่ง
คำแนะนำสำหรับผู้แต่ง
วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์ โดยคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นวารสารวิชาการราย 6 เดือน ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน) และฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม) ทั้งนี้อาจจะมีวารสารฉบับพิเศษ (Special issue) หรือฉบับที่ตีพิมพ์บทความจากการประชุมวิชาการ (Conference proceedings) ผู้เขียนทุกท่านสามารถส่งบทความด้านมนุษยศาสตร์และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ภาษา ภาษาศาสตร์ วรรณคดี วรรณกรรม คติชนวิทยา วัฒนธรรม การท่องเที่ยว ปรัชญา ประวัติศาสตร์ บรรณารักษศาสตร์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มาขอรับการพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ได้ตลอดทั้งปี
1. บทความที่ขอตีพิมพ์เผยแพร่
- บทความจะต้องอยู่ในรูปแบบของบทความวิจัย บทความวิชาการ บทความปริทัศน์ และบทวิจารณ์หนังสือ สำหรับบทความปริทัศน์ และบทวิจารณ์หนังสือจะไม่นำเข้าสู่กระบวนการประเมินคุณภาพ แต่จะพิจารณาความเหมาะสมของเนื้อหาโดยกองบรรณาธิการ
- บทความจะต้องไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อน รวมถึงไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
- บทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ทุกบทความจะต้องผ่านการกลั่นกรองคุณภาพแบบไม่เปิดเผยตัวตนสองทาง (double-blind review) จากผู้ทรงคุณวุฒิ (peer review) ในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 ท่าน และผลการพิจารณาจากกองบรรณาธิการถือเป็นที่สุด
- บทความที่เป็นบทความวิจัยที่ส่งมายังวารสารตั้งแต่ พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ต้องมีหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์แนบมาพร้อมกับบทความ (ยกเว้นได้รับการพิจารณาจากกองบรรณาธิการเป็นรายเฉพาะ)
- หากเป็นงานแปลหรือเรียบเรียงจากภาษาต่างประเทศ ต้องมีหลักฐานการอนุญาตให้ตีพิมพ์เป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของลิขสิทธิ์
- บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ผู้เขียนต้องตรวจสอบความถูกต้องทางไวยากรณ์ ก่อนขอรับการพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่จากวารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์
2. การเตรียมต้นฉบับ
2.1 ต้นฉบับต้องจัดทำด้วยโปรแกรม Word ขนาด A4 รวมความยาว 15-17 หน้า จัดรูปแบบหน้าแบบบรรทัดเดี่ยว (Single space) ทั้งนี้รวมเอกสารอ้างอิง ยกเว้นกรณีมีภาพประกอบหรือตารางที่อาจจะต้องใช้พื้นที่ในการใส่ภาพและตาราง กองบรรณาธิการจะพิจารณาตามความเหมาะสม เนื้อหาในบทความใช้อักษร TH Sarabun New ขนาด 16 พอยต์ กำหนดขอบกระดาษของ Word ด้านซ้ายและด้านบน ด้านขวาและด้านล่าง 2.54 ซม. ใส่เลขหน้าไว้ที่มุมบนขวาด้านบน ห่างจากขอบบน 1.25 ซม.
2.2 ส่วนประกอบของต้นฉบับบทความ ประกอบด้วย
1) ชื่อเรื่อง (Title) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตัวหนา ตัวอักษรขนาด 20 พอยต์ จัดพิมพ์กึ่งกลางหน้ากระดาษ
2) ชื่อผู้เขียน (Author) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ อยู่ถัดลงมาจากชื่อเรื่อง โดยเว้นระยะ 1 บรรทัดใต้ชื่อบทความ ใช้ตัวอักษรขนาด 14 พอยต์ จัดไว้ที่มุมด้านขวาแบบเรียงลำดับจากซ้ายไปขวา และกำหนดเครื่องหมายดอกจัน (*) แบบตัวยก (Superscript) ท้ายชื่อผู้ประสานงานหลัก (Corresponding author)
3) ชื่อตำแหน่งและหน่วยงานที่สังกัด (Position and Affiliation) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ทำเป็นเชิงอรรถท้ายหน้า (footer) แบบตัวเลข โดยระบุตำแหน่งทางวิชาการหรือสถานภาพใด ๆ สังกัดของผู้แต่งต้องมีเพียงสังกัดเดียว (หากมีหลายสังกัดให้เลือกเพียง 1 สังกัด) และเรียงลำดับจากหน่วยงานระดับต้นไปจนถึงหน่วยงานหลัก เช่น ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยใช้รูปแบบอักษร TH Sarabun New ขนาด 12 พอยท์ และชื่อผู้ประสานงานหลัก (Corresponding author) เป็นลำดับสุดท้ายในเชิงอรรถท้ายหน้า
4) ข้อมูลการติดต่อผู้แต่ง (Contact) โดยให้ระบุเป็นอีเมลของผู้เขียน ใส่ต่อท้ายจากชื่อหน่วยงานที่สังกัด
5) บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ หัวข้ออยู่กึ่งกลาง โดยมีเนื้อหาความยาวประมาณ 200-300 คำ และคำสำคัญ 3-6 คำทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใส่ไว้ด้านล่างบทคัดย่อของแต่ละภาษา โดยเว้นวรรคแต่ละคำสำคัญในภาษาไทย สำหรับคำสำคัญภาษาอังกฤษต้องใช้ตัวอักษรตัวใหญ่ตัวแรกของทุกคำและคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค “,”
6) เนื้อเรื่อง มีส่วนประกอบดังต่อไปนี้
6.1) บทความวิจัย ต้องประกอบไปด้วยส่วนประกอบหลักที่สำคัญ ได้แก่
- บทนำ (Introduction)
- วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (Literature reviews)
- วัตถุประสงค์การวิจัย (Objective)
- วิธีดำเนินการวิจัย (Method)
- ผลการวิจัย (Results)
- สรุปและอภิปรายผลการวิจัย (Conclusion and Discussion)
- รายการเอกสารอ้างอิง (References)
6.2) บทความวิชาการ ประกอบไปด้วย
- บทนำ
- หัวข้อเนื้อหาที่นำเสนอตามลำดับและบทวิเคราะห์ สังเคราะห์ทางวิชาการตามประเด็นของเรื่องที่เขียน
- บทสรุป
- รายการเอกสารอ้างอิง
6.3) ภาพ แผนภูมิและตารางประกอบ ในเนื้อหาให้กำหนดดังนี้
- ภาพประกอบเป็นภาพสี หรือขาว-ดำ
- ภาพประกอบและตารางประกอบทั้งหมดที่นำมาต้องไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานของบุคคลอื่น
- ภาพประกอบจัดกึ่งกลางของหน้ากระดาษ และไม่ต้องตีกรอบ
- ชื่อภาพประกอบจัดไว้ใต้ภาพ ใช้คำว่า ภาพที่ ต่อด้วยหมายเลขอารบิกของภาพ คำบรรยายภาพ และแหล่งที่มาของภาพ หรือแผนภูมิ
- ตารางประกอบจัดไว้กึ่งกลางหน้ากระดาษ
- ชื่อตารางประกอบอยู่เหนือตารางด้านบนสุดและจัดชิดซ้ายกระดาษ ใช้คำว่า ตารางที่ ต่อด้วย หมายเลขตารางและชื่อตาราง โดยตารางต้องตีกรอบทั้งหมด
3. การอ้างอิงในเนื้อเรื่องและรายการเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ
ใช้วิธีการอ้างอิงตามรูปแบบ APA ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6 แต่ละรายการที่มีการอ้างอิงในเนื้อหาจะต้องนำไปรวบรวมไว้ในรายการอ้างอิงท้ายบทความ
3.1 การอ้างอิงในเนื้อเรื่อง (In-text Citation)
ใช้วิธีการอ้างอิงแบบนาม-ปี (name-year system) โดยระบุชื่อผู้แต่ง หรือชื่อเรื่องในกรณีที่ไม่มีชื่อผู้แต่งและระบุปีที่พิมพ์เป็น ค.ศ. สำหรับเอกสารภาษาต่างประเทศ หรือเป็น พ.ศ. สำหรับเอกสารภาษาไทย ของเอกสารไว้ข้างหน้าหรือข้างหลังข้อความที่ต้องการอ้างอิงเพื่อบอกแหล่งที่มาของข้อความนั้น และอาจระบุเลขหน้าของเอกสารที่อ้างด้วยก็ได้ ตัวอย่าง
สมทรง บุรุษพัฒน์ (2560, น. 103-108) แสดงผลการศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางเสียง.......หรืออ้างอิงในเนื้อหาแบบไว้ท้าย
“.............” (สมทรง บุรุษพัฒน์, 2560, น. 103-108)
กรณีอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลที่นำมาอ้างแล้ว
Scollon & Scollon (2012) นำเสนอวิธีการวิเคราะห์ว่า....................
หรืออ้างอิงแบบเนื้อหาไว้ท้าย
“.............” (Scollon & Scollon, 2012, pp.18-36)
Labov กล่าวว่า ............. (อ้างถึงใน อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์, 2548, น. 10)
หรืออ้างอิงในเนื้อหาแบบไว้ท้าย
“.............” (Labov อ้างถึงใน อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์, 2548, น. 10)
Jokobson เป็นผู้นำเสนอแนวทางประยุกต์.....................(as cited in Widdowson, 1996)
หรืออ้างอิงในเนื้อหาแบบไว้ท้าย
“.............” (Jokobson as cited in Widdowson, 1996)
3.2 รายการเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ
ให้รวบรวมเอกสารทั้งหมดที่ใช้อ้างอิงในเนื้อหาไว้ท้ายบทความ จัดเรียงตามลำดับอักษรชื่อผู้แต่งใช้รูปแบบการลงรายการตามระบบ APA ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6
ตัวอย่าง
- หนังสือ
ชื่อผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง/ครั้งที่พิมพ์ (พิมพ์ครั้งแรกไม่ต้องใส่ครั้งที่พิมพ์)./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.
(ในกรณีที่ไม่ใช่สำนักพิมพ์ เป็นหน่วนงานสถาบันการศึกษา ให้จัดเรียงหน่วยงานใหญ่ไปหาหน่วยงานย่อยโดยมีเครื่องหมายจุลภาคคั่น)
ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. (2547). วรรณคดีอยุธยาตอนต้น: ลักษณะร่วมและอิทธิพล. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
คณะอักษรศาสตร์, โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ.
Catford, J. C. (1965). A linguistic theory of translation. London: Oxford University.
- บทความวารสาร
ชื่อผู้เขียนบทความ./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,/ปีที่ (ฉบับที่),/เลขหน้าที่ปรากฏ.
วิโรจ นาคชาตรี. (2558). ความเชื่อและปาฏิหาริย์พระเจ้าทันใจ: ศึกษาเฉพาะกรณีวัดยอดแก้วศรีบุญเรือง.
วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์, 34(1), 47-64.
Fandrych, C., & Graefen, G. (2002). Text commenting devices in German and English academic
articles. Multilingua, 21(1), 17-34.
- บทความหรือบทในหนังสือ
ชื่อผู้เขียนบทความ./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ใน/ชื่อผู้แต่ง (บรรณาธิการ),/ชื่อหนังสือ/(ครั้งที่พิมพ์),
(เลขหน้าที่ปรากฏในบทความจากหน้าใดถึงหน้าใด)./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.
ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ. (2561). คุณสมบัติน้ำเสียงในภาษาตระกูลมอญ-เขมร (Phonation Types in Mon-Khmer Languages).
ใน พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์, วิภาส โพธิแพทย์ และคเชนทร์ ตัญศิริ (บรรณาธิการ), ศาสตร์แห่งภาษา: ในวาระครบรอบ 42 ปี ภาควิชา
ภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, (น. 88-110). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะอักษรศาสตร์.
Klaudy, K. (2009). Exploitation. In Baker, M. and G. Saldanha (Eds.), Routledge encyclopedia of translation studies,
(pp. 104-108). New York and London: Routledge.
- วิทยานิพนธ์หรือดุษฎีนิพนธ์
ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อวิทยานิพนธ์./(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต/หรือวิทยานิพนธ์ปริญญา
ดุษฎีบัณฑิต)./ชื่อมหาวิทยาลัย, เมืองที่ตั้งมหาวิทยาลัย.
ยาใจ ชูวิชา. (2536). ความเป็นประโยคของหน่วยสร้างกริยาเรียงในภาษาไทย. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต).
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
- วิทยานิพนธ์หรือดุษฎีนิพนธ์สืบค้นจากเว็บไซต์
Evans, A. A. (2019). An integrated writing task in French as a foreign language: An analysis of processes, products, and
perceptions. (Doctoral Dissertation University of Iowa). Retrieved from https://ir.uiowa.edu/etd/6943/.
- เอกสารจากเว็บไซต์
ชื่อผู้เขียนเอกสาร. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. สืบค้นจาก (Retrieved from) URL ของเว็บไซต์
ปกรณ์ ชื่นเชาว์ไว. (ม.ป.ป.). กติกาการเสริฟ (ฉบับย่อ). สืบค้นจาก http://thailandtabletennis.com/
default.asp?content=contentdetail&id=17798
Chefor, V. M., & Zhiying, X. (2020). Understanding the use of deixis in Paul Biya’s 2019 message to Cameroonian youth.
Retrieved from https://www.eajournals.org/wp-content/uploads/Understanding-the-Use-of-Deixis-in-Paul
-Biya%E2%80%99s-2019-Message-to-Cameroonian-Youth.pdf
4. อัตราค่าดำเนินการจัดพิมพ์บทความ
วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์ กำหนดอัตราค่าดำเนินการจัดพิมพ์บทความๆ ละ 3,000 บาท โดยโอนเข้าบัญชี ม.ร. วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์ ธนาคารออมสิน สาขารามคำแหง เลขที่บัญชี 020 267 961 538 และส่งหลักฐานการโอนเงินภายใน 7 วันหลังจากส่งบทความ อนึ่ง ขอสงวนสิทธิ์ว่าการโอนเงินค่าดำเนินการจัดพิมพ์วารสาร ท่านไม่สามารถรับคืนได้ไม่ว่ากรณีใดๆ
5. การส่งบทความ
ผู้เขียนส่งบทความไฟล์ Word และ Pdf ที่พิมพ์ตามข้อกำหนดของหลักเกณฑ์วารสารผ่านระบบออนไลน์ที่ https://www.tci-thaijo.org/index.php/huru เมื่อกองบรรณาธิการได้รับบทความจะดำเนินการตามขั้นตอนการพิจารณาของวารสาร และกองบรรณาธิการจะแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้เขียนบทความทราบ สำหรับบทความที่ผ่านการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิแล้วจะได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเพื่อเผยแพร่ต่อไป
6. ขั้นตอนการพิจารณาของวารสาร
เมื่อกองบรรณาธิการได้รับบทความต้นฉบับแล้ว จะพิจารณารูปแบบตามเกณฑ์ของวารสาร หากบทความต้นฉบับใดไม่เป็นไปตามเกณฑ์ของวารสาร กองบรรณาธิการจะแจ้งผลการพิจารณาพร้อมส่งคืนผลงานให้แก่ผู้เขียนนำกลับไปแก้ไข และหากเป็นไปตามเกณฑ์ของวารสารแล้ว จะเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณา ดังนี้
1. กองบรรณาธิการพิจารณาและทาบทามผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับบทความอย่างน้อย 3 ท่านต่อบทความ โดยวิธีการกลั่นกรองคุณภาพแบบไม่เปิดเผยตัวตนสองทาง (Double-blind Review)
2. ส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาประเมินเนื้อหาสาระ คุณภาพทางวิชาการ และตรวจสอบความถูกต้อง
3. เมื่อได้รับผลการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ กองบรรณาธิการรวบรวมผลและสรุปผลการประเมินเพื่อแจ้งผู้เขียน
- กรณีผลการประเมินไม่ผ่าน กองบรรณาธิการแจ้งปฏิเสธการตีพิมพ์บทความ
- กรณีผลการประเมินผ่าน แต่มีข้อแก้ไข ให้ผู้เขียนพิจารณาแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ ระบุรายละเอียดการแก้ไขและเลขหน้า จากนั้นส่งบทความที่แก้ไขแล้วมายังกองบรรณาธิการอีกครั้ง กรณีไม่แก้ไขต้องชี้แจงเหตุผลตามหลักวิชาการ หากไม่ระบุรายละเอียดการแก้ไขและเลขหน้า หรือให้เหตุผล กองบรรณาธิการ มีสิทธิ์ปฏิเสธการตอบรับตีพิมพ์บทความได้ทันที และกรณีไม่ดำเนินการแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนดจะถือว่าผู้เขียนสละสิทธิ์ในการตีพิมพ์บทความ กองบรรณาธิการมีสิทธิ์ปฏิเสธการตอบรับตีพิมพ์บทความได้ทันที
4. หากบทความแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิเรียบร้อยแล้ว กองบรรณาธิการจะออกหนังสือตอบรับการตีพิมพ์บทความไปยังผู้เขียน
5. ลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นลายลักษณ์อักษร
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หน่วยส่งเสริมพัฒนาทางวิชาการ อาคาร 1 ชั้น 1 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240 โทร. 02-310-8281
Facebook page (หน่วยส่งเสริมพัฒนาทางวิชาการ)
Download ตัวอย่าง Template
TH Sarabun New (ฟอนต์ไทยสารบรรณ รุ่นปรับปรุงใหม่ “THSarabun New")