จริยธรรมในการตีพิมพ์ผลงาน
บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Duties of Authors)
- บทความที่ส่งมาให้พิจารณาตีพิมพ์ในวารสารจะต้องเป็นผลงานใหม่ ไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อนและไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการอื่น
- บทความที่ส่งมาให้พิจารณาตีพิมพ์ในวารสารจะต้องไม่มีส่วนใดที่เป็นการลอกเลียนผลงาน ทั้งของตนเองและของผู้อื่น ในกรณีที่นำแนวคิด ทฤษฎี และผลงานของผู้อื่นมาใช้จะต้องขออนุญาตหรือมีการอ้างอิงอย่างถูกต้องและครบถ้วน
- นำเสนอบทความที่สอดคล้องกับนโยบายของวารสารซึ่งเน้นการเผยแพร่งานทางด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ โดยรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดจากการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูล หรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
- เตรียมต้นฉบับบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบของวารสาร และระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้ (หากมี)
- ผู้นิพนธ์ที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคน ต้องเป็นผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินการวิจัยจริง หากมีผู้นิพนธ์หลายคน ผู้นิพนธ์ทุกคนจะต้องเห็นชอบกับการส่งบทความนั้นให้วารสารตีพิมพ์
- รับฟังคำแนะนำของผู้ประเมินบทความและกองบรรณาธิการเพื่อการพัฒนาบทความให้มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้นิพนธ์สามารถอธิบายและชี้แจงเหตุผลในกรณีที่ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะให้มีการแก้ไขดังกล่าว
- ระบุข้อมูลเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อน (หากมี)
บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการ (Duties of Editors)
- ประกาศวิธีจัดเตรียมต้นฉบับและรายละเอียดที่จำเป็น เงื่อนไข หลักเกณฑ์ และอัตราค่าดำเนินการจัดการต้นฉบับอย่างชัดเจนให้ผู้สนใจส่งบทความตีพิมพ์และสาธารณชนทั่วไปรับทราบ
- ประสานงานกับผู้นิพนธ์ ผู้ประเมินบทความ และทีมผู้บริหารด้วยความซื่อสัตย์ โดยไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน
- พิจารณาคัดเลือกบทความที่จะตีพิมพ์ให้มีความถูกต้องทั้งในแง่วิชาการและจริยธรรม ไม่ตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาแล้ว
- ปฏิบัติต่อผู้นิพนธ์อย่างเสมอภาค ปกป้องความลับของผลงาน สื่อสารด้วยความรวดเร็วเพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้าของต้นฉบับโดยไม่มีเหตุผลสมควร
- กำหนดขั้นตอนและแนวปฏิบัติสำหรับผู้ประเมินบทความ เพื่อให้การทำงานมีความถูกต้องรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม จะต้องให้ผู้ประเมินบทความทำงานได้อย่างเต็มที่ โดยที่ผู้ประเมินไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ประเมิน
- ปกป้องความเป็นส่วนตัว โดยไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์และผู้ประเมินแก่ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องในระหว่างกระบวนการประเมินคุณภาพบทความ
- ตรวจสอบการคัดลอกหรือการละเมิดผลงานของผู้อื่นอย่างจริงจัง โดยใช้โปรแกรมตรวจสอบการคัดลอกผลงานที่เชื่อถือได้ เพื่อให้แน่ใจว่าบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารไม่มีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น
- เมื่อสงสัยว่าผู้นิพนธ์กระทำผิดจรรยาบรรณ ต้องตรวจสอบหาหลักฐานให้แน่ชัด และประสานงานกับผู้นิพนธ์หลักเพื่อขอคำชี้แจง ก่อนจะตัดสินใจ “ปฏิเสธ” การตีพิมพ์บทความนั้น ๆ
- เมื่อพบว่าผู้นิพนธ์ได้คัดลอกหรือละเมิดผลงานของผู้อื่น ต้องประสานงานกับผู้นิพนธ์หลักเพื่อขอคำชี้แจง สำหรับใช้ตัดสินใจ “ตอบรับ” หรือ “ปฏิเสธ” การตีพิมพ์บทความนั้น ๆ
บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Duties of Reviewers)
- หลังจากได้รับบทความจากบรรณาธิการวารสาร หากตระหนักว่าตนอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ ทำให้ไม่สามารถให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอย่างอิสระได้ ผู้ประเมินบทความควรแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบและปฏิเสธการประเมินบทความนั้น ๆ
- รักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความที่ส่งมาเพื่อรับการประเมิน แก่บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องในระหว่างกระบวนการประเมินคุณภาพบทความ
- ควรรับประเมินบทความเฉพาะในสาขาที่ตนเองมีความเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาถึงคุณค่าทางวิชาการของเนื้อหาในบทความที่จะมีต่อสาขาวิชานั้น ๆ เป็นสำคัญ
- เสนอแนะเพื่อการแก้ไขและปรับปรุงบทความให้กระชับและชัดเจน โดยเน้นความถูกต้องของเนื้อหาที่สอดคล้องกับนโยบายของวารสาร และการสร้างผลงานใหม่
- ประเมินด้วยความเที่ยงตรง หลีกเลี่ยงการใช้อคติ และความรู้สึกส่วนตัวในการวิจารณ์บทความ การประเมินต้องอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้องทางวิชาการ แนวคิดและทฤษฎีที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย
- ส่งคืนบทความในเวลาที่กำหนด เพื่อประโยชน์ของผู้นิพนธ์บทความ หากไม่สามารถประเมินบทความเสร็จในเวลาที่กำหนด หรือไม่สามารถประเมินบทความได้ ต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบทันที
- ศึกษานโยบายวารสารเพื่อให้การประเมินบทความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์การตีพิมพ์บทความ เนื้อหาที่นำเสนอ และมาตรฐานการประเมินบทความของวารสาร
- ให้ความสำคัญกับปัญหาการคัดลอกผลงานของผู้อื่น และการนำผลงานเก่ามาตีพิมพ์ซ้ำ รวมทั้งการอ้างอิงผลงานทางวิชาการ หากพบว่าผู้นิพนธ์มีการละเมิดผลงาน หรือนำผลงานเก่ามาขอตีพิมพ์ซ้ำจะต้องแจ้งบรรณาธิการวารสารให้ทราบทันที