CONTENIDOS SOCIOCULTURALES MEXICANOS: SU INTEGRACIÓN Y CONFIGURACIÓN EN EL PLAN CURRICULAR DE FILOLOGÍA HISPÁNICA เนื้อหาด้านสังคมและวัฒนธรรมเม็กซิกัน: การผนวกและการจัดการเนื้อหา ด้านสังคม และวัฒนธรรมเม็กซิกันในหลักสูตรวิชาภาษาสเปน

Main Article Content

Olan Preutisranyanont

บทคัดย่อ

Abstract

Our research “Mexican Sociocultural Contents: Their Incorporation and Configuration in the Spanish Major Program” lies in the attempt to enhance Spanish as a Foreign Language Teaching/Learning, with regard to didactic planning of those contents which constitute one of the fundamental elements of the Bachelor of Arts in Spanish Program.

The initiative of the Faculty of Humanities, Ramkhamhaeng University to implement curricular reform in 2007 lead to the decision to reform our study program, focusing on the contents and on offering our students opportunities of experience and learning. And as lecturer in charge of those subjects related to Latin American Civilization, the researcher considered that there was still a need to find out how students could acquire or broaden knowledge of heterogeneous Hispanic realities in the most effective way within the curricular condition.

Needless to say, sociocultural knowledge is one of the crucial factors enabling the students to competently get along or cope with situations in which they have to establish communication with Spanish-speaking people. And since it is well known that Spanish is spoken

in Spain and most of Latin America, our students need to be equipped with sociocultural knowledge of the whole Hispanic community. However, in practice Spain has predominantly been the point of reference for the teaching/learning of the Spanish language in Thailand regarding linguistic, literary, sociolinguistic or sociocultural fields. Balanced proportions of social and cultural references of the whole Hispanic World have hardly been achieved.

Thus this research was conducted in order to propose a new approach to sociocultural aspects of Latin America, taking Mexico as the first and fundamental step, due to its pre-eminence in linguistic, social, cultural, economic and educational areas within Latin America. The Mexican sociocultural contents were projected towards the creation of subjects within “Hispanic Civilization” area which would fit in educational framework meanwhile curricular constituents would remain unchanged.

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้เป็นความพยายามที่จะพัฒนาการเรียนการสอนภาษาสเปนในฐานะภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับเนื้อหาด้านสังคมและวัฒนธรรมเม็กซิกัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบพื้นฐานของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตภาษาสเปน

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงมีความคิดริเริ่มที่จะดำเนินการปรับปรุงหลักสูตร  ใน พ.ศ. 2550 ซึ่งนำไปสู่การตัดสินใจที่จะปรับปรุงหลักสูตรการเรียนของสาขาวิชาภาษาสเปน โดยมุ่งเน้นไปที่เนื้อหาและมอบโอกาสทางประสบการณ์และการเรียนรู้แก่นักศึกษา ในฐานะผู้รับผิดชอบกระบวนวิชาเกี่ยวกับอารยธรรมลาตินอเมริกา ผู้วิจัยเห็นว่ายังคงมีความจำเป็นที่จะต้องหาวิธีที่จะให้นักศึกษาได้รับความรู้หรือเพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับความเป็นจริงอันหลากหลาย            ในกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาสเปน คือ  ประเทศสเปนและประเทศส่วนใหญ่ในลาตินอเมริกา  ด้วยวิธีการ

ที่ได้ผลที่สุดภายใต้กรอบของหลักสูตร

เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าความรู้ด้านสังคมและวัฒนธรรมเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักซึ่งจะทำให้นักศึกษาปฏิบัติตนสอดคล้องกับสถานการณ์ขณะสื่อสารกับผู้คนที่พูดภาษาสเปน และเนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีว่าภาษาสเปนเป็นภาษาที่ใช้ทั้งในประเทศสเปนและส่วนใหญ่ของลาตินอเมริกา นักศึกษาของเราจำเป็นต้องมีความรู้ด้านสังคมและวัฒนธรรมเกี่ยวกับประเทศสเปนและกลุ่มประเทศลาตินอเมริกาทั้งหมด อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัตินั้น ประเทศสเปนเป็นจุดอ้างอิงหลักสำหรับการเรียนการสอนภาษาสเปนในประเทศไทย ในการสอนด้านภาษา วรรณคดี ภาษาศาสตร์สังคม ตลอดจนสังคมและวัฒนธรรม เท่าที่ผ่านมาเนื้อหาด้านสังคมและวัฒนธรรมของโลกลาตินอเมริกาจึงไม่ได้สัดส่วนสมดุลกับเนื้อหาด้านสังคมและวัฒนธรรมของประเทศสเปนเลย

งานวิจัยนี้จึงนำเสนอประเทศเม็กซิโกเป็นจุดเริ่มต้น เพื่อเสนอวิธีการจัดการความรู้ด้านสังคมและวัฒนธรรมของลาตินอเมริกา อันเนื่องด้วยความโดดเด่นของเม็กซิโกในทางภาษาศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจและการศึกษาในกลุ่มประเทศลาตินอเมริกา จึงจะมี            การนำเนื้อหาด้านสังคมและวัฒนธรรมเม็กซิกันไปใช้ในการสร้างกระบวนวิชาใหม่ภายในกลุ่มวิชาอารยธรรมสเปนและลาตินอเมริกัน โดยจะบรรจุในกรอบการศึกษา ทั้งนี้จะไม่ทำให้องค์ประกอบในหลักสูตรเดิมเปลี่ยนแปลง

 

 

Article Details

บท
บทความวิจัย