ดุลยภาพของการรณรงค์หาเสียงในตลาดเลือกตั้งไทย ศึกษากรณี การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 The Equilibrium of Election Campaign in Thai Election

Main Article Content

สุระชัย ชูผกา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                    การวิจัยเรื่อง “ดุลยภาพของการรณรงค์หาเสียงในตลาดเลือกตั้งไทย” ศึกษากรณี           การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550  มุ่งศึกษาสัดส่วน   การผสมผสานการใช้กลยุทธ์ทั้งสองด้านที่ก่อให้เกิดดุลยภาพหรือจุดสมดุลที่ทำให้ผู้สมัคร              รับเลือกตั้งประสบชัยชนะในการเลือกตั้ง ตลอดจนมุ่งศึกษาถึงประสิทธิภาพการผลิตคะแนนเสียงและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกลยุทธ์ดังกล่าวในการเลือกตั้ง

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผลการศึกษาพบว่า ดุลยภาพของกลยุทธ์การรณรงค์หาเสียงในตลาดเลือกตั้งของไทยยังคงมีลักษณะโน้มเอียงไปในการใช้กลยุทธ์หัวคะแนนในระบบอุปถัมภ์อย่างเข้มข้นมากกว่ากลยุทธ์การตลาดทางการเมือง   เพราะผู้สมัครรับเลือกตั้งสามารถใช้เครือข่ายอิทธิพล  และผลประโยชน์

ของตนเองได้อย่างไม่จำกัดในการดำเนินกลยุทธ์หัวคะแนน แต่ใช้กลยุทธ์การตลาดทางการเมืองได้อย่างจำกัดเนื่องจากเป็นกลยุทธ์ที่สามารถสังเกตเห็นและคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายได้ง่ายอันเป็นการเสี่ยงต่อการผิดกฎหมายเลือกตั้ง แต่ประสิทธิภาพการผลิตคะแนนเสียงของการใช้กลยุทธ์หัวคะแนนจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการใช้ควบคู่ไปกับกลยุทธ์การตลาดทางการเมือง

การวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ควรยกเลิกการกำหนดค่าใช้จ่ายในการหาเสียงเลือกตั้งเพื่อส่งเสริมให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งหันมาระดมใช้สื่อต่าง ๆ ในการหาเสียงให้มากขึ้นอันจะก่อให้เกิดการสื่อสารและเรียนรู้ทางการเมืองกับประชาชนให้มากขึ้นและใช้การตรวจสอบควบคุมแหล่งที่มาทางการเงินหรือการยื่นบัญชีทรัพย์สินแทนจะทำให้ผู้สมัครสามารถใช้เงินนอกระบบและเครือข่ายอิทธิพลได้น้อยลง ส่วนระบบเลือกตั้งควรเปลี่ยนไปใช้ระบบแบ่งเขตเรียงเบอร์                  เพื่อส่งเสริมให้มีการแข่งขันกันในการหาเสียงมากขึ้น

Abstract

The research entitled “The Equilibrium of Election Campaign in Thai Election Market” aimed at studying the usages proportion of the political marketing and political canvasser strategies among the successful candidates in the general election campaign on 23 December 2007. The research also intended to discover the productivity of the both strategies toward the votes, including the relevant influenced factors.

                The study used the both the quantitative and qualitative methods for the data analysis. The research found that the equilibrium in Election Campaign 2007 was located in the canvasser strategy arena rather than the political marketing strategy area. Due to the legal constraint, most of them spent fewer funds on the political marketing strategy, since it was easy to be observed by the opposition and the Election Commission. Meanwhile, the successful candidates  preferred  to pay the huge budget on their own canvasser network under the difficult

notification. Nevertheless, the candidates had to use the canvasser strategy together with the political marketing strategy as a strategic support for earning assured votes.

To promote political socialization through the election campaign, the study recommended that the electoral agency should liberate all legal Constrains so that all candidates will be able to spend more political marketing strategy. In addition, the one man one vote system should be deliberated to stay away from the influence of the underground canvasser strategy. Instead, the electoral system must be designed to cover wider area, which will force all candidates to mobilize various campaign strategies.

 

Article Details

บท
บทความวิจัย