ไวยากรณ์เพื่อการรับรู้ภาษาในการเรียนการสอนไวยากรณ์ ภาษาเยอรมันในฐานะภาษาต่างประเทศ Receptive Grammar in Learning and Teaching Grammar for German as a Foreign Language

Main Article Content

ธนกร แก้ววิภาส

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                การเรียนการสอนไวยากรณ์ถือว่าเป็นประเด็นหลักประเด็นหนึ่งในชั้นเรียนภาษาต่างประเทศ ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาได้เกิดการถกเถียงในเรื่องดังกล่าว โดยเฉพาะแนวคิดที่เกี่ยวกับทางเลือกที่ใช้ในการถ่ายทอดเนื้อหาและวิธีการใช้ไวยากรณ์ บทความนี้   จะอภิปรายแนวคิดเกี่ยวกับ  “ไวยากรณ์เพื่อการรับรู้ภาษา”  ซึ่งยังไม่อยู่ในความสนใจหลักของ    วงการวิจัย  แม้ว่าจะเริ่มได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นองค์ประกอบหนึ่งของแนวคิดการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสารที่มีมาตั้งแต่ในช่วงปี 1970 เป็นต้นมา ในที่นี้จะนำเสนอ “ไวยากรณ์เพื่อการรับรู้ภาษา” เพื่อใช้ในการเรียนการสอนภาษาเยอรมันในฐานะภาษาต่างประเทศโดยยกตัวอย่างจากแบบเรียนภาษาเยอรมันสมัยใหม่ นอกจากนี้ยังจะชี้ให้เห็นว่าแนวคิด  ดังกล่าวสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสอนการอ่านตัวบทเพื่อเพิ่มความตระหนักรู้ในตัวภาษาและไวยากรณ์ได้อีกด้วย

Abstract

                    Learning and teaching grammar is one of the central issues in the foreign language classroom. In the last decade there have been many discussions on this topic, especially concerning alternative approaches to convey grammar knowledge and usage.  This article discusses the “receptive grammar” approach, which has not been a major focus of research, although it was initially recognized as an element of the communication language teaching method in the 1970s.  “Receptive Grammar” for German as a Foreign Language will be demonstrated using the most current textbook examples.  In addition, it will be shown how this approach can be adapted for use in reading courses to raise language and grammar awareness. 

Article Details

บท
บทความวิจัย