การรณรงค์ให้พลเมืองรู้หนังสือของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในช่วง พ.ศ. 2483-2487 Citizen's literacy Campaign in the Regime of Field Marshal P. Pibulsonggram from 1940 – 1944 A.D.

Main Article Content

ปรัศนีย์ เกศะบุตร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การรณรงค์เพื่อให้พลเมืองรู้หนังสือเกิดขึ้นครั้งแรกในช่วง พ.ศ. 2483-2487  ซึ่งอยู่ในช่วงที่รัฐบาลจอมพล  ป. พิบูลสงครามบริหารประเทศ รัฐบาลได้ดำเนินการจัดการศึกษาผู้ใหญ่ขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยเริ่มต้นปฏิบัติจากการพัฒนาบุคลากรในระบบราชการก่อน ต่อจากนั้นจึงขยายไปสู่พลเมืองทั่วประเทศ

จุดมุ่งหมายของการรณรงค์คือ รัฐบาลต้องการปลูกฝังความคิดและเผยแพร่นโยบายสร้างชาติของรัฐให้แก่พลเมือง โดยใช้ระบบการศึกษาเป็นเครื่องมือและเพื่อต้องการแสดงให้เห็นถึงการเป็นประเทศที่เจริญทัดเทียมกับอารยประเทศ  ลักษณะของการดำเนินงานมีตั้งแต่ การโฆษณาชักชวน การบีบบังคับทางอ้อมโดยระบุถึงความจำเป็นของการรู้หนังสือ การใช้กลไกอำนาจรัฐ ประกาศรัฐนิยม  และการออกพระราชกำหนดส่งเสริมการรู้หนังสือ

 การดำเนินการรณรงค์ให้พลเมืองรู้หนังสือในช่วงสมัยนี้ขึ้นอยู่กับความมั่นคงของอำนาจผู้นำ  ดังจะเห็นได้ว่าเมื่อจอมพล ป.พิบูลสงคราม หมดอำนาจในการบริหารประเทศ การรณรงค์ได้ยุติลงทันที เนื่องจากถูกพิจารณาว่าเป็นการดำเนินการที่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ ของประเทศซึ่งกำลังอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และในสถานการณ์เช่นนี้ชีวิตความเป็นอยู่และความปลอดภัยของพลเมืองมีความสำคัญมากกว่าการรู้หนังสือ

Abstract

The campaign for the citizen’s literacy was conducted for the first time between  1940-1944 A.D. in the regime of Field Marshal P. Pibulsonggram. The government conducted it in the form of formal adult education, starting with the scope of personnel development in the governmental system, then expanding to citizen throughout the country.

The purpose of the government’s campaign was to indoctrinate the thoughts, to publicize the nation-building policy to the citizen through education, and to show that the country was as civilized as those civilized ones. The operations included persuasive advertising, indirect force to the needs, use of the state-power mechanism, declared state convention and the Literacy Promotion Act.

During that period, the operations for citizen’s literacy campaign depended upon  the security of the leader’s power. It could be seen that when Field Marshal P. Pibulsonggram was out of power, the campaign was immediately stopped since it was considered that this campaign was conducted in the inappropriate time due to the country’s situations in World War II, and Citizen’s care should care for their lives, well-being and were safety more important than literacy.

Article Details

บท
บทความวิชาการ