การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตามอัตลักษณ์ท้องถิ่น ตำบลอ่าวน้อย อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

ปานชีวา มงคลอภิโชติ ชยินทร์ธร ธาดาดุสิตา ฉัตรดนัย ใจเสงี่ยม พิราวรรณ งอกชัยภูมิ และวริศ หมัดป้องตัว

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตามอัตลักษณ์ท้องถิ่น ตำบลอ่าวน้อย อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) อัตลักษณ์ชุมชนตำบลอ่าวน้อย 2) แนวทางในการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนตามอัตลักษณ์ของชุมชนตำบลอ่าวน้อย


[1]


          โดยวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยทำการลงพื้นที่โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
ที่หลากหลาย ด้วยวิธีการสังเกต การสัมภาษณ์ และการประชุมสนทนากลุ่ม จากนั้นรวบรวมข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) เพื่อประกอบการสรุปและอภิปรายผล จากการศึกษาพบว่า
อัตลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวที่คนในชุมชนให้ความเห็นว่ามีความโดดเด่นสามารถนำมาต่อยอดในการพัฒนา
การท่องเที่ยวโดยชุมชนมีดังนี้ 1) วิถีชีวิตการเกษตร 2) อ่างเก็บน้ำคลองบึง อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
บ้านย่านซื่อ 3) สหกรณ์การเกษตรโรงสีข้าวพระราชทานอ่าวน้อย 4) วัดอ่าวน้อย โดยแนวทางการส่งเสริม
การท่องเที่ยวโดยใช้อัตลักษณ์ชุมชนตำบลอ่าวน้อย ควรมีแนวทาง 1) ค้นหาและระบุอัตลักษณ์ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ต่อนักท่องเที่ยวให้จดจำ 2) สร้างสรรค์กิจรรรมที่สะท้อนอัตลักษณ์ชุมชน 3) จัดทำเส้นทางท่องเที่ยวชุมชนตามอัตลักษณ์ท้องถิ่น 4) พัฒนาตราสินค้าชุมชน 5) พัฒนาด้านการตลาด 6) พัฒนาด้านการสร้าง
ความมีส่วนร่วมตามแนวคิดการท่องเที่ยวโดยชุมชน


 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลชนก จันทร์เกตุ. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา : ชุมชน

เกาะยอ จังหวัดสงขลา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ครรชิต มาระโภชน์ และทักษินาฏ สมบูรณ์. (2566). การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิง เกษตรเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวใน พื้นที่อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 6(4), 210-223.

เจริญเนตร แสงดวงแข. (2564). การสื่อสารอัตลักษณ์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของ ชุมชน ตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง. วารสารวิชาการ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 29(2), 1-23.

ณัฏฐพัชร มณีโรจน์. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน. วารสารวิชาการ

การท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 13(2), 25-46.

ธนภัส สนธิรักษ์, สร้อยสุดา ณ ระนอง, ยุพกา ฟูกุชิม่า และ กุลรัมภา เศรษฐเสถียร. (2566). การสร้างอัตลักษณ์ท้องถิ่นในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศญี่ปุ่น. วารสาร ศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 23(1), 570-585.

นุชนาฎ เชียงชัย. (2558). การใช้อัตลักษณ์เพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดลําปาง (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มติชนออนไลน์. (16 กรกฎาคม 2563). อพท.ชู 19 ชุมชนต้นแบบมาตรฐาน CBT Thailand 2020 การันตีคุณภาพบริการท่องเที่ยวชุมชน. https://www.matichon.co.th/economy/news_2269191

มาลินี ศรีไมตรี. (2559). การพัฒนารูปแบบและศักยภาพของกลุ่มวิสาหกิจ ชุมชนด้านการ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์ของท้องถิ่นสู่ นักท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานี. Journal of Thai Hospitality and Tourism, 11(2), 53-65.

ฤดี เสริมชยุต. (2563). กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด สำหรับการท่องเที่ยวชุมชน. วารสาร สังคมวิจัยและพัฒนา, 2(4), 51-61.

วิไลวรรณ ทวิชศรี. (2557). อัตลักษณ์ชุมชน : แนวคิดและการจัดการเพื่อการท่องเที่ยว อย่างยั่งยืน โดยหลักพุทธสันติวิธีของเทศบาลตำบลเชียงคาน จังหวัดเลย. กรุงเทพฯ:

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ : สํานักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2550). อัตลักษณ์ (16 มิถุนายน 2550)

http://legacy.orst.go.th/?knowledges=อัตลักษณ์-16-มิถุนายน-2550

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ และสำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2562). นโยบายและยุทธศาสตร์ การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563 – 2570. https://www.mhesi.go.th/index.php/stg-policy/930-2563-2570.html

สำนักท่องเที่ยวโดยชุมชน. (2557). คู่มือเกณฑ์มาตรฐานการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว โดยชุมชน. กรุงเทพฯ: องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่าง ยั่งยืน (องค์การมหาชน)

อารียา บุญทวี จินดา เนื่องจำนงค์ และวชิรพงศ์ มณีนันทิวัฒน์. (2561). แนวทางการพัฒนา ศักยภาพทุนทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของ อำเภอคลองเขื่อน จังหวัด ฉะเชิงเทรา. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 20(1), 67-85.

อินทิรา พงษ์นาค และศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์. (2558). อัตลักษณ์ชุมชนเมืองโบราณอู่ทอง จังหวัด สุพรรณบุรี. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 8(3), 511-523.

อุทิศ สังขรัตน์ และธเนศ ทวีบุรุษ. (2558). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การจัดการท่องเที่ยวตาม

อัตลักษณ์ และวิถีชุมชนในเขตพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศพื้นที่ภาคใต้. สงขลา: คณะศิลปศาสตร์และคณะการจัดการสิ่งแวดล้อม, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Dodds, R., Ali, A., & Galaski, K. (2018). Mobilizing knowledge: determining key elements for success and pitfalls in developing community-based tourism. Current Issues in Tourism, 21(13), 1547-1568.

Indahyani, T., Sofiana, Y. & Yuniarso, A. (2018). Reinforcement Identity of Tourism Village at Dusun Wangun-Bandung, ICCD (International Conferenceon Community Development, 1(1), 290-294.

Richards, G. (2010). Creative Tourism and Local Development. In Wurzburger, R. (Ed.). Creative Tourism AGlobal Conversation how to provide unique creative experiences for travelers worldwide: at presentat the 2008 Santa Fe & UNESCO International Conference on Creative Tourism in Santa Fe.

(pp. 78–90). New Mexico. USA