รูปแบบและวิธีการจับช้างของไทย : กรณีศึกษาจากตำราคชศาสตร์ และเอกสารภาษาไทยที่เกี่ยวข้อง

Main Article Content

วริศรา โกรทินธาคม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง รูปแบบและวิธีการจับช้างของไทย : กรณีศึกษาจากตำราคชศาสตร์
และเอกสารภาษาไทยที่เกี่ยวข้อง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการจับช้างที่ปรากฏในเอกสารงานวิจัย หนังสือ และเอกสารต่าง ๆ โดยรวบรวมวิธีการจับช้างของไทย จัดกลุ่มและวิเคราะห์รูปแบบ
และวิเคราะห์เนื้อหารูปแบบวิธีการจับช้างของไทย


ผลการศึกษาพบว่า การจัดกลุ่มและวิเคราะห์รูปแบบวิธีการจับช้างของไทย แบ่งเป็น
3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 วิธีการจับช้างที่มีมาแต่โบราณ พบวิธีการจับช้างทั้งหมด 10 วิธี ได้แก่
1) การแซกโพนช้าง 2) การคล้องช้างหรือจับช้างในเพนียด 3) การวังช้าง 4) การใช้หลุมพราง
5) การจับในน้ำ 6) การจับโดยใช้ช้างพังเป็นช้างต่อ 7) การจับลูกช้างบ้าน 8) การคล้องช้างกลางแปลง 9) การทิ้งเชือกบาศหรือบาศซัด และ10) การจับในซอง ส่วนที่ 2 วิธีการจับช้าง
ที่นิยมปฏิบัติกันมา พบ 3 วิธี คือ 1) การวังช้าง 2) การโพนช้างกลางแปลงหรือการแซกโพน
และ 3) การจับช้างในเพนียด และส่วนที่ 3 วิธีที่ปรากฏในสมัยรัชกาลที่ 6 ที่อยู่ในกฎหมายอนุญาตตามพระราชบัญญัติสำหรับรักษาช้างป่า พ.ศ. 2464 พบ 2 วิธี เท่านั้น คือ 1) วิธีแซกโพนช้าง
2) วิธีการจับช้างในเพนียด ส่วนการวิเคราะห์เนื้อหารูปแบบวิธีการจับช้างของไทย สามารถแบ่งได้
3 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1) ไล่ตะลุยจับในที่แจ้ง เป็นการจับในที่โล่งแจ้งซึ่งไม่อยู่ในพื้นที่จำกัด ได้แก่ วิธีการโพนช้าง และการจับในน้ำ รูปแบบที่ 2) ต้อนเอาเข้าคอกจับ หรือในบริเวณที่กำหนด คือการสร้าง
อาณาบริเวณเหมาะสมในการจับ รวมถึงสร้างในพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์มีช้างป่าอาศัยหรือชอบมาหาอาหารในบริเวณนั้น ได้แก่ วิธีการวังช้าง การคล้องในเพนียด การคล้องช้างกลางแปลง การจับช้างในซอง และการใช้หลุมพราง และรูปแบบที่ 3) อื่น ๆ คือ ได้แก่ การทิ้งเชือกบาศ การจับโดยใช้ช้างพังเป็นช้างต่อ และการจับช้างลูกบ้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมศิลปากร. (2527). ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 2 (จารึกวัดศรีชุม) ฉบับผลการสัมมนา พุทธศักราช 2523. กรุงเทพฯ: หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร.

กรมศิลปากร. (2550). ปกิณกคดี ประวัติศาสตร์ไทย. กรมศิลปากร: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์.

กรมศิลปากร. (2555). ปกิณกคดี ประวัติศาสตร์ไทย เล่ม 3. กรมศิลปากร: สำนักวรรณกรรมและ ประวัติศาสตร์.

กรมศิลปากร. (2559). ประวัติศาสตร์แห่งพระราชอาณาจักรสยามและประวัติศาสตร์ไทยสมัย

กรุงศรีอยุธยา ฉบับตุรแปง. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

กองโฆษณาการ กรมรถไฟ. (2537). เรื่องของช้าง (พิมพ์ครั้งที่ 2). ม.ป.ท.: สำนักพิมพ์ 222.

ก่องแก้ว วีระประจักษ์. (2564). ตำราช้างในเอกสารโบราณ. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก. (2562). คำเกี่ยวกับพระราช พิธีบรมราชาภิเษก “พราหมณ์พฤฒิบาศ”. เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2565.

เข้าถึงได้จาก http://phralan.in.th/coronation//vocabdetail.php?id=368

จตุพร ศิริสัมพันธ์ และคณะ. (2548). ประชุมจารึก ภาคที่ 8 จารึกสุโขทัย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

ณัฏฐภัทร จันทวิช. (2542). ช้างราชพาหนะ. กรุงเทพฯ: โครงการสืบสานมรดกวัฒนธรรมไทย.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. (2556). นิทานโบราณคดี. กรุงเทพฯ: ไทยควอลิตี้บุ๊คส์.

ตำราคล้องช้างว่าด้วยการเตรียมการต่างๆ ในการคล้องช้าง เป็นต้น. (ม.ป.ป.). กระดาษฝรั่ง. อักษรไทย. ภาษาไทย. เส้นพิมพ์ดีด. เลขที่ 98. สำนักหอสมุดแห่งชาติ.

ธวัชชัย ดุลยสุจริต. (2563). วิธีการจับช้างในคชศาสตร์ของปาลกาปยะและมาตังคลีลา ของนีลกัณฐะ. ใน สมบัติ มั่งมีสุขศิริ (บ.ก.), ศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ที่เกี่ยวข้องกับรามายณะ. (น. 165 - 180). ม.ป.ท.

นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา และดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. (2504). สาส์นสมเด็จ เล่ม 13. กรุงเทพฯ: ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์.

นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา และดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. (2505). สาส์นสมเด็จ เล่ม 23. กรุงเทพฯ: ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์.

ประชุมจารึกสยาม ภาคที่ 1 จารึกกรุงสุโขทัย. (2477). พระนคร: โรงพิมพ์พระจันทร์.

(พิมพ์เป็นที่ระลึกในการพระราชทานเพลิงศพ เจ้าพระยามุขมนตรี (อวบ เปาโรหิตย์)

ณ สุสานหลวงวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2477).

ปางช้างอยุธยาแลเพนียด. (2541). แผนงานโครงการพิธีคล้องช้าง (ตำราหลวง) ณ เพนียด

คล้องช้าง ท้องทุ่งทะเลหญ้า จ.พระนครศรีอยุธยา. ม.ป.ท.

พิชาน ดโนทัย. (2528). กฎหมายสมัยกรุงศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: แพร่พิทยา.

รุจิพันธ์ ดอกงา. (2512). การคล้องช้างของชนเผ่าส่วย. (สารนิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพมหานคร.

วริศรา โกรทินธาคม. (2564). ตำราคชกรรม: การศึกษาต้นฉบับและการสร้างฉบับตัวแทนจาก เอกสารโบราณ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต) มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพมหานคร.

วริศรา โกรทินธาคม และอุเทน วงศ์สถิตย์. (2564). กลขี่ช้าง 12 แบบในตำราคชกรรม ฉบับ หอสมุดแห่งชาติ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(3), 1157 - 1168.

ศิริ สละคต. (2525). การคล้องช้างที่เพนียดจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (สารนิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต) มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพมหานคร.

เอกสารรายงานทางวัฒนธรรมพื้นบ้านชาวไทยส่วยเลี้ยงช้างสุรินทร์ ครั้งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา

สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงงานทางวิชาการหมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์. (2533). ม.ป.ท.

ฮ.ไพรยวัล. (2481). ตำนานการจับช้าง. พระนคร: โรงพิมพ์หว่างเซียง.

Schliesinger, J. (2012). Elephants in Thailand Volume 2 Through the Ages. Bangkok: White Lotus.