วาทกรรมความเป็นไทยที่ปรากฏในวรรณกรรมชุด เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก

Main Article Content

อู๋ ไห่เยี่ยน ธนพร หมูคำ และภูริวรรณ วรานุสาสน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์วาทกรรมความเป็นไทยที่ปรากฏในวรรณกรรม
ชุด เมื่อคุณตา คุณยายยังเด็ก ผลงานของ ทิพย์วาณี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา โดยใช้ทฤษฎีวาทกรรม (Discourse) ของ มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault) และแนวคิดวรรณกรรมวิเคราะห์ (Concept of Literary Analysis) สรุปจากพิเชฐ แสงทอง เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ชุดวาทกรรมความเป็นไทย
ผลการคึกษาพบว่า วรรณกรรมชุด เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก ผลิตชุดวาทกรรมความเป็นไทย 3
วาทกรรมหลัก คือ 1) วาทกรรมชายเป็นใหญ่ ผลิตซ้ำค่านิยมสังคมไทยที่ให้ความสำคัญกับเด็กผู้ชาย ส่งเสริมให้เด็กผู้ชายได้รับการศึกษาสูง ตอกย้ำแนวคิด “การเป็นเจ้าคนนายคน” เพื่อส่งเสริมให้เข้ารับราชการ 2) วาทกรรมแม่ศรีเรือน สอนให้เด็กผู้หญิงมีกิริยามารยาทตามแบบฉบับกุลสตรีไทย รู้จักทำงานบ้าน
ดูแลสมาชิกในครอบครัว ประหยัดอดออม เชื่อฟังผู้ใหญ่ และตอกย้ำเด็กผู้หญิงไม่จำเป็นต้องได้รับการศึกษาสูงเพราะสุดท้ายต้องเป็นผู้ดูแลสมาชิกในครอบครัว และ 3) วาทกรรมเด็กดี มีกรอบคิดทางสังคมไทย สั่งสอนให้เด็กต้องเชื่อฟังผู้ใหญ่ มีกิริยามารยาท พฤติกรรมเรียบร้อย ซื่อสัตย์ ประหยัด
และมีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่น


         ชุดวาทกรรมความเป็นไทยที่สืบทอดผ่านวรรณกรรมเยาวชน เป็นวาทกรรมที่ผลิตซ้ำตามกรอบสังคมไทยช่วงรัชกาลที่ 6 วาทกรรมชุดนี้ยังคงสืบทอดวาทกรรมชายเป็นใหญ่มาถึงปัจจุบัน ส่วนวาทกรรม
แม่ศรีเรือนเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากสตรีมีโอกาสได้รับการศึกษาสูงขึ้น แต่ยังคงยึดแนวปฏิบัติตามค่านิยมของไทยบางประการ และวาทกรรมเด็กดียังคงสืบทอดค่านิยมของไทยผ่านสถาบันการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน โดยในปี พ.ศ.2498 ผลิตซ้ำในบทเพลงบัญญัติ 10 ประการของเด็กดี และในปี พ.ศ.2557 รัฐบาลผลิตซ้ำวาทกรรมเด็กดี เพื่อเป็นกรอบค่านิยม 12 ประการของเด็กดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2535). ม่านแห่งอคติ:ความสัมพันธ์ระหว่างสตรีกับสถาบันสังคม. กรุงเทพฯ:

เจนเดอร์เทรส.

จิตตมาศ จิระสถิตย์พร. (2560). พัฒนาการทางการศึกษาของผู้หญิงไทย พ.ศ. 2500 – 2540

(ปริญญามหาบัณฑิต)มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2549). วาทกรรมพัฒนา : อำนาจ ความรู้ เอกลักษณ์ และความเป็นอื่น

(พิมพ์ครั้งที่ 4 ). กรุงเทพฯ: วิภาษา.

ทิพย์วาณี สนิทวงศ์ฯ ณ อยุธยา. (2552). เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก เล่ม 2 (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ:

ศิลปาบรรณาคาร.

¬¬¬ . (2552). เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก เล่ม 3 (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ:

ศิลปาบรรณาคาร.

. (2552).เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก เล่ม 4. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ:

ศิลปาบรรณาคาร.

. (2560). เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 30). กรุงเทพฯ:

ศิลปาบรรณาคาร.

ธัญญา สังขพันธานนท์. (2560). แว่นวรรณคดี-ประวัติและทฤษฎี. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ปทุมธานี: สำนักพิมพ์นาคร.

นิตยา วรรณกิตร์. (2559). วรรณกรรมสำหรับเด็ก. นนทบุรี: อินทนิล.

ปาจารีย์ ช่วยบุญ. (2561). ภาพสะท้อน “แม่ศรีเรือน” ในนวนิยายชุด สุภาพบุรุษจุฑาเทพวารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 14(1), 127.

พิเชฐ แสงทอง. (2565). วรรณกรรมวิจารณ์ แนวคิดและปฏิบัติการ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ปัตตานี: ศูนย์ภาษาไทย สงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

มาริษา หมัดหนิ และตรีศิลป์ บุญขจร. (2564). “วาทกรรม เด็กดี” ในแบบเรียนไทยและมาเลเซีย. วารสาร วิจัยรำไพพรรณี, (15)3, 34-45. สืบค้นจาก

https://so05.tci- thaijo.org/index.php/RRBR/article/view/256368/172843.

รังรอง เจียมวิจักษณ์. (2561). แบบเรียนภาษาไทย: พัฒนาการจากอดีตสู่ปัจจุบัน. ปทุมธานี: โรงพิมพ์แห่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรเทพ ว่องสรรพการ. (2561). วาทกรรมความเป็นไทยกับการควบคุมทางสังคม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยรังสิต, ปทุมธานี.

วิภาดา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2559). ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างความเป็นผู้ใหญ่-ความเป็นเด็กในหนังสือชุด เมื่อคุณ ตาคุณยายยังเด็ก. วารสารอักษรศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร, 14 (3), 27-34. สืบค้นจากhttps://so04.tci-thaijo.org/index.php/jasu/article/download/184533/129938/534999.

สาริศา เขี้ยวงา. (2559). ภาพสะท้อนสังคมและวัฒนธรรมในสารดีเรื่อง เมื่อคุณตา คุณยายยังเด็ก ของทิพย์วาณี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

สุรเดช โชติอุดมพันธ์. (2548). วาทกรรม ภาพแทน อัตลักษณ์ วรรณคดีศึกษาในบริบทสังคมและวัฒนธรรม 2.

สืบค้นจาก http://www.phd-lit.arts.chula.ac.th/Download/discourse.pdf.

สุรเดช โชติอุดมพันธ์. (2559). ทฤษฎีวรรณคดีตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ 20. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร. (2562). คำนำสำนักพิมพ์ครั้งที่ 31 ใน เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก เล่มที่ 1 (พิมพ์ครั้งที่ 31). กรุงเทพฯ : ศิลปาบรรณาคาร.

เอกลักษณ์ อนันตสมบูรณ์. (2566). ความเป็นไทยที่ถูกเลือกสรรในภาพยนตร์พริกแกง. วารสารวิชาการนวัตกรสื่อสาร สังคม, 11(1), 124-142. สืบค้นจาก

https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/2648