รอยพระพุทธบาทบนจิตรกรรมฝาผนังภายในกรุพระปรางค์ วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบภาพจิตรกรรมภายในกรุชั้นที่ 2 ของพระปรางค์ประธาน วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาซึ่งมีการแบ่งภาพจิตรกรรมออกเป็นช่องสี่เหลี่ยม โดยเนื้อหาที่ปรากฏอยู่ในจิตรกรรมฝาผนังภายในกรุนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เช่น พุทธประวัติ ชาดก พระอดีตพุทธเจ้า พระอสีติมหาสาวก และช่างได้ทำการแทรกภาพที่ดูคล้ายกับภาพรอยพระพุทธบาทจำนวน 2 ภาพร่วมอยู่ในภาพเล่าเรื่องเนื่องในพระพุทธศาสนาด้วย
ผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาเพื่อตรวจสอบว่าภาพดังกล่าวเป็นภาพรอยพระพุทธบาทจริงหรือไม่
และหากเป็นจริง รอยพระพุทธบาทดังกล่าวเป็นรอยพระพุทธบาทแห่งใดโดยทำการศึกษาหลักฐานเอกสารทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ที่บันทึกเรื่องราวของรอยพระพุทธบาทร่วมกับหลักฐานงานศิลปกรรม เช่น รอยพระพุทธบาทจำลอง หรือ ภาพเล่าเรื่องรอยพระพุทธบาท
จากการศึกษาพบว่าภายในกรุชั้นที่ 2 ของพระปรางค์ประธาน วัดราชบูรณะมีภาพรอยพระพุทธบาท
อยู่ทั้งสิ้น 1 ภาพ ได้แก่ รอยพระพุทธบาทบนเขาสุมนกูฏ ซึ่งเป็นรอยพระพุทธบาทที่พุทธศาสนิกชนเชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของลังกาและเป็นหนึ่งในโสฬสมหาสถาน โดยแสดงภาพรอยพระพุทธบาท
บนภูเขาลูกโดดซึ่งเป็นรูปแบบที่จะถูกนำไปพัฒนาต่อในเวลาต่อมา ในขณะที่ภาพที่เชื่อกันว่าอาจจะเป็นรอยพระพุทธบาท 4 รอยนั้นน่าจะเป็นภาพของขุมสมบัติทั้ง 4 มากกว่าเนื่องจากรูปแบบ
ของรอยพระพุทธบาท 4 รอยในช่วงเวลานั้นนิยมการออกรอยพระพุทธบาท 4 รอยที่เรียงซ้อนกันมากกว่าจะแยกออกจากกันและเรียงในแนวระนาบ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ประกาศลิขสิทธิ์จะปรากฏในเกี่ยวกับวารสาร ควรอธิบายสำหรับผู้อ่านและผู้เขียนว่าเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นผู้เขียนวารสารหรือบุคคลที่สาม ควรรวมถึงข้อตกลงการอนุญาตเพิ่มเติม (เช่นใบอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์) ที่ให้สิทธิ์แก่ผู้อ่าน (ดูตัวอย่าง) และควรให้วิธีการรักษาความปลอดภัยหากจำเป็นสำหรับการใช้เนื้อหาของวารสาร
References
กรมศิลปากร. (2529). จารึกสมัยสุโขทัย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
กรมศิลปากร. (2534). วรรณกรรมรัตนโกสินทร์ เล่ม 1 หมวดศาสนจักร คัมภีร์มหาวงศ์. กรุงเทพฯ: กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์, กรมศิลปากร.
คณะกรรมการฝ่ายจัดทำหนังสือที่ระลึก ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในโอกาสที่วันพระบรมราชสมภพ ครบ 200 ปี. (2548). ประชุม จารึก ภาคที่ 8 จารึกสุโขทัย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
จีราวรรณ แสงเพ็ชร. (2552). ระบบการจัดการและการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุใน ประเทศ ไทย. ดุษฎีนิพนธ์ สาขาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
จีราวรรณ แสงเพ็ชร. (2566). กรุและการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ. นนทบุรี: มิวเซียมเพรส.
พระพุทธพุกาม, พระพุทธญาณ.
ตำนานมูลศาสนา. (2519). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
พระรัตนปัญญาเถระ. (2550). ชินกาลมาลีปกรณ์. กรุงเทพฯ: รำไทย เพรส.
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา
ฉบับหลวงประเสริฐ, คำให้การชาวกรุงเก่า, คำให้การขุนหลวงหาวัด. 2553. นนทบุรี:
ศรีปัญญา.
ศิลป์ พีระศรี, แต่ง, เขียน ยิ้มศิริ, แปล. (2502). การค้นพบจิตรกรรมไทยครั้งใหม่. วารสาร ศิลปากร, 2(5), 33 – 41.
ศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ 2 (จารึกวัดศรีชุม) : ฉบับผลการสัมมนา พุทธศักราช 2523. (2527). กรุงเทพฯ: กองหอสมุดแห่งชาติ, กรมศิลปากร.
สว่าง สิมะแสงยาภรณ์. (2522). แบบศิลปที่ปรากฏในงานจิตรกรรมฝาผนังภายในกรุ ณ พระปรางค์ประธาน
วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ศิลปะนิพนธ์ สาขาประยุกตศิลปศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะมัณฑณศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
สันติ เล็กสุขุม และ กมล ฉายาวัฒนะ. (2523). จิตรกรรมฝาผนังสมัยอยุธยา. กรุงเทพฯ: สถาบัน ไทยคดีศึกษา, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เสมอชัย พูลสุวรรณ. (2539). สัญลักษณ์ในงานจิตรกรรมไทยระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19 ถึง 24.
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เสมอชัย พูลสุวรรณ. (2559). จิตรกรรมพุทธศาสนาสมัยพุกาม: รูปแบบและความหมายของ ศิลปะแห่งศรัทธา เล่ม 1 ตัวบท. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เสมอชัย พูลสุวรรณ. (2559). จิตรกรรมพุทธศาสนาสมัยพุกาม: รูปแบบและความหมายของ ศิลปะแห่งศรัทธา เล่ม 2 ภาพประกอบและคำอธิบาย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.