คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสกับความสัมพันธ์ระหว่างฝรั่งเศส-สยาม ค.ศ. 1667-1685 Missions Étrangères de Paris and the Relation between France and Siam, c. 1667-1685
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
ในการศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา ประเด็นเรื่องความสัมพันธ์สยาม-ฝรั่งเศสในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นประเด็นหนึ่งที่มีการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง ในบทความฉบับนี้ ผู้ศึกษาจะศึกษาสาเหตุที่ทำให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงให้ความสนพระทัยราชอาณาจักรสยาม ผ่านบทบาทของบาทหลวงคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส (Missions Étrangères de Paris) ผลการศึกษาพบว่า ความขัดแย้งระหว่างบาทหลวงคณะนี้กับบาทหลวงในระบบสิทธิอุปถัมภ์ (Padroado) ของกษัตริย์โปรตุเกส เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้บาทหลวงคณะมิสซังฯ พยายามแสวงหาความช่วยเหลือจากราชสำนักฝรั่งเศสของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และใน ค.ศ. 1684 บาทหลวงเบนิญ วาเชต์ (Bénigne Vachet) ได้ร่างหนังสือชี้แจงว่า เพราะเหตุใดพระองค์ต้องติดต่อกับสยามประเทศ แม้เนื้อหาในจดหมายหลายตอนจะไม่เป็นความจริง แต่เอกสารดังกล่าวและ การดำเนินงานของบาทหลวงวาเชต์ทำให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แต่งตั้งเชอวาลิเยร์ เดอ โชมอง (Chevalier de Chaumont) มายังกรุงสยามใน ค.ศ. 1685
Abstract
The relation between Siam and France in the reign of King Narai the Great is one of the most researched topics of Ayudhya studies. In this article, the author attempt to study why Louis XIV was interested in Siam by considering the role of Missions Étrangères de Paris (MEP). It is found that because of the conflict between MEP and Padroado priests, MEP priests seeked for the support of Louis XIV court. In 1684 Bénigne Vachet wrote a letter which explained why French king should have a contact with Siam. Although the letter was full of lie, this document and the role of Vachet pushed on Louis XIV to send his ambassador to Siam in 1685.
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ประกาศลิขสิทธิ์จะปรากฏในเกี่ยวกับวารสาร ควรอธิบายสำหรับผู้อ่านและผู้เขียนว่าเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นผู้เขียนวารสารหรือบุคคลที่สาม ควรรวมถึงข้อตกลงการอนุญาตเพิ่มเติม (เช่นใบอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์) ที่ให้สิทธิ์แก่ผู้อ่าน (ดูตัวอย่าง) และควรให้วิธีการรักษาความปลอดภัยหากจำเป็นสำหรับการใช้เนื้อหาของวารสาร