ความทุกข์ในรวมเรื่องสั้นชุด C’est égal ของ อโกตา ครีสตอฟ The Depiction of Suffering in the Short Story Collection “C’est égal” by Agota Kristof

Main Article Content

ดร. สุธาวดี หนุนภักดี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบของความทุกข์ในเรื่องสั้นทั้ง 25 เรื่องในหนังสือรวมเรื่องสั้นชุด C’est égal ของ อโกตา ครีสตอฟ โดยตั้งสมมุติฐานไว้ว่าความทุกข์เกิดจากความพลัดพราก ผู้วิจัยศึกษารูปแบบของความทุกข์และวิธีเผชิญกับความทุกข์ของตัวละครที่ปรากฏในเรื่องสั้นแต่ละเรื่อง โดยใช้แนวคิดจิตวิเคราะห์เป็นเครื่องมือช่วยในการอธิบายพฤติกรรม ความทุกข์ของตัวละคร จากการศึกษาพบว่า ผู้ประพันธ์มิได้นำเสนอความทุกข์อันเนื่องมาจากความพลัดพรากรูปแบบเดียวเท่านั้น แต่นำเสนอความทุกข์หลากหลายรูปแบบ โดยผ่านวาทกรรมและสัญลักษณ์ เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น  4 กลุ่ม คือ  (1) ความทุกข์ที่เกิดจากความพลัดพรากจากครอบครัว  ถิ่นฐานที่อยู่ ซึ่งมีสาเหตุจากการดิ้นรนแสวงหาความก้าวหน้า การเบียดเบียนกันระหว่างเพื่อนมนุษย์ ตลอดไปจนถึงความตาย (2) ความทุกข์ที่เกิดจากความเหลื่อมล้ำทางสังคม อันเนื่องมาจากความไม่เท่าเทียมกันของชายหญิงหรือการเอารัดเอาเปรียบของนายจ้าง (3) ความทุกข์ที่เกิดจากความวิตกกังวลที่สูญเสียอัตลักษณ์ ความเป็นตัวตนและเสรีภาพ  และ (4) ความทุกข์ที่เกิดจากปัจจัยอื่น ๆ       ที่มนุษย์ประสบ  การดำเนินชีวิตที่ไม่มีแก่นสาร สภาพแวดล้อมเป็นพิษ หรือจากปัญหาสุขภาพจิตในการเผชิญกับความทุกข์  ตัวละครส่วนใหญ่พยายามแสวงหากลวิธีเพื่อนำมาใช้ในการแก้ไขหรือผ่อนคลายจากความทุกข์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุของความทุกข์ว่ามาจากเรื่องใด

Abstract

This research studies the patterns of suffering described in twenty-five short stories from the collection “C’est égal” by Agota Kristof.  Suffering can be found at the core of each story and it manifests itself in different forms and patterns. This study asks which particular pattern applies and how the characters cope with suffering. Psychological analysis is used as a tool to assist in  describing the behaviors of the characters. The researcher’s initial hypothesis was that the characters’ predominant cause of suffering was separation. Following on an analysis of discourse and symbols, more causes were found. The core motifs of suffering in these twenty-five short stories can be classified into four patterns including. (1) Suffering caused by separation from family or homeland because of better opportunity, human oppression or death. (2) Suffering from unequal social status due to gender discrimination or being taken advantage of as an employee. (3) Suffering from worry about losing one’s identity or freedom of action. And (4) Suffering from other problems caused by boring life, the environment, pollution or psychological disorders. Most characters try to find ways to solve or relieve their suffering in extreme situations, sometimes even using violence, however most commonly they avoid violence, accepting or resigning themselves to their situations.

Article Details

บท
บทความวิจัย