Markedness and the Acquisition of English Conditionals by Ramkhamhaeng University Students ลักษณะต่างจากทั่วไปและการรับรู้ประโยคเงื่อนไขภาษาอังกฤษ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง

Main Article Content

Dr. Achara Pengpanich

บทคัดย่อ

Abstract

The purposes of this study are (1) to investigate the effect of six-hour formal instruction on English conditionals in one day and (2) to investigate the impact of “markedness” (Eckman, 1977, 1996) on the acquisition of English Conditionals. The participants were 30 Thai undergraduates of mixed abilities from the Faculty of Humanities, Ramkhamhaeng University. The instruments used for collecting the data were 12 items in a multiple choice test and 18 items of constructing sentences with the help of words and context given and translating from Thai to English and vice versa. The findings reveal that after the formal instruction the learners were significantly improved at 0.01.The degree of markedness of the conditionals is not statistically significant. Yet markedness definitely had an impact on the learners. The Predictive Conditional, which is unmarked was the easiest in terms of both receptive and productive skills. However, the Predictive Conditional with ‘unless’, the Counterfactual Conditionals and the Counterfactual Conditional with verb inversion which are classified as marked were fairly easy when a receptive skill is involved. This phenomenon is not in line with Eckman’s theory (1977, 1996). When it comes to the productive skill, the learners gained low scores for the Hypothetical Conditional and   the  Counterfactual  Conditional,  which  are regarded as marked. This supports Eckman’s hypothesis. Finally, markedness and the differences between English and Thai conditionals do not always lead to difficulty. There are other factors that facilitated and weakened the acquisition of English conditionals. They were (1) the learners’ competence, (2) the skills tested (i.e. whether it is a receptive or productive skill), (3) the kind of language task, and  (4) the emphatic teaching of conditionals rated as “very difficult or difficult” by the teachers.

บทคัดย่อ

            งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ  (1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการสอนประโยคเงื่อนไขภาษาอังกฤษ (2) เพื่อศึกษาลักษณะต่างจากทั่วไป (markedness) ที่มีต่อปัญหาการรับรู้ประโยคเงื่อนไขภาษาอังกฤษ  ประชากรของการวิจัย คือ นักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวน 30 คน ผู้ซึ่งมีความรู้ต่างระดับกันแต่สอบผ่านวิชาพื้นฐาน 4 วิชา และเข้ารับการสอนเป็นเวลา 6 ชั่วโมง ภายใน 1 วัน  เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลสัมฤทธิ์ของการรับรู้ประโยคเงื่อนไขภาษาอังกฤษคือข้อทดสอบ 30 ข้อ แบบปรนัย  12 ข้อ ข้อทดสอบแบบเติมคำและการ แต่งประโยคตามความเหมาะสมของปริบท  และการแปลจากอังกฤษเป็นไทยและไทยเป็นอังกฤษ 18 ข้อ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) นักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบเน้นการสอนประโยคเงื่อนไขภาษาอังกฤษมีผลสัมฤทธิ์ที่ดีกว่าก่อนการสอน  ผลของการทดสอบพบว่า ความแตกต่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 (2) ระดับของลักษณะต่างจากทั่วไป  (markedness) ไม่มีความสำคัญอย่างมีนัยทางสถิติ แต่อย่างไรก็ตาม ประโยคเงื่อนไขชนิด Predictive Conditionals ซึ่งจัดว่าง่ายตามความคิดเห็นของอาจารย์และมีลักษณะไม่ต่างจากทั่วไป  (unmarked)  มีจำนวนนักศึกษาพัฒนาในการรับรู้ได้มากที่สุด  ส่วนประโยคเงื่อนไขชนิด  Predictive Conditionals with ‘unless’  และ Counterfactual Conditionals ซึ่งมีความยากปานกลางและยากตามลำดับกลับมีนักศึกษาตอบถูกมากเมื่อข้อทดสอบเป็นการทดสอบทักษะรับ ซึ่งก็ไม่เป็นไปตามทฤษฎีของ Eckman (1977 และ1996) แต่เมื่อพิจารณาตามคะแนนของข้อทดสอบที่ทดสอบทักษะสร้างและนักศึกษาทำได้ถูกน้อยที่สุดก็พบว่า ประโยคเงื่อนไขชนิด  Hypothetical Conditionals และ Counterfactual Conditionals สอดคล้องกันกับทฤษฎีของ Eckman ด้วยเหตุนี้ ปัจจัยที่ทำให้ประโยคเงื่อนไขยากต่อการรับรู้นั้นมิใช่เพียงแต่ลักษณะต่างจากทั่วไปและต่างจากภาษาแม่เท่านั้น แต่ยังมีปัจจัยอื่นอีกดังนี้ (1) กิจกรรมภาษาที่ทดสอบเป็นทักษะรับหรือทักษะสร้าง  (2) ลักษณะของกิจกรรมภาษา  (3) ระดับความรู้ภาษาอังกฤษผู้เรียน  (4) ลักษณะที่ต่างจากทั่วไปและแตกต่างจากภาษาแม่ที่เป็นสาเหตุของการสอนแบบเน้นย้ำของผู้สอน

Article Details

บท
บทความวิจัย