ทัศนคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม ความตั้งใจเชิงพฤติกรรมและพฤติกรรมในการป้องกันภาวะเมตาบอลิกซินโดรมของนักศึกษาของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาพตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม ความตั้งใจเชิงพฤติกรรม และพฤติกรรมในการป้องกันภาวะเมตาบอลิกซินโดรมและเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของทัศนคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม ความตั้งใจเชิงพฤติกรรม กับพฤติกรรมในการป้องกันภาวะเมตาบอลิกซินโดรมของนักศึกษาของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรังกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 173 คน คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรของเครจซี่และมอร์แกน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ แบ่งตามหลักสูตร และชั้นปี ร่วมกับการสุ่มตัวอย่างเชิงระบบตามบัญชีรายชื่อ เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือแบบสอบถามที่สร้างขึ้นตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการศึกษา พบว่า คะแนนเฉลี่ยทัศนคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้ความสามารถในการป้องกันภาวะเมตาบอลิกซินโดรมและความตั้งใจในการป้องกันภาวะเมตาบอลิกซินโดรมของนักศึกษาส่วนใหญ่ทั้งด้านการบริโภคอาหาร ด้านการออกกำลังกาย และภาพรวมอยู่ในระดับสูง ส่วนพฤติกรรมในการป้องกันภาวะเมตาบอลิกซินโดรมของนักศึกษาส่วนใหญ่ทั้งด้านการบริโภคอาหาร ด้านการออกกำลังกาย และภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ทัศนคติในการป้องกันภาวะเมตาบอลิกซินโดรมมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมในการป้องกันภาวะเมตาบอลิกซินโดรมของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.009 (ค่า r = -0.20) ขณะที่การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงการรับรู้ความสามารถ และความตั้งใจในการป้องกันภาวะเมตาบอลิกซินโดรมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมในการป้องกันภาวะเมตาบอลิกซินโดรมของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ< .001 และ.01(ค่า r = 0.31, 0.27, 0.20 ตามลำดับ)
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
References
ชัยชาญ ดีโรจนวงษ์. (2550). Metabolic syndrome. วารสารหมอชาวบ้าน, 276 (10), 11-17.
ชัยชาญ ดีโรจนวงษ์. (2551). Metabolic syndrome (โรคอ้วนลงพุง). สารราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย. 23(1), 5-17.
นพมาศ ศรีขวัญ. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อพฤติกรรมการลดน้ำหนัก การคล้อยตามกลุ่ม อ้างอิง การรับรู้การควบคุมพฤติกรรมและพฤติกรรมการลดน้ำหนักของวัยรุ่นหญิง. จาก https://www.sesearchgate.net/publicutim/27802768. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2560.
ปยภรณ อภิฐานฐิติ. (2551). การศึกษาทัศนคติ การคลอยตามกลุมอางอิง การรับรูความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม ความตั้งใจเชิงพฤติกรรม และพฤติกรรมการใหบริการ(กิจกรรม CARE) กรณีศึกษาพนักงานบริษัทประกันวินาศภัย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา อุตสาหกรรมและองคการ. กรุงเทพมหานคร: คณะศิลปศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.
พัชรีดวงจันทร์และ ภิญญาพันธ์ เพียซ้าย. (2017). การทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วน: ประสิทธิภาพของทฤษฎพีฤติกรรมตามแผนและตัวแปรส่วนขยาย. Journal of Behavioral Science, 23(1), 123-146.
รสชรินทร์ ศิริเวิน และ ชุติมา ศิริกุลชยานนท์. (2551). Nutrition Review. วารสารโภชนาการ. 43(4), 21-29.
วณิชา กิจวรพัฒน์. (2553). พิชิตอ้วน พิชิตพุง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง. (2560). รายงานการตรวจสุขภาพของนักศึกษาประจำปี 2560.
ศุภลักษณ์ ธนธรรมสถิต. (2544). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับการปรึกษาก่อนสมรสของคู่สมรสในจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2559). สุขภาพคนไทย 2559. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
สายสมร พลดงนอก สรวิเชษฐ์รัตนชัยวงศ์และ จันจิราภรณ์ วิชัย. (2558). ความรู้เรื่องโรคอ้วนลงพุง (MetabolicSyndrome). พิมพ์ครั้งที่ 1. ขอนแก่น: หน่วยสร้างเสริมสุขภาพ งานเวชกรรมสังคมโรงพยาบาลศรีนครินทร์.
สมจิตรา เรืองศรี. (2554). การสร้างแบบวัดจิตพิสัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง
สง่า ดามาพงษ์. (2550). อ้วนอันตราย...ไม่อยากตายต้องลดความอ้วน. กรุงเทพมหานคร: วายนอตคอมมิวนิเคชั่น.
Ajzen, I. (1991). The theory of planned behavior. Organizational behavior and human decisionprocesses. 50(2), 179-211.
Krecie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining sampling size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607-610.
Schifter, D.E., &Ajzen, I. (1985). Intention, perceived control, and weight loss: An application of the theory of planned behavior. Journal of Personality and Social Psychology, 49, 843-851.