ปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกในประชาชนพื้นที่ชายแดนไทย-สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา : การวิจัยเชิงคุณภาพ

Main Article Content

จักรกฤษณ์ พลราชม
นิรันตา ศรีบุญทิพย์
อภิรดี วังคะฮาต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะเข้าใจพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก ทำความเข้าใจปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมในการป้องกันโรคไข้เลือดออก และเพื่อเสนอแนะวิธีการที่เหมาะสมในการรณรงค์การป้องกันโรคไข้เลือดออกในประชาชนพื้นที่ชายแดน เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูล 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มประชาชนไทย กลุ่มประชาชนต่างด้าว กลุ่มสนับสนุนการดำเนินงานกลุ่มที่ 1 (ผู้นำชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน) กลุ่มสนับสนุนการดำเนินงานกลุ่มที่ 2 (เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่หรือเจ้าหน้าที่หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่ม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนนั้นไม่เป็นไปตามพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของกระทรวงสาธารณสุข อันเนื่องมาจากปัจจัยเชิงสาเหตุที่สำคัญของการมีพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกเป็นสหปัจจัย ได้แก่ 1) การรับรู้อุปสรรคต่อการป้องกันโรคไข้เลือดออกในกลุ่มประชาชนสูง 2) มีความเชื่อในความสามารถของตนเองในการป้องกันโรคไข้เลือดออกด้วยตนเองต่ำ 3) ประชาชนขาดทักษะในการประยุกต์ใช้วิธีการในการป้องกันโรคไข้เลือดออกด้วยตนเองกับการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเกิดโรค 4) การขาดการมีมาตรการทางสังคมอย่างต่อเนื่อง และ 5) ความต้องการรับการสนับสนุนจากองค์กร หน่วยงานและบุคลากรภาครัฐ


สรุปได้ว่าปัจจัยเชิงสาเหตุของการมีพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก มีปัจจัยเชิงสาเหตุอย่างน้อย 5 ประการ ที่สามารถอธิบายพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกไม่ต่อเนื่องและไม่พึงประสงค์ การศึกษานี้จึงมีข้อเสนอแนะว่าควรมีการจัดโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อการป้องกันโรคไข้เลือดออกให้กลุ่มประชาชนพื้นที่ชายแดนที่คำนึงถึงปัจจัยเชิงสาเหตุทั้ง 5 ประการดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์และลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

จักรกฤษณ์ พลราชม

อาจารย์ประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร

นิรันตา ศรีบุญทิพย์

นักกวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2560). เป้าหมายงานสื่อสาร และ GAP การดำเนินงานของแผนโรคประจำปี 2560. นนทบุรี : สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2558). แผนยุทธศาสตร์กรมควบคุมโรค. นนทบุรี : กองแผนงานกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

ปราโมทย์ เกรียงตันติวงศ์. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอไพสาลี จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2(1), 738 - 746.

วราภรณ์ อำพันกาญจน์. (2554). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลท่าข้าม อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา. 6(2), 131 - 139.

สมศักดิ์ กีรติหัตถยากร. (2553). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนอำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี. วารสารสุขภาพภาคประชาชนภาคกลาง. 26(3), 25 - 38.

สุภางค์ จันทวานิช. (2553). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2559). ผลการดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ปีงบประมาณ 2559. นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข.

Green, L. Krueter, M. (1999). Health Promotion Planning An Education Approach. 3rd ed. Toronto : Mayfield Publishing Company.

World Health Organization. (2009). Dengue guidelines for diagnosis treatment prevention and control. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.who.int/csr/resources/publications/dengue/en/ (วันที่ค้นข้อมูล : 23 กุมภาพันธ์ 2561).