การดำรงอยู่ของประเพณีเซิ้งผีโขนบ้านไฮหย่อง ตำบลไฮหย่อง อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร

Main Article Content

นนทวรรณ แสนไพร

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง การดำรงอยู่ของประเพณีเซิ้งผีโขนบ้านไฮหย่อง ตำบลไฮหย่อง อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำรงอยู่ของประเพณีเซิ้งผีโขนบ้านไฮหย่อง  ตำบลไฮหย่อง  อำเภอพังโคน  จังหวัดสกลนคร โดยใช้ใช้วิธีการเก็บข้อมูลแบบมีส่วนร่วม เครื่องมือที่ใช้คือ การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์ ซึ่งใช้เทคนิคสโนว์บอลในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับประเพณีเซิ้งผีโขน


ผลการวิจัย พบว่า ประเพณีเซิ้งผีโขนจัดขึ้นในงานบุญมหาชาติ (บุญพระเวส) เพื่อดำรงรักษาไว้ซึ่งประเพณีที่เกี่ยวข้องกับศาสนาและเพื่อการระลึกถึงบรรพบุรุษที่ล่วงลับไป  ทั้งนี้การดำรงอยู่ของประเพณีเซิ้งผีโขนบ้านไฮหย่อง ตำบลไฮหย่อง อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร  สามารถดำรงอยู่ได้ผ่านการใช้สัญลักษณ์ร่วมของคนในชุมชน โดยประเพณีเซิ้งผีโขนที่ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ในการสร้างปฏิสัมพันธ์ของคนในชุมชน ตลอดจนเป็นการสืบทอดด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นจากรุ่นสู่รุ่น อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงพลังของคนในชุมชนที่ต้องการแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ต่อรองกับอำนาจของรัฐและกระแส  โลกาภิวัตน์ที่สร้างการพัฒนาในรูปแบบเดียวกันทั้งประเทศ ผ่านการใช้ภาษาไทย (ภาคกลาง) ในการติดต่อสื่อสาร แต่ในประเพณีเซิ้งผีโขนพบว่า บทเซิ้งของผีโขนจะใช้ภาษาถิ่น (อีสาน) ในการเซิ้งนำขบวนผีโขน ส่วนด้านการปรับตัวของประเพณีเซิ้งผีโขนท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ มีการปรับตัวสนองต่อด้านเศรษฐกิจผ่านการท่องเที่ยวมากขึ้น นอกจากนี้สถานศึกษาบางแห่งในพื้นที่อำเภอพังโคน ยังได้จัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับประเพณีเซิ้งผีโขนผ่านรูปแบบโครงงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

นนทวรรณ แสนไพร

อาจารย์ประจำสาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

References

จำนง อดิวัฒนสิทธิ์ และคณะ. (2540). สังคมวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. ไทย้อ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.sac.or.th/databases/ethnic/Content/Information/taiyo.html
(วันที่ค้นข้อมูล : 30 ตุลาคม 2556).

ลัดดา พนัสนอก. (มปป.). การละเล่นพื้นเมืองสกลนคร. สถาบันราชภัฏสกลนคร.

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2554). พัฒนาการทางสังคม-วัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.

สรรเกียรติ กุลเจริญ. (2558). การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมท้องถิ่น : ศึกษากรณีงานประเพณี สงกรานต์พระประแดง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎี
บัณฑิต สาขาวิชาไทยศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุรัตน์ วรางรัตน์. (2537). ประวัติศาสตร์สกลนคร. เอกสารเพื่อการเผยแพร่ความรู้ศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ท้องถิ่น. สกลนคร : สกลนครการพิมพ์.

อรอุมา วิสุกัน. (2542). ข้อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างผีโขนบ้านไฮหย่อง ต.พังโคน จ.สกลนครกับผีตาโขน อ.ด่านซ้าย จ.เลย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :http://province.mculture.go.th/sakonnakhon/kone.html (วันที่ค้นข้อมูล : 28 ตุลาคม 2560).