การพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะของนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

Main Article Content

พาที เกศธนากร

บทคัดย่อ

การพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะของนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ในครั้งนี้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะของนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 และ 2) เพื่อตรวจสอบความตรงของโมเดลตัวบ่งชี้ทักษะของนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ตัวอย่างที่ใช้ในวิจัยได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 450 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพัฒนากรอบความคิดในการวิจัยแบบสอบถามเกี่ยวกับทักษะของนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 มีค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.940 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและสถิติเชิงอ้างอิงได้แก่ ความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความเบ้ ความโด่ง สัมประสิทธิ์การกระจาย การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป


ผลการวิจัยพบว่า


1. การพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะของนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 พบว่า ได้ตัวบ่งชี้ จำนวน 13 ตัวบ่งชี้โดยจำแนกตามองค์ประกอบได้ดังนี้ ด้านทักษะชีวิตและการทำงาน  จำนวน  5 ตัวบ่งชี้คือ การริเริ่มสร้างสรรค์และการกำกับดูแลตนเอง ความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว ทักษะด้านสังคมและทักษะข้ามวัฒนธรรม ภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม และการเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิตที่รับผิดชอบตรวจสอบได้ ค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.771 ถึง 0.910   ด้านทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี มีจำนวน 4 ตัวบ่งชี้คือ ความเข้าใจและสามารถใช้เทคโนโลยี ความเข้าใจและสามารถใช้สื่อ เลือกใช้สารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม และความเข้าใจและสามารถใช้สารสนเทศ        ค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.942 ถึง 0.974 และด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม จำนวน 4 ตัวบ่งชี้คือ      การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการแก้ปัญหา ทักษะการสื่อสารและการร่วมมือ ทักษะการพึ่งพาตนเองในการเรียนรู้    และการสร้างสรรค์และนวัตกรรม ค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.890 ถึง 0.909


2. โมเดลตัวบ่งชี้ทักษะของนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยมีค่า  = 47.93;  p= 0.35; df = 45; GFI = 0.98; AGFI = 0.97; RMSEA = 0.012; RMR=0.022

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

พาที เกศธนากร

อาจารย์คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

References

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2557). หลักการออกแบบและการสร้างเว็บเพื่อการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

รัตนะ บัวสนธ์. (2550). ทิศทางและอาณาบริเวณการประเมิน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลัดดาวัลย์ สืบจิต. (2557). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (4) : 142-149.

วรรณีแกมเกตุ. (2540). การพัฒนาตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพการใช้ครู: การประยุกต์ใช้โมเดลสมการโครงสร้างกลุ่มพหุและโมเดลเอ็มทีเอ็มเอ็ม. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการวัดและ ประเมินผลการศึกษา บัณฑิตมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิธีการสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.

เอกชัย พุทธสอน . (2557). แนวโน้มการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาผู้ใหญ่. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา. (4) : 93-106.

เอมอร จังศิริพรปกรณ์. (2542). การพัฒนารูปแบบของระบบการบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการสำหรับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาภาคเหนือ: จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย. (1). 115-132.

John stone. (1981). Indicators to Education System. London : The Anchor Press.