การเปรียบเทียบความสามารถการอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ SQ4R กับ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIRC

Main Article Content

อาภาพร บุญเติม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ ที่ใช้วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ SQ4R กับวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ CIRC ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผล การเรียนรู้ ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIRC  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  3) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIRC  4) ศึกษาความพึงพอใจในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนรู้การภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ โดยใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIRC กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560  โรงเรียนบึงสามพันวิทยาคม อำเภอบึงสามพัน  จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40 โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 2 ห้องเรียน โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองที่ 1 ทดลองด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ SQ4R  กลุ่มทดลองที่ 2 ทดลองด้วยการจัดการจัดกิจกรรมเรียนรู้ แบบ CIRC เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้    มี 4 ชนิด ประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R จำนวน 7 แผน รวม 14 ชั่วโมง  2) แผนการจัดการเรียนรู้ การอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIRC จำนวน 7 แผน รวม 14 ชั่วโมง  3) แบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านคิดวิเคราะห์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 40 ข้อ  4) แบบวัดความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า  5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย t-test (for Independent  Samples)


              ผลการวิจัยพบว่า 


              1) แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ SQ4R  และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ CIRC  มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 88.42/85.66 และ  84.54/82.76 ตามลำดับ  สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด  80/80


              2)  ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R มีค่าเท่ากับ 0.5691 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียน คิดเป็นร้อยละ 56.91 และดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIRC  มีค่าเท่ากับ 0.5057 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียน คิดเป็นร้อยละ 50.57


              3) ความสามารถในการอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 34.26 คะแนน สูงกว่า CIRC  ที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  33.11 คะแนน เมื่อเปรียบเทียบแล้วมีความแตกต่างกัน เท่ากับ 1.16 คะแนน  ดังนั้นจากการทดสอบสถิติ t พบว่า ค่าเฉลี่ยหลังเรียน ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R  สูงกว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIRC อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


            4) ความพึงพอใจในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนรู้การภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ พบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R ที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ชอบวิธีการอ่านภาษาไทยที่ฝึกให้คิดตั้งคำถามจากเรื่องที่อ่านอย่างมีขั้นตอน ชอบกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีความต่อเนื่องเป็นลำดับขั้นตอน ชอบกิจกรรมการสอนที่ทำให้ได้เลือกวิธีการค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง ตามลำดับ และ ความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIRC ที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ชอบขั้นตอนการสอนแบบที่ครูสอนเพราะได้เขียนสรุปเป็นแผนที่ความคิด และระบายสี ชอบขั้นตอนการสอน เพราะทำให้มีอิสระในการเรียนชอบขั้นตอนการสอนแบบนี้เพราะทำให้มีนิสัยรักการอ่าน ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

อาภาพร บุญเติม

นักศึกษาหลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

References

กรุณา ปางวิภาศ. (2556). การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านและการเขียนของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 รายวิชาภาษาไทย ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค CIRC กับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค SQ4R. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จรรยา ศรีบัวหลวง. (2559). การศึกษาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จากการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ทิศนา แขมณี. (2554). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่14. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธารทิพย์ แก้วเหลี่ยม. (2553). วิธีการอ่านแบบ SQ4R. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.google.co.th// 244531. (วันที่ค้นข้อมูล : 1 เมษายน 2560).

มูนาดา หมัดอะด้ำ. (2557). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับการใช้ผังกราฟิกที่มีต่อความสามารถในการอ่านจับใจความและเขียนสรุปความกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษา 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยทักษิณ.

Bloom, Benjamin A. (1956). Taxonomy of Education Objective Handbook I : Cognitive Domain. New York : David Mc Kay Company.

Slavin, Robert E. (1995). Cooperative Learning : Theory research and Practice. Assachusett : Asimon & Schostr.

Hedberg, K. (2005). Using SQ4R methot with fourth grade grade ESOL students. [Online]. Available : htt://gse.gmu.edu/researchtr/articles/ SQ4R/20Method /SQ4R.thm. (2017, April 1).