การพัฒนารูปแบบทักษะการศึกษาวิจัยด้านปฐมวัยด้วยการเรียนรู้ แบบนำตนเองของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบทักษะการศึกษาวิจัยด้านปฐมวัยแบบนำตนเอง 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบทักษะการศึกษาวิจัยด้านปฐมวัยด้วยการเรียนรู้แบบนำตนเอง 3) เพื่อทดลองใช้และศึกษาผลการใช้รูปแบบทักษะการศึกษาวิจัยด้านปฐมวัยด้วยการเรียนรู้แบบนำตนเอง และ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการใช้รูปแบบทักษะการศึกษาวิจัยด้านปฐมวัยด้วยการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษา สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม มา 1 ห้องเรียน จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ เอกสารประกอบรูปแบบการจัดกิจกรรมแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ แบบประเมินความพึงพอใจ การวิจัยในครั้งนี้ ใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียว ทดลองก่อน-หลัง (One Group Pretest – Posttest Design) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test independent
ผลการศึกษาพบว่า
- 1. รูปแบบทักษะการศึกษาวิจัยด้านปฐมวัยด้วยการเรียนรู้แบบนำตนเอง เน้นให้ผู้เรียนมีบทบาทในการเรียนรู้อย่างเต็มที่ และควบคุมตนเองในการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม
- 2. รูปแบบทักษะการศึกษาวิจัยด้านปฐมวัยด้วยการเรียนรู้แบบนำตนเองที่ได้พัฒนาขึ้นมี 6 องค์ประกอบคือ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระ กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อและแหล่งเรียนรู้ และการวัดและการประเมินผล
- 3. ผลการใช้รูปแบบทักษะการศึกษาวิจัยด้านปฐมวัยด้วยการเรียนรู้แบบนำตนเอง ก่อนการทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 21 และหลังการทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 27.75 สรุปได้ว่าหลังการทดลองนักศึกษามีผลการเรียนรู้สูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- 4. นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบทักษะการศึกษาวิจัยด้านปฐมวัยด้วยการเรียนรู้แบบนำตนเอง อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.17, S.D. = 0.48) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า นักศึกษามีผลการประเมินความพึงพอใจ ด้านปัจจัยนำเข้ามีผลรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.38) ด้านกระบวนการมีผลรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( x̄ =4.01) ด้านผลผลิตมีผลรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( x̄ =4.13)
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
References
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2558). ศิลปะการสอนเพื่อผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : วีพรินทร์.
ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทองจันทร์ หงส์ลดารมภ์. (2550). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก. กรุงเทพฯ : บุ๊คเน็ท.
นัดดา อังสุโวทัย. (2550). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมีที่เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบนาตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด.(วิทยาศาสตร์ศึกษา) กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2552).กลยุทธ์การสอนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา.กรุงเทพมหานคร.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วารีรัตน์ แก้วอุไร. (2549). เอกสารคำสอนการพัฒนาหลักสูตรและการสอน. พิษณุโลก : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุนันทา สุวรรณศิลป์. (2543). การพัฒนาโมดูลวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อมศึกษาด้วยวิธีการเรียนแบบการนำตนเอง หลักสูตรพยาบาลศาสตร์ ระดับปริญญาตรี ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ ค.ต. (อุดมศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). รายงานการเสวนาทางวิชาการ มิติใหม่ของการประเมินผล การเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ : ม.ป.พ.สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2548). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าราชการ พ.ศ. 2548-2551. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2551). แผนยุทธศาสตร์การวิจัยและ พัฒนาการอาชีวศึกษา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เอสวีกราฟ ฟิคแอนด์พริ้นติ้ง.
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2553). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2553. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มาhttp://qa.rmutto.ac.th/template/th/download/11:05:11.คู่มือประกัน สกอ. ปี53.pdf. (5 มิถุนายน 2556).
Brockett, R.G. & Hiemstra, R. (1991). Self-direction in adult learning: Perspectives on theory research, and practice. New York: Routledge.
Guglielmino. (1977). Development of the Self-Directed Learning Readiness Scale. Doctoral dissertation,University of Georgia.
Kidd cited in Brockett and Hiemstra. (1991). describe several self-directed efforts in China. Indonesia. Japan,Norway, Russia, Saudi Arabia, Sweden, and Tanzania. Knowles.
Knowles, M.S. (1975). Self-directed learning: A guide for learners and teachers. New York: Association Press.
Fellows, S., Culver, R., Ruggieri, P., & Beston, W. (2002). Instructional tools for promoting self-directed learning skills in freshmen. 32nd ASEE/IEEE Frontiers in Education Conference, November 6-9, 2002, Boston, MA.
Mezirow. (1981). A critical theory of adult learning and education. Adult Education Quartery. 32 (Febuary 1981).
Skager, R. & Dave, H. (1977). Curriculum for Lifelong Eduction. Oxford:Programe Process.
Tough, A. (1979). The Adult, s Learning project. Toronto : The Ontario Institute for Studies in Education.