การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกที่ส่งเสริมทักษะการคิด วิชาความเป็นครู สำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

Main Article Content

กานต์ อัมพานนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษา สร้าง ทดลอง และประเมินการใช้รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกที่ส่งเสริมทักษะการคิด วิชาความเป็นครู สำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ขอบเขตการวิจัย ประกอบด้วย ประชากร คือ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ปีการศึกษา 2560 ชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป จำนวน 2 ห้อง จำนวน 60 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ปีการศึกษา 2560 ชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม แหล่งข้อมูล ประกอบด้วย เอกสารเกี่ยวกับแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบ การเรียนรู้เชิงรุก การคิดและกระบวนการคิด รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกที่ส่งเสริมทักษะการคิด และการประเมินโครงการ และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ในการสอนระดับอุดมศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ในการสอนวิชาความเป็นครู หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือ และนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกที่ส่งเสริมทักษะการคิด แบบสัมภาษณ์การเรียนรู้เชิงรุกที่ส่งเสริมทักษะการคิด แบบสอบถามแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิด แบบบันทึกการการสนทนากลุ่ม  แบบประเมินรูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกที่ส่งเสริมทักษะการคิด แบบประเมินคู่มือการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกที่ส่งเสริมทักษะการคิด แบบวัดทักษะการคิด แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นต่อผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกที่ส่งเสริมทักษะการคิด แบบสอบถามการใช้รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกที่ส่งเสริมทักษะการคิด และแบบประเมินการใช้รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกที่ส่งเสริมทักษะการคิด วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวน (F-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า


  1. การศึกษารูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกที่ส่งเสริมทักษะการคิด วิชาความเป็นครู สำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ จากการวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม ทำให้ได้แนวทางการร่างรูปแบบการเรียนรู้ เชิงรุกที่ส่งเสริมทักษะการคิด ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนก่อนการเรียน ขั้นตอนการเรียน และขั้นตอนหลังการเรียน

  2. รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกที่ส่งเสริมทักษะการคิด วิชาความเป็นครู สำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์มี 5 ขั้นตอน หรือ POSSE Model ประกอบด้วย ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมและทบทวนความรู้เดิม (P) ขั้นตอนการจัดกิจกรรมกระบวนการทางปัญญา (O) ขั้นตอนการศึกษารวบรวมข้อมูล และการใช้แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย (S) ขั้นตอนการสรุปองค์ความรู้ (S) และขั้นตอนการประเมินผลงาน (E) พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งโดยรวมและในทุกองค์ประกอบ

  3. การทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิชาความเป็นครูกับนักศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง พบว่า หลังการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกที่ส่งเสริมทักษะการคิดนักศึกษามีทักษะการคิดสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกที่ส่งเสริมทักษะการคิดทั้ง 5 ขั้นตอน โดยการสัมภาษณ์นักศึกษา พบว่า การจัดการเรียนการสอนเป็นลำดับขั้นตอนทำให้สามารถเข้าใจเนื้อหาในบทเรียนง่ายขึ้นและเกิดทักษะการคิดจากการลงมือปฏิบัติจริงในการทำกิจกรรมและสรุปผลด้วยแผนผังการคิด (Mind map) ร่วมกันและหลังจากการใช้รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกที่ส่งเสริมทักษะการคิดด้วยแบบสอบถามกับนักศึกษา ผลการศึกษา พบว่า นักศึกษามีความคิดเห็นต่อรูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกที่พัฒนาขึ้น โดยรวมอยู่ใน  ระดับมาก

            4.  ผลการประเมินการใช้รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกที่ส่งเสริมทักษะการคิด วิชาความเป็นครู พบว่า การประเมินด้านปฏิกิริยาตอบสนอง พบว่า นักศึกษามีความคิดเห็นต่อการใช้รูปแบบอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาการประเมินด้านผลการเรียนรู้  พบว่า นักศึกษาได้เรียนรู้ วิธีการวางแผนก่อนลงมือปฏิบัติงานจริงเป็นลำดับขั้นตอน เพื่อการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การประเมินด้านพฤติกรรม พบว่า นักศึกษามีความรับผิดชอบต่อตนเอง และผู้อื่นมากขึ้น มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ซึ่งก่อนการลงมือทำงาน นักศึกษามีการวางแผนในการทำงาน มีการแบ่งการทำงานภายในกลุ่มของตนเอง และด้านการประเมินผลลัพธ์ ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร อาจารย์ในกลุ่มวิชาชีพครู และอาจารย์ผู้สอนวิชาความเป็นครู จากแบบสอบถามปลายเปิด และแบบสัมภาษณ์ พบว่า รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้จัดการเรียนการสอนในกลุ่มวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

กานต์ อัมพานนท์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กลุ่มมาตรฐานวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

References

ชนาธิป พรกุล. (2559). แคทส์ : รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจารณ์ พานิช. (2558). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่21. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

บุญส่ง หาญพานิช. (2558). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกจากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : จิรวัฒน์เอ็กซ์เพรส.

สรวงพร กุศลส่ง. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมยุทธวิธีการรู้คิดสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ. การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สมพร ทรัพย์สวัสดิ์. (2557, เมษายน – มิถุนายน). รูปแบบการจัดกิจกรรมโครงงานการสอนวิทยาศาสตร์เชิงรุก ของโรงเรียนเทศบาล1. 16(2), 55 – 70.

สุกัญญา งามบรรจง. (2559, กรกฎาคม – กันยายน). การพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 46(3), 142 – 153.

อุษณีย์ เทพวรชัย. (2557, มกราคม – มิถุนายน). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเชิงรุกทางการศึกษาพยาบาลในระดับปริญญาตรี. 8(1), 121 – 136.

Bloom, B.S. (1971). Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill.

Brandes, D. & Ginnis, P. A. (2013). Guide to Student Centred Learning. New York: McGraw–Hill.

Dewey, J. J. (1959). Experience and Education. New York: Macmillan.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Educational and Psychological Measurement. New Jersey : Prentice-Hall.

Kirkpatrick, D. L. (1998). Techniques for Evaluating, Training Program. Evaluating Training Program. San Francisco : American Society For Training and Development.

Nelson, L.P., & Crow, M.L. (2014). Do Active-Learning Strategies Improve Students Critical Thinking?.Higher Education Studies. 4(2), 77-90.

Piaget, J. (2001). The child's conception of physical casuality. New York: McGraw–Hill.