ผลกระทบของโครงการธรรมชาติปลอดภัยต่อเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ตำบลช่างเคิ่ง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

สมเกียรติ ชัยพิบูลย์
นารินจง วงศ์อุต

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทของโครงการธรรมชาติปลอดภัย ผลกระทบของโครงการธรรมชาติปลอดภัยที่มีต่อ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและปัญหาอุปสรรคของโครงการธรรมชาติปลอดภัย โดยการเก็บข้อมูลจากสมาชิกในชุมชนบ้านแม่ปานและบ้านดอยสันเกี๋ยงจำนวน 147 ราย โดยใช้แบบสำรวจในการเก็บรวบรวมข้อมูลนำมาวิเคราะห์โดยโปรแกรมสำเร็จรูปวิเคราะห์สถิติด้านสังคมศาสตร์วิเคราะห์โดยสถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ผลการศึกษา พบว่า ชุมชนมีแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรบนพื้นที่สูง (บ่อพวงสันเขา) จำนวน 39 บ่อ มีการจัดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาอาชีพทั้งในภาคการเกษตรและนอกภาคการเกษตร จำนวน 12 ครั้ง มีการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรธรรมชาติปลอดภัยแม่ปาน-สันเกี๋ยงขึ้น โดยมีคณะกรรมการจำนวน 18 คน และมีสมาชิก จำนวน 134 คน มีจำนวนหุ้นทั้งหมด 8,326 หุ้นๆ ละ 100 บาทและมีเงินออมของกลุ่มจำนวน 128,900 บาท ภายใต้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ เกิดกลุ่มอาชีพที่หลากหลาย ได้แก่ กลุ่มไม้ผล กลุ่มเลี้ยงหมู กลุ่มปลูกผัก กลุ่มหัตถกรรม กลุ่มน้ำพริก และกลุ่มเลี้ยงไก่ ในภาพรวมโครงการธรรมชาติปลอดภัย มีผลกระทบทางบวกต่อชุมชนบ้านแม่ปานและดอยสันเกี่ยงในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 2.30 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านสังคมมีผลกระทบมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 2.65 รองลงมาคือด้านเศรษฐกิจ ค่าเฉลี่ย 2.25 และด้านสิ่งแวดล้อม ค่าเฉลี่ย 2.01 ตามลำดับ ปัญหาและอุปสรรคของโครงการธรรมชาติปลอดภัยคือ ชุมชนอยู่ห่างไกลเมืองการเดินทางค่อนข้างลำบาก กิจกรรมบางอย่างของโครงการต้องอาศัยความร่วมมือของคนในชุมชนเป็นหลักการทำกิจกรรมบางอย่างต้องชะลอการดำเนินงานหากตรงกับช่วงที่สมาชิกในชุมชนต้องทำการเกษตร

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

สมเกียรติ ชัยพิบูลย์, คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

นารินจง วงศ์อุต, คณะเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

อาจารย์ คณะเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

References

ปรีชา วุฒิการณ์. (2554). รายงานการวิจัยผลกระทบของฝายกักเก็บน้ำที่มีต่อเศรษฐกิจ สังคมสิ่งแวดล้อมของหมู่บ้านดอนไชย อำเภอปัว จังหวัดน่าน. (หน้า 31 – 39). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ปริชาติ วลัยเสถียร และคณะ. (2548). นวัตกรรมการเรียนรู้ : คน ชุมชน และการพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์พิสิษฐ์ ไทยออฟเซต.

สมเกียรติ ชัยพิบูลย์. (2557). รายงานการวิจัยโครงการธรรมชาติปลอดภัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนธรรมชาติปลอดภัย บ้านแม่ปานหมู่ที่ 10 บ้านดอยสันเกี๋ยงหมู่ที่ 17 ตำบลช่างเคิ่ง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. (หน้า 131 – 185). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

สุภางค์ จันทวานิช. (2548). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cohen, J. and N.T. Uphoff. (1980). Participation’s Place in Rural Development: Seeking Clarify Through Specificity. New York : World Development.