การพัฒนาศักยภาพการตลาดสินค้าของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยว หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

สุบัน บัวขาว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) ศึกษาการพัฒนาศักยภาพการตลาดสินค้าของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยวหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) จังหวัดนนทบุรี  และ 2) กำหนดแนวทางในการพัฒนาศักยภาพการตลาดสินค้าของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยวหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) จังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพคือ กลุ่มผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพแม่บ้านการเคหะแห่งชาติ อำเภอปากเกร็ด นนทบุรี และพัฒนาชุมชนอำเภอปากเกร็ด นนทบุรี โดยเลือกแบบเจาะจง จำนวน 10 คน และการวิจัยเชิงปริมาณ คือนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยววิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพแม่บ้านเคหะแห่งชาติ อำเภอปากเกร็ด นนทบุรี เลือกโดยการสุ่มแบบบังเอิญ จำนวน 100 คน เครื่องมือในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาศักยภาพการตลาดของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ มีการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และมีการปรับราคาให้เหมาะสมกับคุณภาพสินค้า ส่วนการจัดจำหน่ายมีการขยายแหล่งการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการตลาดมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ  2) แนวทางในการพัฒนาศักยภาพการตลาดสินค้าของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยวหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) จังหวัดนนทบุรี หน่วยงานภาครัฐควรให้การส่งเสริมด้านการตลาด สนับสนุนด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ จัดหาช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าที่เพิ่มมากขึ้น ด้านเงินทุนควรสนับสนุนแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อการจัดซื้ออุปกรณ์และเครื่องจักรในการผลิตสมัยใหม่ ด้านการจัดการความรู้และข้อมูล ส่งเสริมการอบรมเพิ่มพูนความรู้ในการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ และตราสินค้า การตั้งราคาสินค้าให้มีความเหมาะสมกับคุณภาพของสินค้ามากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

สุบัน บัวขาว, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

อาจารย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

References

ปุณฑริกา สุคนธสิงห์. (2557). รายงานการวิจัยปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของกลุ่มอาชีพ กรณีศึกษากลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์จากผ้าในเขตจังหวัดเพชรบุรี. ทุนอุดหนุนการวิจัยโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

พิมพ์พิสุทธ์ อ้วนล้ำ ชมพูนุท โมราชาติ และกัญญา จึงวิมุติพันธ. (2560). การพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานกลุ่มหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์(โอทอป) ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ ศุภร เสรีย์รัตน์ องอาจ ปทะวานิช และปริญ ลักษิตานนท์. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ : บริษัท ธีระฟิลม์ และไซเท็กซ์ จํากัด.

เสรี พงศ์พิศ และสุภาส จันทร์หงส์. (2548). ข้อควรรู้เกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมการเกษตร.

สมบูรณ์ ขันธิโชติ และชัชสรัญ รอดยิ้ม. (2558). การพัฒนาศักยภาพด้านการตลาดกลุ่ม OTOP จังหวัดนนทบุรี : กรณีศึกษากลุ่มสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 10(1), 120 - 130.

สำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน. (2560). โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://cep.cdd.go.th/. (วันที่ค้นข้อมูล : 15 มีนาคม 2560).

สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2560). ลักษณะวิสาหกิจชุมชน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.sceb.doae.go.th/sceb09102015.html. (วันที่ค้นข้อมูล : 15 มีนาคม 2560).

Kotler, P. (2000). Marketing management: Analyzing consumer marketing and Buyer behavior (The Millennium). New Jersey : Prentice Hall.