2 มาตรฐาน เพื่อการพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์ของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์ให้ตรงกับตามความต้องการของตลาดแรงงาน ตรงกับความต้องการของสถานประกอบการ และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาให้มีมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับด้วยการรับรองทั้งในด้านความรู้ ความชำนาญและทักษะในด้านวิชาชีพโลจิสติกส์ ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีมาตรฐานวิชาชีพด้านโลจิสติกส์อยู่ 2 มาตรฐาน คือ มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ กลุ่มอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน และมาตรฐานอาชีพ สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์ โดยสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ที่เปรียบเสมือนเป็นแม่แรงในการยกระดับมาตรฐานบุคลากรด้านโลจิสติกส์ ให้มีมาตรฐานทั้งในระดับประเทศและในระดับสากล สามารถเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งขณะนี้ทั้งสองหน่วยงานก็ได้ลงนามร่วมมือกันในการจัดทำมาตรฐานให้สอดคล้องตามมาตรฐานสากล เพื่อช่วยกันสร้างและพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์ของไทยให้มีคุณภาพมาตรฐาน ซึ่งสถานประกอบการ รวมถึงสถานศึกษาที่มีหลักสูตรด้านโลจิสติกส์ ควรตระหนักและให้ความสำคัญต่อมาตรฐานทั้ง 2 มาตรฐานนี้ เพื่อร่วมกันยกระดับบุคลากรด้านโลจิสติกส์ของไทยให้สูงขึ้นและแข่งขันได้ในระดับเวทีโลก
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
References
ไทยโลจิสติกส์และการผลิต, สมาคม. (ม.ป.ป.). มาทำความรู้จัก มาตรฐานแรงงานแห่งชาติกลุ่มอุตสาหกรรมโลจิสติกส์กันเถอะ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.tlaps.or.th/โลจิสติกส์ข่าว-มาทำความรู้จักมาตรฐานแรงงานแห่งชาติ-275. (วันที่ค้นข้อมูล : 11 ตุลาคม 2561).
ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน. (2558, 11 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 132 ตอนพิเศษ 56 ง. หน้า 14 – 59.
วัชรพงศ์ วราภรณ์, ผู้บรรยาย. (2561). คุณประโยชน์ของมาตรฐานอาชีพโลจิสติกส์ต่อความก้าวหน้าในอนาคต. [ภาพนิ่ง]. กรุงเทพฯ : สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ.
สุวัฒน์ นวลขาว. (2558, เมษายน – มิถุนายน). แนวทางการพัฒนาบุคลากรทางด้านโลจิสติกส์เพื่อการแข่งขัน. Logistics Network Magazine. 2(2), 91.
สุวัฒน์ นวลขาว. (2558, กรกฎาคม – กันยายน). แนวทางการพัฒนาบุคลากรทางด้านโลจิสติกส์เพื่อการแข่งขัน. Logistics Network Magazine. 2(3), 90.