การพัฒนาหลักสูตรกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

อาทิตยา ขาวพราย

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และศึกษาผลการใช้หลักสูตรกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวังงิ้ววิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 จำนวน 30 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หลักสูตรกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ทำการวิเคราะห์ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ โดยการหาค่าเฉลี่ย (x̄) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และเปรียบเทียบความแตกต่างของความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมหลักสูตรค่ายวิทยาศาสตร์โดยใช้สถิติทดสอบที (t – test dependent) ผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มี 8 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการของหลักสูตร จุดมุ่งหมายของหลักสูตร กลุ่มเป้าหมาย ระยะเวลา โครงสร้างของหลักสูตร เนื้อหาและกิจกรรมค่ายตามแนวคิดสะเต็มศึกษา สื่อที่ใช้ในการจัดกิจกรรมค่าย และการวัดและประเมินผล และผลการใช้หลักสูตร พบว่านักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมหลักสูตรค่ายวิทยาศาสตร์หลังเข้าค่ายสูงกว่าก่อนเข้าค่ายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

อาทิตยา ขาวพราย, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

อาจารย์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

References

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2557). การพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : วีพรินท์.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2551). การพัฒนาการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : เทคนิคพริ้นติ้ง.

พรรณพร นามโนรินทร์. (2554). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (problem-based learning) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหนองโก้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พรพรรณ ไทยางกูร. (2559). สะเต็มศึกษา : ก้าวสำคัญของการนำสะเต็มศึกษาไปใช้กับความหวังระดับคุณภาพศึกษาไทย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http//www.daliynews.co.th/education. (วันที่ค้นข้อมูล : 20 มิถุนายน 2559).

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และคณะ. (2551). กลยุทธ์พัฒนาการคิด ภูมิคุ้มกันในตนเอง. กรุงเทพฯ : พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.).

มาลิณี จุโฑปะนา. (2554). จิตวิทยาการศึกษา. บุรีรัมย์ : เรวัตการพิมพ์.

วารีรัตน์ แก้วอุไร. (2549). เอกสารคำสอนการพัฒนาหลักสูตรและการสอน. พิษณุโลก : ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ศิริรัตน์ เจนใจ. (2555). การพัฒนากิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถของนักเรียนในการนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ ณ แหล่งเรียนรู้ สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าเชิงดอยสุเทพ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศูนย์สะเต็มศึกษาแห่งชาติ สสวท. (มปป.). สะเต็มศึกษา. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2550). แนวการจัดกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2554). ผลการประเมิน PISA 2009 การอ่านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท), และ OECD. (2557). ผลการ ประเมิน PISA การอ่านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ บทสรุปเพื่อการบริหาร. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์.

สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2552). พัฒนาทักษะการคิด พิชิตการสอน. ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : เลี่ยงเซียง.

สุทธิกัญจน์ ทิพยเกษร. (2554). การจัดค่ายวิทยาศาสตร์ในแหล่งวิทยาการท้องถิ่น. เอกสารประกอบการบรรยายสำหรับครูวิทยาศาสตร์ในกลุ่มโรงเรียนในฝัน. โรงเรียนสันกำแพงวิทยาคม (10 กันยายน 2554).

สุภาวรรณ คำพิลา. (2552). การจัดการเรียนรู้ด้วยค่ายวิทยาศาสตร์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://portal.in.th/general - sci/pages/11591/. (วันที่ค้นข้อมูล : 14 มิถุนายน 2559).

อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2553). หลักการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮาส์.

Fuhrmann, B.S.. (1996). Philosophies and aims. In J. Gaff, J.Ratcliff and Associates (Eds). Handbook of the Undergraduate Curriculum: A Comprehensive Guide to Purposes, Structures, Practices, and Change. (pp. 86-99). San Francisco: Jossey-Bass.

Lou, S.J., Shih, R.C., Diez, C.R. and Tseng, K.H. (2011). The impact to problem-based learning Strategies on STEM Knowledge Intergration and attitudes: An Exploratory Study Among Female Taiwanese Senior High School Student. International Journal of Technology and Design Education. 10798(21), 195 – 215.

Taba, H. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. New York: Brace and world.

Tyler. L. (1972). Basic principles of curriculum and instruction. Chicago : University of Chicago.

Unal, M. and Aral, N. (2014). An Investigation on The Effects of Experiment Based Education Program on Six Years Old’s Problem Solving Skills. Ted EGltim Ve Billm, 39(176), 279-291.