บริบทด้านเศรษฐกิจ และสังคม ของครัวเรือนสมาชิก สหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงบวกเต๋ย จำกัด

Main Article Content

พิมพ์ชนก สังข์แก้ว
นารินจง วงศ์อุต
เบญจวรรณ จันทร์แก้ว

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานบริบทด้านเศรษฐกิจและสังคมและศึกษาปัญหาอุปสรรคของการเพิ่มรายได้และโอกาสของครัวเรือนสมาชิกสหกรณ์โดยการเก็บข้อมูลจากสมาชิกสหกรณ์จำนวน 27 ราย โดยใช้แบบสำรวจในการเก็บรวบรวมข้อมูลนำมาวิเคราะห์โดยโปรแกรมสำเร็จรูปวิเคราะห์สถิติด้านสังคมศาสตร์วิเคราะห์โดยสถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการศึกษาพบว่า  สมาชิกโครงการหลวงบวกเต๋ยส่วนใหญ่เป็นชาวเขาเผ่าม้ง ประกอบอาชีพหลักคือทำสวนดอกกุหลาบ ระดับการศึกษาส่วนใหญ่จบการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีรายได้จากการขายดอกกุหลาบตลอดทั้งปี ส่งผลให้สมาชิกมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี กล่าวคือ มีความสามารถในการส่งลูกหลานได้รับการศึกษาที่ดี ไม่มีภาระหนี้สิน มีเพียงการผ่อนรถยนต์เพื่อใช้ในการขนส่งผลผลิตดอกกุหลาบเพื่อจำหน่ายเท่านั้น ซึ่งนอกจากจะส่งผลผลิตดอกกุหลาบให้แก่สหกรณ์แล้ว สมาชิกสหกรณ์ยังมีตลาดดอกกุหลาบอื่นๆ ได้แก่ 1.ตลาดวโรรส จังหวัดเชียงใหม่ 2.ปากคลองตลาดกรุงเทพมหานคร โดยจัดส่งผ่านบริษัทขนส่งต่างๆ และ 3.จำหน่ายผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อขายให้กับลูกค้ารายย่อยส่วนของบทบาทสหกรณ์ต่อสมาชิกมีดังนี้ คือ 1. เป็นแหล่งรับซื้อผลผลิตดอกกุหลาบของสมาชิก 2.เป็นแหล่งสินเชื่อปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ย สารเคมีทางการเกษตรให้แก่สมาชิกจากการสำรวจพบว่าสมาชิกสหกรณ์มีปริมาณผลผลิตดอกกุหลาบในแต่ละปีค่อนข้างมาก ทำให้สหกรณ์ไม่สามารถรับซื้อผลผลิตของสมาชิกได้ทั้งหมด และจำนวนสมาชิกที่ขอสินเชื่อมีเข้ามาเป็นจำนวนมาก สหกรณ์สามารถอนุมัติสินเชื่อได้เพียงพอกับความต้องการของสมาชิกในส่วนของปัญหาและอุปสรรคของการเพิ่มรายได้พบว่า ปัญหาภัยแล้งเป็นปัญหาหลัก รองลงมาคือการขาดข้อมูลข่าวสารความรู้ในการพัฒนาการประกอบอาชีพและโอกาสของครัวเรือนพบว่ามีการขยายโอกาสในการการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของชุมชน เกิดการส่งเสริมอาชีพจากภาครัฐทั้งการผลิตและเงินทุน  และโอกาสทางการศึกษา สาธารณสุขและสังคม

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

พิมพ์ชนก สังข์แก้ว, คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

อาจารย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

นารินจง วงศ์อุต, คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ผู้ช่วยนักวิจัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

เบญจวรรณ จันทร์แก้ว, คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ผู้ช่วยนักวิจัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

References

คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2548).รายงานฉบับสมบูรณ์ สภาวะเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง ปี พ.ศ.2548. หน้า 19-25.

มูลนิธิโครงการหลวง. (2555).ข้อมูลองค์กร.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก : http://www.royalprojectthailand.com/about. (วันที่ค้นข้อมูล25 สิงหาคม 2559).

รังสรรค์ เครือคำ. (2554).การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการพัฒนาการเกษตรยั่งยืนบนพื้นที่สูงในโครงการหลวงจังหวัดเชียงใหม่.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและพัฒนาชนบท บัณฑิตวิทยา ลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมศักดิ์ สายพิณ. (2551). การพัฒนาสหกรณ์การเกษตรโครงการหลวง กรณีศึกษาเชิงเปรียบเทียบระหว่างสหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงดอยอินทนนท์ และสหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงตีนตก.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่. (2555). รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2555.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก: http://webhost.cpd.go.th/cmcoop/download/report%202555/13.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล 14 กันยายน 2559).

หนังสือพิมพ์บ้านเมือง. (2558).การพัฒนาสหกรณ์ในพื้นที่โครงการหลวง 51 แห่ง.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก: http://www.banmuang.co.th/news/bangkok/34244.(วันที่ค้นข้อมูล2 กันยายน 2559).