ปัญหาการกำหนดความรับผิดของผู้ประกอบการ ในกรณีความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าไม่ปลอดภัย

Main Article Content

นรบดี ปัญญุเบกษา
สุรพล ศรีวิทยา

บทคัดย่อ

ประเทศไทยเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ตระหนักถึงปัญหาความไม่ปลอดภัยของสินค้าจึงได้บัญญัติ พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความคุ้มครองผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย ทั้งยังนำหลักค่าเสียหายเชิงลงโทษ (punitive damage) มาบัญญัติไว้ในมาตรา 11 แต่อย่างไรก็ตาม กฎหมายฉบับนี้ได้กำหนดให้ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษต่อผู้ประกอบการไว้เพียงไม่เกิน 2 เท่าจากค่าเสียหายที่แท้จริง จึงส่งผลให้หลักการนี้ไม่สามารถใช้ได้ผลดีนักกับผู้ประกอบการที่มีกิจการขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ที่มีเงินทุนในธุรกิจจำนวนมาก จึงเห็นควรที่จะให้มีการปรังปรุงแก้ไขกฎหมายในส่วนนี้ เพื่อให้หลักค่าเสียหายเชิงโทษสามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพกับผู้ประกอบการในทุกๆระดับ  นอกจากนี้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของประเทศไทยในปัจจุบันมีการขยายตัวเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในเมืองหลวง และหัวเมืองเศรษฐกิจที่สำคัญต่างๆ ของประเทศไทย แต่ทว่าอสังหาริมทรัพย์ไม่ได้อยู่ขอบเขตของคำว่า “สินค้า” ตามที่พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 มาตรา 4 ได้บัญญัติไว้ ด้วยเหตุนี้จึงเห็นควรที่บัญญัติเพิ่มอสังหาริมทรัพย์เข้าไปในความหมายของบทนิยามนี้ด้วย เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความคุ้มครองจากการซื้อสินค้าที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

นรบดี ปัญญุเบกษา, หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต

นิสิตปริญญาโท หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต

สุรพล ศรีวิทยา, สูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต

ผู้อำนวยการหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต

References

มานิตย์ จุมปา. (2554). คำอธิบายกฎหมายความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าไม่ปลอดภัย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศักดา ธนิตกุล. (2553). กฎหมายความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย.กรุงเทพมหานคร: บริษัทสำนักพิมพ์วิญญูชน.

สุษม ศุภนิตย์. (2544). คำอธิบายกฎหมายความรับผิดในผลิตภัณฑ์. กรุงเทพมหานคร : บริษัทสำนักพิมพ์วิญญูชนจำกัด.