การศึกษาคุณลักษณะของครูผู้สอนนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษที่เรียนร่วมกับนักเรียนปกติ ระดับประถมศึกษา จังหวัดชลบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของครูผู้สอนนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษที่เรียนร่วมกับนักเรียนปกติ ระดับประถมศึกษา ตามความต้องการของครูผู้สอนและผู้ปกครอง 2) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน คุณลักษณะของครูผู้สอนนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษที่เรียนร่วมกับนักเรียนปกติ ระดับประถมศึกษา และ 3) สร้าง/พัฒนาแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของครูผู้สอนนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษเรียนที่เรียนร่วมกับนักเรียนปกติ ระดับประถมศึกษาการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานระหว่างวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยกลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มตัวอย่างวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ได้แก่ ครูผู้สอนนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษเรียนร่วมกับนักเรียนปกติ จำนวน 228 คน ผู้ปกครองนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ จำนวน 153 คน และ ผู้ปกครองนักเรียนปกติที่เรียนร่วมกับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษจำนวน 188 คน รวมทั้งสิ้น 569 คน กลุ่มที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 10 คน ได้แก่ ครูผู้สอนนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษเรียนร่วมกับนักเรียนปกติ จำนวน 4 คน และ ผู้ปกครองนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ เป็นแบบสอบถามคุณลักษณะของครูผู้สอนนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษที่เรียนร่วมกับนักเรียนปกติระดับประถมศึกษาแบบสอบถามประกอบไปด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบด้านคุณธรรมจริยธรรมองค์ประกอบด้านบุคลิกภาพและอารมณ์องค์ประกอบด้านการจัดการเรียนการสอน องค์ประกอบด้านความรู้ความสามารถ และ องค์ประกอบด้านความสำเร็จของการเรียนร่วม โดยมีค่าความเชื่อมั่นรวมทั้งฉบับ มีค่า 0.96 และมีค่าอำนาจจำแนก รวมทั้งฉบับ อยู่ระหว่าง 0.26-0.78 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ โดยใช้สถิติพื้นฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรสังเกตได้ และใช้โปรแกรม Lisrel 8.72 วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1. คุณลักษณะของครูผู้สอนนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษที่เรียนร่วมกับนักเรียนปกติ ระดับประถมศึกษา ตามความต้องการของครูผู้สอนและผู้ปกครอง มี 5 องค์ประกอบ 54 ตัวแปรสังเกตได้ ประกอบด้วย 1)องค์ประกอบด้านคุณธรรมจริยธรรม ตัวแปรสังเกตได้ ที่มีค่ามากที่สุด คือ เป็นแบบอย่างที่ดีต่อศิษย์และสังคม 2)องค์ประกอบด้านบุคลิกภาพและอารมณ์ ตัวแปรสังเกตได้ที่มีค่ามากที่สุด คือ สามารถควบคุมอารมณ์ในสถานการณ์ที่กดดันเมื่อทำงานกับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ อยู่ในระดับมากที่สุด 3) องค์ประกอบด้านจัดการเรียนการสอน ตัวแปรสังเกตได้ที่มีค่ามากที่สุด คือ มีความตั้งใจในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน 4) องค์ประกอบด้านความรู้ความสามารถ ตัวแปรสังเกตได้ที่มีค่ามากที่สุด คือ มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้แก่นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ 5) องค์ประกอบด้านความสำเร็จในการเรียนร่วม ตัวแปรสังเกตได้ที่มีค่ามากที่สุด คือสามารถทำให้นักเรียนปกติไม่ดูหมิ่นหรือเยาะเย้ย นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษได้
2. โมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองของคุณลักษณะของครูผู้สอนนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษที่เรียนร่วมกับนักเรียนปกติ ระดับประถมศึกษา พบว่า โมเดลประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 54 ตัวแปรสังเกตได้ ได้แก่ 1) องค์ประกอบด้านคุณธรรมจริยธรรม 2) องค์ประกอบด้านบุคลิกภาพและอารมณ์ 3) องค์ประกอบด้านจัดการเรียนการสอน 4) องค์ประกอบด้านความรู้ความสามารถและ 5) องค์ประกอบด้านความสำเร็จในการเรียนร่วม โดยโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ อยู่ในเกณฑ์ดี ผลการทดสอบ ค่าไค-สแควร์ ( x2) มีค่าเท่ากับ2207.74 ค่า p-value มีค่าเท่ากับ 0.00000 ที่องศาอิสระ (df) เท่ากับ 1259 ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (x2 / df ) มีค่าเท่ากับ 1.75 ดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 1.00 ค่าดัชนีรากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนของการประมาณค่า (RMSEA) มีค่าเท่ากับ 0.036
3. แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของครูผู้สอนนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษเรียนที่เรียนร่วมกับนักเรียนปกติ ระดับประถมศึกษา มีดังนี้ 1) สถาบันผลิตครู ควรสร้างความตระหนักและปลูกฝังค่านิยมในการทำงานด้วยความรัก และมีความสุขกับการจัดการเรียนการสอนแบบเรียนร่วม อีกทั้งควรมีหลักสูตรด้านการศึกษาพิเศษที่มีประสิทธิภาพ ให้กับนิสิต/นักศึกษาครูทุกสาขา และควรส่งเสริมให้มีการผลิตครูด้านการศึกษาพิเศษโดยเฉพาะมากขึ้น 2) ด้านโรงเรียนที่ครูผู้สอนทำการสอน ผู้บริหารควรให้การสนับสนุนการจัดอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการเรียนการสอนแบบเรียนร่วม และให้ความเข้าใจถึงเป้าหมายของความสำเร็จของการเรียนร่วม ให้กับครูทั้งโรงเรียน พร้อมทั้งสนับสนุน สร้างขวัญ กำลังใจให้กับครูที่สอนการเรียนร่วม โดยการพิจารณาภาระงานหรือขั้น หรือเงินสนับสนุน 3) ควรสร้างความตระหนักและส่งเสริมครูผู้สอนให้เกิดการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบเรียนร่วม เช่น จัดอบรมให้ความรู้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายส่งไปศึกษาดูงานมีการนิเทศติดตาม ให้คำชมเชย ยกย่อง หรือรางวัลแก่ครูผู้เป็นแบบอย่างที่ดีในด้านการสอนแบบเรียนร่วม พร้อมทั้งพัฒนาระบบการทำเอกสารแผนการสอน เอกสารการของบประมาณให้สะดวกมากขึ้น
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
References
กลุ่มงานการศึกษาพิเศษ สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต. (2557). คู่มือแนวทางการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงสร้างซีทสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนร่วมในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://rajanukul.go.th/main/_admin/images/downloadlist/D0000152.pdf (วันที่ค้นข้อมูล : 20 ธันวาคม 2559)
ประสาน ธัญญะชาติและ พิสุทธิ์ การบุญ. (2553). คุณลักษณะครูดนตรีที่พึงประสงค์ในทัศนะของ บุคคลกรทางการศึกษาระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดจันทบุรี. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภูฟ้า เสวกพันธ์. (2555). การจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมทฤษฎีและแนวปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยุทธ ไกยวรรณ์. (2556). การวิเคราะห์สถิติหลายตัวแปรสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ: บริษัทวี.พริ้นท์ (1991)จำกัด.
วรรณี เจตจำนงนุชและคณะ. (2555). รายงานการวิจัยเรื่องมาตรฐานวิชาชีพครูการศึกษาพิเศษ.พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงทพฯ: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.
สมใจ พิมพ์ภา. (2553). การพัฒนาศักยภาพครูในการจัดากรเรียนร่วมของเด็กพิเศษในโรงเรียนบ้านท่าบ่อ (บ่อศรีรัตนอำนวย)สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). คู่มือการปฏิบัติงานข้าราชการครู. โรงพิมพ์ชุมชนการเกษตรแห่ง ประเทศไทย. กรุงทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
สุเทพ ธรรมะตระกูล. (2555). การศึกษาคุณลักษณะของครูยุคใหม่.ทุนวิจัย, คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชบูรณ์.
เสาวภาคย์ ยังเหม็น. (2553). คุณลักษณะของพี่เลี้ยงเด็กพิการโครงการคืนครูให้นักเรียนกรณีจัดจ้างพี่เลี้ยงเด็กพิการในโณงเรียนเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการศึกษาพิเศษมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
Robert C. MacCallum and Keith F. Widaman. (1999). Sample size in Factor Analysis. Psychological Methods.Vol.4, No.84-99.