ระดับทักษะกีฬาฟุตบอลของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ปีการศึกษา 2558
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อทราบระดับทักษะฟุตบอล ของนักศึกษาสาวิชาพลศึกษา ปีการศึกษา 2558 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา ที่ผ่านการเรียนวิชาฟุตบอลมาแล้ว ได้มาโดยการสุ่มแบบง่ายด้วยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบทักษะฟุตบอลของ ณัฐวุฒิ ปล้องเจริญ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด
ผลการวิจัยมีดังนี้ 1)ทักษะการเดาะบอล มีค่าเฉลี่ยทางคณิต 53.98 ครั้ง ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 18.97 ครั้งค่ามัธยฐาน 55.5 ครั้ง ค่าฐานนิยม 62 ครั้ง ค่าสูงสุด 88 ครั้ง และค่าต่ำสุด 20 ครั้ง 2)ทักษะเตะบอลกระทบฝาผนัง มีค่าเฉลี่ยทางคณิต 11.59 ครั้ง ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.40 ครั้ง ค่ามัธยฐาน 11 ครั้ง ค่าฐานนิยม 10 ครั้ง ค่าสูงสุด 20 ครั้ง และค่าต่ำสุด 6 ครั้ง 3)ทักษะการโหม่งบอล มีค่าเฉลี่ยทางคณิต 9.22 ครั้ง ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.48 ครั้ง ค่ามัธยฐาน 10 ครั้ง ค่าฐานนิยม 10 ครั้ง ค่าสูงสุด 17 ครั้ง และค่าต่ำสุด 5 ครั้ง 4)ทักษะการเตะบอลโด่ง มีค่าเฉลี่ยทางคณิต 12.43 ครั้ง ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.45 ครั้ง ค่ามัธยฐาน 13 ครั้ง ค่าฐานนิยม 13 ครั้ง ค่าสูงสุด 17 ครั้ง และค่าต่ำสุด 7 ครั้ง 5) ทักษะการเลี้ยงบอล มีค่าเฉลี่ยทางคณิต 18.89 วินาที ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.17 วินาที ค่ามัธยฐาน 17.95 วินาที ค่าฐานนิยม 17.03 วินาที ค่าสูงสุด 30.33 วินาที และค่าต่ำสุด 13.5 วินาที 6)ทักษะการยิงประตู มีค่าเฉลี่ยทางคณิต 10.71 ครั้ง ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.54 ครั้งค่ามัธยฐาน 11 ครั้ง ค่าฐานนิยม 11 ครั้ง ค่าสูงสุด 16 ครั้ง และค่าต่ำสุด 5 ครั้ง
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
References
มงคล แฝงสาเคน. (2545). การฝึกฟุตบอล.กรุงเทพฯ : โอ. เอส. พริ้นติ้งเฮาส์.
สุเมธ อัครพงศ์. (2541). การศึกษาระดับทักษะฟุตบอลของนักกีฬาเยาวชนแห่งชาติครั้งที่ 13. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร(สำเนา).
วิริยา บุญชัย. (2529). การทดสอบและวัดผลทางพลศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.
ณัฐวุฒิ ปล้องเจริญ. (2547). การสร้างแบบทดสอบทักษะกีฬาฟุตบอลสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (พลศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Johnson, Barry L. and Jack K. Nelson. (1974). Basic Concepts I test and Measurement for Evaluation in Physical education. Minesota : Burgess Publishing Company.
Pape, Tom A. and Louis E. Means. (1963). “The Princple of Evaluation”, Aprofessional Career in Physical Education. New Jersey : Prentice-Hall, Inc.