การพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อสนับสนุนการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ชุติมา นิ่มนวล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อศึกษากระบวนการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน และ 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สนับสนุนผลิตภัณฑ์ชุมชน  ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้จากการสัมภาษณ์  สังเกตแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือ  หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชนจังหวัด  เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนจังหวัดและอำเภอพระนครศรีอยุธยา  เจ้าหน้าที่อุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  พาณิชย์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  และผู้ประกอบการกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชน สรุปได้ดังนี้


  1. ข้อมูลกระบวนการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

                1.1 กระบวนการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน เป็นการขายเอง สถานที่จัดจำหน่ายทั่วไป ณ ที่ทำการของกลุ่มแต่ละอำเภอ ร้านค้าโอทอป ที่ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ทั้งที่ใกล้เคียงและมีผู้มารับไปจำหน่ายตลาดหลายแห่ง รวมทั้งออกงานที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาจัดขึ้น เช่น งานมรดกโลก งานโอทอปของพัฒนาชุมชน เป็นต้น


                1.2 รูปแบบการจัดจำหน่ายส่วนใหญ่ลูกค้ามาซื้อ และรับของด้วยตนเอง หรือโทรศัพท์มาสั่งซื้อและมารับของเอง การจัดจำหน่ายเป็นการขายส่ง การปลีก นายหน้า ตัวแทนมารับไปจำหน่าย และผู้บริโภคทั่วไป


    1.3 กลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์ชุมชนโอทอป  ส่วนใหญ่เจ้าของคนเดียว และเป็นผู้ประกอบการรายเดียว  กลุ่มร้านค้าที่ให้ความร่วมมือคือ กลุ่มมาตรฐานที่กลุ่มได้รับ รางวัลชนะเลิศ การประกวดสานตะกร้าจากเส้นพลาสติก งานส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าโอทอป  รางวัลสินค้า 4 ดาว จากระดับประเทศ รางวัลสินค้า 5 ดาว และ 3 ดาว จากพัฒนาชุมชนจังหวัด


    1.4 หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน  พัฒนาชุมชนจังหวัด  แรงงานจังหวัด และสำนักงานองค์การค้าภายในได้รับการสนับสนุนด้านสถานที่ขาย และฝึกอบรมการทำบรรจุภัณฑ์


    1.5 ปัญหาการจัดจำหน่ายที่กลุ่มต้องการปรับปรุงมากที่สุดคือ การจัดตั้งศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เป็นมาตรฐานในการจัดจำหน่ายทางเว็บไซต์


  1. การออกแบบและพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มช่องทางการขายและบริการให้กับชุมชนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

    การออกแบบและพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ด้วยภาษา PHP โดย Dreamweaver cs5 เป็นส่วนที่ช่วยในการออกแบบและพัฒนา ซึ่งประกอบด้วยส่วนของหน้าหลัก มีประเภทของสินค้า อำเภอ สมัครสมาชิก ตะกร้าสินค้า แจ้งการชำระเงิน และสถานที่ติดต่อ  ส่วนประเภทของสินค้า ซึ่งประกอบด้วย อาหาร เครื่องดื่ม เครื่องแต่งกาย ของใช้เครื่องประดับ และสมุนไพร การสมัครสมาชิก ประกอบด้วย Login Username Password E-mail ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทร ส่วนการสั่งซื้อ ประกอบด้วยเมนูตะกร้าสินค้า รหัสสินค้า ชื่อสินค้า ราคาต่อหน่วย จำนวน ราคารวม ส่วนการชำระเงิน ก็ประกอบด้วยบัญชีธนาคาร เลขที่บัญชี และแจ้งการชำระเงิน

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ชุติมา นิ่มนวล, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

อาจารย์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

References

กิตติเดช ปัจจุสมัย. (2547). การขายสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ผ่านระบบเครือข่าย Internet.

กรรณิการ์ สวรรค์โพธิพันธ์. (2550). ออกแบบเว็บให้น่าใช้ Designing Web Usability. สำนักพิมพ์เคทีพี.

กิตติ ภักดีวัฒนะกุล และทวีศักด์ กาญจนสุวรรณ. (2547). คัมภีร์ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. สำนักพิมพ์เคทีพี.

กิตติ ภักดีวัฒนะกุล และพนิดา พานิชกุล. (2546). คัมภีร์ การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. สำนักพิมพ์เคทีพี.

พิษณ สุขเสริฐ. (2551). พัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสนับสนุนการขายของร้านไม้เงินไม้ทอง.

พิทยา การเร็ว. (2552). พัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประกาศขายรถยนต์มือสอง กรณีศึกษาจังหวัดเชียงราย.

ทวีศักดิ์ กาญจนสุวรรณ. (2552). พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce). สำนักพิมพ์ เคทีพี

ธนพัฒน์ วัฒนชัยธรรม. และวัฒนาพร วัฒนชัยธรรม. (2550). ระบบศูนย์กลางข้อมูลสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ จังหวัดนครสวรรค์บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต.

วรรณภา สุโภชน์. (2550). ปัจจัยความสำเร็จในการทำพาณิชอิเล็กทรอนิกส์ กรณีศึกษา ธุรกิจออนไลน์ในกลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่น.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2544). ว่าด้วยคณะกรรมการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์. ประกาศ ณ วันที่ 7 กันยายน 2544.

Turban, King and Team. (2008.). Electronic Commerce2008 (A Managerial Perspective), Pearson Prentice Hall.

Pourshaid, Alireza and Thomas Tran, trans. (2007). A Visualization Approach for Modeling Trust in E-commerce. Canada : University of Ottawa.

Patel, Kuntalkumar P., trans. (2006). Decision Support System Based E-commerce Model and It’s Functioning. India : Nirma University.

Bai, Ying, Jianfeng Cai and Yongbo Qian, trans. (2006). E-commerce Model Based on Sustainable Competitiveness. China : Northwestern Polytechnical University.