การใช้สื่อการแสดงพื้นบ้านเพื่อการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุในยุคดิจิทัล

Main Article Content

เมธาวี จำเนียร
กรกฎ จำเนียร
เมธี แก้วสนิท

บทคัดย่อ

การละเล่นพื้นบ้านสมัยก่อนส่วนใหญ่ได้ปรับเปลี่ยนบทบาทมาเป็นสื่อการแสดงพื้นบ้านเพื่อใช้แสดงในโอกาสต่าง ๆ ซึ่งสื่อการแสดงพื้นบ้านบางประเภทสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการออกกำลังกายส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุในชุมชนได้ อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อจำกัดต่าง ๆ เช่น ในด้านงบประมาณการจัดกิจกรรม ด้านเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงพื้นบ้าน การเกิดโรคระบาดโควิด-19 ฯลฯ ทำให้การออกกำลังกายส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุในชุมชนด้วยสื่อดังกล่าวไม่มีความต่อเนื่องเป็นรูปธรรม การผลิตสื่อการแสดงพื้นบ้านในรูปแบบดิจิทัลจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว เนื่องจากสื่อดิจิทัลสามารถใช้งานได้สะดวก ใช้ในการออกกำลังกายได้ทุกสถานที่และทุกสถานการณ์ บทความนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อชี้ให้เห็นแนวทางการนำสื่อการแสดงพื้นบ้านมาการส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุด้วยการออกกำลังกาย การปรับเปลี่ยนรูปแบบสื่อการแสดงพื้นบ้านมาอยู่ในรูปแบบสื่อดิจิทัลเพื่อนำมาประยุกต์กับการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ และกลยุทธ์การผลิตสื่อการแสดงพื้นบ้านในรูปแบบดิจิทัลเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อผู้สูงอายุ ซึ่งในการผลิตสื่อการแสดงพื้นบ้านในรูปแบบดิจิทัลอย่างมีกลยุทธ์จะต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุตั้งแต่การวางแผนจนถึงการประเมินผล การเข้ากันได้กับวัฒนธรรมดั้งเดิม การเข้าถึงกลุ่มผู้สูงอายุ มีการสื่อสารแบบสองทาง การเผยแพร่สม่ำเสมอ การสาธิตให้ผู้สูงอายุดู และการให้ผู้สูงอายุได้มีโอกาสทดลองออกกำลังกาย

Article Details

บท
บทความวิชาการ
Author Biographies

กรกฎ จำเนียร, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

เมธี แก้วสนิท, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

อาจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

References

ชวน เพชรแก้ว เด่นดวง พุ่มศิริ ธิดา โมสิกรัตน์ ปรียา หิรัญประดิษฐ์ สุกัญญา ภัทรชัย จาตุรงค์ มนตรีศาสตร์ และธีรยุทธ ยวงศรี. (2542). หน่วยที่ 11 การแสดงพื้นบ้านภาคต่าง ๆ ใน เอกสารการสอนชุดวิชาศิลปะการละเล่นและการแสดงพื้นบ้านของไทย หน่วยที่ 9-15. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ญาดา จุลเสวก ระวิวรรณ วรรณวิไชย และสุมมรตรี นิ่มเนติพันธ์. (2561, มกราคม-มิถุนายน). การพัฒนากิจกรรมฟ้อนไทยพวนบำบัด ด้วยหลักการแอโรบิกเพื่อแก้ปัญหาของผู้สูงอายุที่มีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะมหาวิทยาลัยศรีนรินทรวิโรฒ, 19(2), 180-192.

ดนยา สุเวทเวทิน. (2560). กลองยาวสร้างสุขของผู้สูงอายุบ้านบ่อล้อ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:http://www.thaihealth.or.th/Content/36789-กลองยาวสร้างสุขของผู้สูงอายุบ้านบ่อล้อ.html.(วันที่ค้นข้อมูล: 12 ตุลาคม 2562).

ทิติภา ศรีสมัย เสาวนีย์ นาคมะเริง พลลพัฏฐ์ ยงฤทธิปกรณ์ วัณทนา ศิริธราธิวัตร ภารดี เอื้อวิชญาแพทย์กิตติศักดิ์ สวรรยาวิสุทธิ์ และทวีศักดิ์ จรรยาเจริญ. (2560). ผลของการออกกำลังกายด้วยรำมวยโบราณประยุกต์ต่อสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุชาวไทย: การศึกษานำร่อง. จุฬาลงกรณ์เวชสาร, 61(6), 745–755.

ปรียา หิรัญประดิษฐ์. (2542). หน่วยที่ 1 ศิลปะ การละเล่นและการแสดงพื้นบ้านในสังคมไทย ใน เอกสารการสอนชุดวิชา ศิลปะ การละเล่นและการแสดงพื้นบ้านของไทย หน่วยที่ 1-8. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ: ประชาชน.

พัชรา เอี่ยมกิจการ. (2560). หน่วยที่ 11 การผลิตสื่อใหม่เพื่อการพัฒนาชุมชน ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการวางแผน การออกแบบ และการผลิตสื่อชุมชน หน่วยที่ 9-15. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัย-ธรรมาธิราช.

เรณู โกศินานนท์. (2540). การแสดงพื้นบ้านในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.วรรณรัตน์ รัตนวรางค์. (2558, มกราคม). พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อหาข้อมูลสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 7(1), 169-185.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:http://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422. (วันที่ค้นข้อมูล: 12 ตุลาคม 2562).

สำราญ ผลดี. (2561). ไทยศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

หทัยรัตน์ เหล็กกล้า. (2550). การศึกษาองค์ความรู้จากวิทยานิพนธ์. (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะนิเทศศาสตร์, สาขาวิชานิเทศศาสตร์พัฒนาการ.

เหมือนฝัน ไม่สูญผล. (2557). กระบวนการสื่อสารสุขภาพในบริบทการแพทย์แผนไทย. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก: http://libdoc.dpu.ac.th/thesis/157343.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล: 12 ตุลาคม 2562).

Rimal, R. N. & Lapinski, M. K. (2009). Why health communication is important in publichealth. [Online]. Available from: http://www.who.int/bulletin/volumes/87/4/08- 056713/en/. (accessed: 2019, October 12).

Rodman, G. (2010). Mass media in a changing world: History industry controversy. 3rd ed. The New York: McGraw-Hill.