การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความความคิดเห็นของนักศึกษาปฐมวัย ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบสะเต็มศึกษา (STEM)

Main Article Content

วิชญาพร อ่อนปุย

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยทั้งก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบสะเต็มศึกษา (STEM) และศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบสะเต็มศึกษา (STEM) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการ ศึกษาครั้งนี้ เป็นนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยที่ศึกษารายวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ชั้นปีที่ 4 ห้อง 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการจัดกิจกรรม คือ 1) แผนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบสะเต็มศึกษา (STEM)  2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบประเมินความความคิดเห็น มีค่าความเชื่อมั่น = 0.75 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย t-test Dependent ผลพบว่า


  1. การจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบสะเต็มศึกษา (STEM) โดยภาพรวมหลังการจัดการเรียนการสอนมีคะแนน โดยภาพรวมสูงขึ้นทุกด้าน สามารถอธิบายได้ ดังนี้

               1.1   ผลคะแนนด้านการเขียนแผนบูรณาการสะเต็ม พบว่าหลังเรียนสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนการสอนที่ใช้รูปแบบสะเต็มศึกษา (STEM) โดยมีคะแนน ( x̄ = 2.00, S.D. = 0.67) หลังการจัดการเรียนการสอน  มีคะแนนสูงขึ้น ( x̄ = 4.43 , S.D. = 0.69) ส่งผลให้นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ด้านการเขียนแผนบูรณาการสะเต็มสูงขึ้นซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐานการวิจัยอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05


              1.2   ผลคะแนนด้านเนื้อหา ก่อนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบสะเต็มศึกษา (STEM) พบว่า   มีคะแนน ( x̄ = 9.40, S.D = 2.17) หลังการจัดการเรียนการสอน มีคะแนน ( x̄ = 14.68, S.D. = 2.29) ส่งผลให้นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ด้านเนื้อหาสูงขึ้นซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐานการวิจัยอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 


               1.3   นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยหลังได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบสะเต็มศึกษา (STEM) มีความความคิดเห็นโดยภาพรวม มีคะแนน ( x̄ = 4.49, S.D. = 0.32) อยู่ในระดับมาก ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

วิชญาพร อ่อนปุย, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

อาจารย์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

References

จำรัส อินทลาภาพร. (2558). การศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาสำหรับผู้เรียนระดับประถมศึกษา. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 8(1), 62-74.

พันธุ์ทิพย์ ทิมสุกใส .(2558). การถอดประสบการณ์ “การจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคสะเต็มศึกษา”.เอกสารประกอบการอบรม ในวันที่ 4-5 มิถุนายน พ.ศ. 2558, ณ ห้องประชุมสร้อยสุวรรณา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

พรรณี ชาญประเสริฐ. (2557). สะเต็มศึกษากับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ พ.ศ.2555-2559 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2558).

ภัสสร ติดมา. (2558). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เรื่องระบบร่างกายมนุษย์ ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมตามแนวทางสะเต็มศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2552). การคิดวิเคราะห์ เล่ม 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ 9119 เทคนิค พริ้นติ้ง.

อดุลย์ วังศรีคูณ. (2557). การศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21 : ผลผลิตและแนวทางการพัฒนา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 8(1), 1.

อับดุลยามีน หะยีขาเดร์. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.