แนวทางการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน 2) เปรียบเทียบระดับองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนจำแนกตามขนาดโรงเรียนของข้าราชการครู และ3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน ประชากรที่ใช้ ได้แก่ โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 จำนวน 67 โรงเรียน โดยผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ข้าราชการครูจำนวน 390 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบใช้หลักความน่าจะเป็นแบบแบ่งชั้นภูมิ กำหนดชั้นภูมิเป็นขนาดของโรงเรียนและผู้อำนวยการโรงเรียนจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่าของลิเคิร์ท 5 ระดับที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.979 และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลและแปลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนโดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก ลำดับแรก ด้านรูปแบบทางความคิด รองลงมา ด้านการคิดเชิงระบบ และด้านการเรียนรู้เพื่อเพิ่มความสามารถส่วนตน ตามลำดับ 2) ข้าราชการครูที่อยู่ในโรงเรียนขนาดต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนโดยภาพรวม ด้านการเรียนรู้เพื่อเพิ่มความสามารถส่วนตน ด้านรูปแบบทางความคิด ด้านการเรียนรู้เป็นทีมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยข้าราชการครูที่อยู่โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษมีความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสูงกว่าข้าราชการครูที่อยู่โรงเรียนขนาดกลางและเล็ก และ 3) แนวทางการการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน ได้แก่ การพัฒนาการเรียนรู้เพิ่มศักยภาพของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และการพัฒนาระบบบริหารจัดการโรงเรียนสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ การวิจัยครั้งนี้ก่อให้เกิดองค์ความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะด้านรูปแบบทางความคิด ด้านการคิดเชิงระบบ และด้านการเรียนรู้เพื่อเพิ่มความสามารถส่วนตนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ อันส่งผลให้โรงเรียนเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
References
กฤษดา ชาญรบ. (2556). ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
เข็มทอง ศิริแสงเลิศ. (2561). การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. เอกสารการสอน ชุดวิชา23728 นวัตกรรมการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
จุฑาทิพย์ ชัยบัณฑิต. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาเขต 16.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
จุติพร เวฬุวรรณ. (2559). การพัฒนาแนวทางความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 6(1), 41-47.
ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2549). องค์กรแห่งความรู้ : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: รัตนไตร.
ธัญณัช สีขาว. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างองค์การแห่งการเรียนรู้กับระสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
ปัฐมพงศ์ รัตนโกศัย. (2559 ). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ : ศึกษากรณีโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดพัทลุง. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมเกียรติ บาลลา. (2554). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา อำเภอเมืองปทุมธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สมถวิล ศิลปคนธรรพ์. (2556). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาใหม่ 2552-2555. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สายรุ้ง เฟื่องสินธุ์. (2556). การพัฒนาโรงเรียนให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ของโรงเรียนในสำนักงานเขตจอมทองสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. (2561). สารสนเทศสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.sesao1.go.th/ (วันที่ค้นข้อมูล: 15 ตุลาคม 2561)
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 - 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
Senge, P. M. (1990). The fifth disciplines: the art and practice of learning organization. London:Century Business.
Senge, P. M. (2000). School That Learn. Newyork: Doubleoday.