การส่งเสริมการตระหนักเรียนรู้ในวัฒนธรรมและภูมิปัญญาในจังหวัดเพชรบูรณ์ กรณีศึกษา หอภูมิปัญญาและวิถีชาวบ้านเพชรบูรณ์

Main Article Content

ชาญชัย สุขสกุล
อัจฉรา กลิ่นจันทร์
ปิยะนุช พรหมประเสริฐ

บทคัดย่อ

งานวิจัยการส่งเสริมการตระหนักเรียนรู้ในวัฒนธรรมและภูมิปัญญาในจังหวัดเพชรบูรณ์ กรณีศึกษาหอภูมิปัญญาและวิถีชาวบ้านเพชรบูรณ์ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพ สถานภาพของหอภูมิปัญญา และวิถีชาวบ้านเพชรบูรณ์และหาแนวทางส่งเสริมการตระหนักเรียนรู้ในวัฒนธรรมและภูมิปัญญาและวิถีชาวบ้านเพชรบูรณ์ วิธีวิจัยโดยการลงพื้นที่เพื่อศึกษาศักยภาพสถานภาพและสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักวิชาการด้านการสื่อสารการตลาด นักเรียน นักศึกษา ผู้นำหรือประชาชนในชุมชน


            จากการวิจัยพบว่า หอภูมิปัญญาและวิถีชาวบ้านเพชรบูรณ์เป็นศูนย์การเรียนรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิตคนเพชรบูรณ์ตั้งแต่อดีต มีการนำเสนอเรื่องราว 6 เรื่อง คือ ข้าว ข้าวโพด ยาสูบ มะขามหวาน แม่น้ำป่าสัก และชีวิตในป่าบนเขา งานวิจัยได้แนวทางการส่งเสริม คือ กำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน กำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนว่าต้องการให้ความรู้ ความตระหนัก มีการกำหนดกิจกรรมต่าง ๆ ในด้านการประชาสัมพันธ์มีการใช้เครื่องมือสื่อสารที่ทันสมัยและมีความหลากหลาย

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ชาญชัย สุขสกุล, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

อาจารย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

อัจฉรา กลิ่นจันทร์, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

อาจารย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

ปิยะนุช พรหมประเสริฐ, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

อาจารย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

References

จารุภา กมลบูรณ์ และฐิติมา จิระมานิต. (2557, มกราคม – กุมภาพันธ์). สภาวการณ์ทางวัฒนธรรม. วารสารภูมิคุ้มกัน, 1(1), 23.

ธศร ยิ้มสงวน. (2557, มกราคม – กุมภาพันธ์). ข้อควรระวังในการใช้สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา. วารสารภูมิคุ้มกัน, 1(1), 20.

ประพันธ์ แสงทองดี. (2560, มกราคม – มีนาคม). การศึกษาการใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นของอำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 5(1), 40 – 44.

ภากมล รัตตเสรี. (2559, เมษายน). หญ้าแฝกที่เป็นมากกว่าหญ้า. วารสารมูลนิธิชัยพัฒนา, 2559(2), 24 – 33.

วณิฎา ศิริวรสกุล และวัชรินทร์ อินทพรหม. (2559, มกราคม – มิถุนายน). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์วัฒนธรรม กรณีศึกษาตำบลเกาะเกิด อำเภอบางปะอิน 11(1), 42 – 49.

วรภพ วงค์รอด. (2557, พฤษภาคม – สิงหาคม). แนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมของชุมชนวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 9(26), 13 – 28.

สุธีรา ลักขณาธร. (2559, เมษายน). เศรษฐกิจพอเพียง เข้าใจใหม่ ใช้ได้จริง. วารสารมูลนิธิชัยพัฒนา, 2559(2), 6 – 13.

สุภาวดี พร้อมพงษา และปัญชลี ด้วงเอียด. (2557, มกราคม – กุมภาพันธ์). "ยอสว." เยาวชนอาสาสมัครเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม. วารสารภูมิคุ้มกัน, 1(1), 32 – 48.

สุริยเดว ทรีปาตี พรรณนิภา สังข์ทอง และ สิริวิมล ศาลาจันทร์. (2557, มกราคม – กุมภาพันธ์). ต้นทุนชีวิตพลังบวก สู่การสร้างภูมิคุ้นกันทางวัฒนธรรม. วารสารภูมิคุ้มกัน, 1(1), 30 – 42.

อภิญญา ทองอินทร์ และสายรุ้ง ดินโคกสูง. (2558, กรกฎาคม – ธันวาคม). การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษา แหล่งโบราณคดีบ้านก้านเหลือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอิสเทิร์น, 12(2), 100 – 108.