แนวทางการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์เพื่อสร้างสุขภาวะชุมชนในเขตพื้นที่ เทศบาลตำบลนางั่ว อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

กิติยวดี สีดา
ใจสะคราญ จารึกสมาน
สัญห์สรรป์ศร ยมสีดา

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การทำเกษตรของชุมชน และ เพื่อศึกษา  แนวทางการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์เพื่อสร้างสุขภาวะชุมชนในเขตพื้นที่ เทศบาลตำบลนางั่ว อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยแบ่งเป็นผู้รู้ 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มเกษตรกรพื้นที่ตำบลนางั่วจำนวน 30 คน  2) กลุ่มผู้นำชุมชน ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน นายกเทศมนตรี สมาชิก สภาเทศบาล และ 3) กลุ่มนักวิชาการ ได้แก่ นักวิชาการด้านสาธารณสุข นักวิชาการเกษตร ครูการศึกษานอกโรงเรียน โดยมีขั้นตอนการวิจัย ดังนี้ ขั้นตอนที่หนึ่ง ศึกษาข้อมูลบริบทชุมชนด้านการทำเกษตรอินทรีย์  ด้วยการสัมภาษณ์และสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม ขั้นตอนที่สอง เชิญวิทยากรให้ความรู้กับเกษตรกร เรื่องเกษตรปลอดภัย เกษตรอินทรีย์ และสุขภาวะของชุมชน ขั้นตอนที่สาม ประชุมระดมสมองแบบมีส่วนร่วมด้วยเทคนิค การสนทนากลุ่ม และขั้นตอนที่สี่ สรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยสถานการณ์การทำเกษตร พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่   ทำนาเป็นหลัก รองลงมา คือ ยาสูบ ข้าวโพด พืชผัก พืชไร่ โดยเป็นการผลิตเพื่อการค้ามากกว่าการยังชีพและ ใช้สารเคมีอย่างเข้มข้น ผู้นำชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พยายามที่จะพัฒนาพื้นที่ตำบลนางั่วให้เป็นพื้นที่ ทำการเกษตรที่ปลอดภัยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมสุขภาพของเกษตรกรให้มีสุขภาพที่ดี แต่ยังพบว่า มีปัจจัยหลายประการที่เป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีการผลิตจากเกษตรเคมีเข้มข้นไปสู่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์


ผลการวิจัยแนวทางในการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ มีดังนี้ แนวทางที่ 1 การจัดการหนี้สินให้กับเกษตรกร อันเนื่องมาจากปัจจัยการติดพันธะสัญญากับนายทุนในการปลูกยาสูบ แนวทางที่ 2 การสนับสนุนการปลูกพืชกันชน แนวทางที่ 3 การให้ความรู้เกี่ยวกับเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์รวมถึงความรู้เรื่องเทคนิควิธีการผลิตแบบทันสมัย แนวทางที่ 4 การสร้างแหล่งเรียนรู้/แปลงสาธิต ให้กับเกษตรกรที่มีข้อจำกัดเรื่องที่ดิน และแนวทางที่ 5 สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการทำงาน เพื่อให้เกิดการสนับสนุนเกษตรกรอย่างจริงจัง


สำหรับข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป คือ การวิจัยเพื่อหาแนวทางร่วมกันระหว่าง เกษตรกร ผู้นำชุมชน และนักวิชาการ ให้เกิดการทำเกษตรแบบอินทรีย์ในชุมชนแบบเป็นรูปธรรม ส่งเสริมการสร้างเครือข่าย การเรียนรู้ และการพัฒนาพื้นที่สาธารณะในชุมชนให้เป็นตลาดสำหรับสินค้าเกษตรอินทรีย์

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

กิติยวดี สีดา, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

อาจารย์ประจำสาขาวิชาพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

ใจสะคราญ จารึกสมาน, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

อาจารย์ประจำสาขาวิชาพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

สัญห์สรรป์ศร ยมสีดา, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

อาจารย์ประจำสาขาวิชาพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

References

กิติยวดี สีดา. (2560). แนวทางการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์เพื่อสร้างสุขภาวะชุมชนในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลนางั่ว อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน. (2559). เกษตรอินทรีย์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.sathai.org/autopagev4. (วันที่ค้นข้อมูล : 22 สิงหาคม 2559).

วนิดา สุจริตธุระการ และจิตผกา ธนปัญญารัชวงศ์. (2553, มกราคม-มิถุนายน). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกรในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 4(1), 29-44.

วัลลภ พรหมทอง และคณะ. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจทำเกษตรทฤษฎีใหม่ของเกษตรกรในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. คณะเทคโนโลยีการเกษตร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ศูนย์เกษตรอินทรีย์กรีนเนท. (2557). แนวทางเกษตรอินทรีย์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.greennet.or.th/article/86. (วันที่ค้นข้อมูล : 20 กรกฎาคม 2558).

ศูนย์เกษตรอินทรีย์กรีนเนท. (2557). หลักการเกษตรอินทรีย์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.greennet.or.th/article/317. (วันที่ค้นข้อมูล : 20 สิงหาคม 2559).

สมโชค เฉตระการ. (2557). ปลูกกล้วยต้นไผ่และน้ำเต้า เพื่อเป็นแนวกันชนที่สวนอีสานล้านนา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://oknation.nationtv.tv/blog/somchoke101/2014/07/25/.(วันที่ค้นข้อมูล : 30 กันยายน 2559).