รูปแบบสถาปัตยกรรมสำหรับที่อยู่อาศัยของข้าราชการ กรณีศึกษากรมชลประทาน ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อหารูปแบบสไตล์สถาปัตยกรรมที่เหมาะสมสำหรับใช้กับที่พักอาศัยของหน่วยงานราชการ เพื่อวิเคราะห์ความชื่นชอบรูปแบบสถาปัตยกรรมรูปแบบต่าง ๆ ของข้าราชการกรมชลประทาน ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และหาข้อเสนอแนะในการพัฒนารูปแบบที่พักอาศัยของหน่วยงานราชการในปัจจุบัน การศึกษานี้อาศัยแนวคิดว่า ผู้พักอาศัยในที่พักของทางราชการที่มีปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน จะมีความชื่นชอบรูปแบบสไตล์สถาปัตยกรรมที่มีหลากหลายต่างกัน ผู้พักอาศัยสามารถพิจารณาจากทั้งสภาพรูปแบบภายนอกของอาคาร และสภาพรูปแบบภายในของอาคาร วิธีการศึกษาเป็นขั้นตอนจากการ คัดกรองรูปแบบสไตล์สถาปัตยกรรมที่เหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ได้รูปแบบสไตล์สถาปัตยกรรม 4 รูปแบบ สร้างรูปแบบสไตล์สถาปัตยกรรมทั้ง 4 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบไทย รูปแบบยุโรป รูปแบบโมเดิร์น และรูปแบบธรรมชาติ ประกอบแบบสอบถามความชื่นชอบรูปแบบสไตล์สถาปัตยกรรมของผู้พักอาศัยในบ้านพักของกรมชลประทานปากเกร็ด จำนวน 100 คน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS ในการวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากการศึกษาพบว่า ในภาพรวมผู้พักอาศัยส่วนใหญ่ ชื่นชอบรูปแบบสไตล์สถาปัตยกรรมรูปแบบโมเดิร์น มากที่สุด รองลงมามีความชื่นชอบรูปแบบธรรมชาติ รูปแบบสไตล์สถาปัตยกรรมสำหรับอาคารภายนอก ผู้พักอาศัยมีความชื่นชอบรูปแบบสไตล์สถาปัตยกรรมรูปแบบโมเดิร์นมากที่สุด รองลงมามีความชื่นชอบรูปแบบยุโรป และรูปแบบสถาปัตยกรรมอาคารภายใน พบว่าผู้พักอาศัยมีความชื่นชอบรูปแบบโมเดิร์นมากที่สุด รองลงมามีความชื่นชอบรูปแบบยุโรป สำหรับข้อเสนอแนะในการพัฒนาที่พักอาศัยของหน่วยงานราชการ ควรเลือกทำเลที่พักอาศัยที่อยู่ห่างไกลชุมชนมีความสงบ แต่สามารถเดินทางได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว และควรเลือกทำเลที่ตั้งอาคารที่พักอาศัยแบบมีความ ร่มรื่นเป็นธรรมชาติ
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
References
มหาวิทยาลัยมหิดล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์. (2559). โครงการศึกษาปรับปรุงภูมิสถาปัตยกรรม(Landscape) พื้นที่กรมชลประทาน ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. นนทบุรี: กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด. (2563). ค้นหาสไตล์บ้านในฝันกับแบบบ้านสวย 6 สไตล์ ที่ได้รับการออกแบบมาอย่างลงตัว. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.Scgbuildingmaterials.com/th/ideas/house-style/6-styles-of-dream-house. (วันที่ค้นข้อมูล: 28 กุมภาพันธ์ 2563).
ประทุม แยมสูงเนิน. (2558). ความพึงพอใจในการจัดสวัสดิการด้านที่อยู่อาศัยประเภทอาคารที่พัก อาศัยส่วนกลาง ข้าราชการกองทัพเรือ พื้นที่กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, สาขาวิชาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม.
พัฒน สุวรรณสัมฤทธิ์ และพิรานันท์ ยิ้มแฟน. (2563, กรกฎาคม-ธันวาคม). รูปแบบสถาปัตยกรรมสำหรับที่อยู่อาศัยของ เจ้าหน้าที่รัฐ กรณีศึกษากรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 12(2), 420-433.
สมาคมสถาปนิกสยาม และวิมลสิทธิ์ หรยางกูร. (2536). พัฒนาการแนวความคิดและรูปแบบของงาน สถาปัตยกรรม : อดีต ปัจจุบันและอนาคต. กรุงเทพฯ: สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์.
หนังสือพิมพ์โคราชคนอีสาน. (2561). ปีที่พิมพ์ 2561 ฉบับที่ 2533, ประจำวันที่ 26 ตุลาคม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://koratdaily.com/blog.php?id=8467. (วันที่ค้นข้อมูล: 18 กรกฎาคม 2561).
Jencks, Charles. (2011). The story of post-modernism : five decades of the ironic and critical in Architecture. West Sussex: John Wiley & Son Ltd.
Jencks, Charles and Kropf, Karl. (2006). Theories and manifestoes of contemporary architecture; Chichester. Wiley-Academy.
Likert, R. (1932). A technique for the Measurement of Attitudes. New York: New York University.
Tafuri, Manfredo. (1986.) Modern architecture. New York: Electa/Rizzoli.