การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาในโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล

Main Article Content

มณฑาทิพย์ ศิริสุมทุม
นัทนิชา หาสุนทรี

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาในโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลเพื่อศึกษาประสิทธิผลของสถานศึกษาในโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลและเพื่อศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาในโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล โดยทำการรวบรวมข้อมูลที่ได้รับจากแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างในการผู้บริหารสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลทั่วประเทศ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาในโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์มูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอนโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ประสิทธิผลของสถานศึกษาในโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาในโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลคือ ด้านการไว้วางใจซึ่งกันและกันในองค์การ ด้านการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และด้านการกระจายอำนาจในการบริหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายหรืออำนาจพยากรณ์ ได้ร้อยละ 40.00 (R2 = 0.400) สามารถเขียนเป็นรูปสมการวิเคราะห์การถดถอยได้ ดังนี้ สมการคะแนนดิบ Y ̂= 0.016 + 0.446(TD) + 0.265(TA)+ 0.225 (TB)

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

มณฑาทิพย์ ศิริสุมทุม, คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

นักศึกษาระดับปริญญาโท คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

นัทนิชา หาสุนทรี, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

References

กนกวรรณ โรจนอุทัย. (2550). การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมและภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผล ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์, บัณฑิตวิทยาลัย,สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.

กิตติ คําภูษา. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหาร โรงเรียนกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาบริหารการศึกษา.

จรัล ฟังเร็ว. (2558). คุณลักษณะที่เป็นจริงและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนราชประชานุเคราะห์กลุ่ม 6 ภาคเหนือตอนบน สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยพะเยา, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาบริหารการศึกษา.

จุฬาวรรณ สุวรรณศรี. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการบริหารงานกับประสิทธิผลโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.

ฉลาด จันทรสมบัติ. (2553, พฤษภาคม-สิงหาคม). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น. วารสารการบริหารและพัฒนา, 2(2), 175-189.

ชนกพร มนัส. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม,สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา.

ดวงแก้ว กอแก้ว (2543). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมความพึงพอใจในการปฏิบัติงานความผูกพันในองค์กรและเจตคติต่อองค์กร : กรณีศึกษา ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาบางกะปิ. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย,สาขาวิชารัฐศาสตร์.

ประไพ อุดมผล. (2554). การปฏิบัติงานของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.

วีรยุทธ แสงสิริวัฒน์. (2550). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด.(วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.

โศภิดา คล้ายหนองสรวง. (2558). การบริหารแบบมีส่วนร่วมทีส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะศึกษาศาสตร์, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). การแถลงข่าวผลการประเมิน PISA 2018.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://pisathailand.ipst.ac.th/news-12/. (วันที่ค้นข้อมูล: 27 มกราคม2563).

Mott, P.E. (1972). The Characteristic of Effective Organization. New York: Harper and Row.

Pearsons, T. (1960). Structure and Process in Modern Societies. New York: The Press Clench.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd. New York: Harper and Row Publications.