การจัดทำบัญชีของวิสาหกิจชุมชนแปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหาร ในจังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

ไพโรจน์ พรเจริญ

บทคัดย่อ

            งานวิจัยนี้นำเสนอการจัดทำบัญชีของวิสาหกิจชุมชนแปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหารในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวปฏิบัติและสภาพของการจัดทำบัญชีของวิสาหกิจชุมชนแปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหารในจังหวัดเพชรบูรณ์  2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำบัญชีของวิสาหกิจชุมชนแปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหารในจังหวัดเพชรบูรณ์


            วิธีดำเนินการวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนประกอบด้วย 1) ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้ข้อมูลประกอบการออกแบบเครื่องมือที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล 2) สร้างเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลจากกรอบแนวคิด และการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง และ 3) การวิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ ค่าสถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหารในจังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 165 แห่ง ตามข้อมูลที่ได้จดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนที่เกษตรจังหวัดเพชรบูรณ์ข้อมูล ณ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558


            ผลการวิจัย พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 31-40 ปี สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษา มีประสบการณ์ด้านการจัดทำบัญชีเฉลี่ย 1-5 ปี มีประสบการณ์ในการเข้ารับการฝึกอบรม 1 ครั้งต่อปี  วิสาหกิจชุมชนมีสมาชิกจำนวน 1 ถึง 10 คน มีทุนจดทะเบียนอยู่ระหว่าง 10,000 ถึง 50,000 บาท  แนวทางปฏิบัติในการจัดทำบัญชี โดยส่วนใหญ่วิสาหกิจชุมชนมีการจัดทำบัญชี สมุดบัญชี และเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี คือ สมุดเงินสดรับ-จ่าย ทะเบียนสมาชิกและหุ้น และทะเบียนคุมวัตถุดิบ สมุดบัญชีย่อยลูกหนี้ ออกใบเสร็จรับเงิน และทะเบียนคุมสินค้า มีการจัดทำบัญชีด้วยมือ  มีการบันทึกบัญชีรายรับ-รายจ่ายทุกครั้งเมื่อเกิดรายรับและทุกครั้ง  เมื่อเกิดรายจ่ายมีวิสาหกิจชุมชนจำนวน 165 แห่งคิดเป็นร้อยละ 100  มีการจัดทำสรุปยอดบัญชีรายรับ-รายจ่าย  ทุกสิ้นเดือนมีวิสาหกิจชุมชนจำนวน 100 แห่งคิดเป็นร้อยละ 60.60 การจัดทำงบการเงินโดยส่วนใหญ่ไม่มีการจัดทำงบการเงินมีวิสาหกิจชุมชนจำนวน 128 แห่งคิดเป็นร้อยละ 77.57  มีการจัดทำงบการเงินทุกปีมีวิสาหกิจชุมชนจำนวน 37 แห่งคิดเป็นร้อยละ 22.42   และการนำข้อมูลทางการบัญชีมาใช้ประโยชน์ในการวางแผนดำเนินกิจการต่อไปมีวิสาหกิจชุมชนจำนวน 55 แห่งคิดเป็นร้อยละ 33.33  การนำข้อมูลประกอบการบริหารงานในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีวิสาหกิจชุมชนจำนวน 18 แห่งคิดเป็นร้อยละ 10.90  มีระดับปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำบัญชีโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย3.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.978

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ไพโรจน์ พรเจริญ, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

อาจารย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

References

ชาญชัย มะโนธรรม. (2558, มกราคม-มิถุนายน). ศึกษาการจัดทำบัญชีของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ตามแนวทางของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 25(1).

ประนอม คำผา. (2549). สภาพปัญหาทางด้านการบัญชีของสถานประกอบการประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(รายงานผลการวิจัย). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

มยุรี บุญโต. (2553). การจัดทำบัญชีธุรกิจชุมชนในจังหวัดอุทัยธานี(รายงานผลการวิจัย). นครสวรรค์:คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์

วัชรี ฮั่นวิวัฒน์. (2554). ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำบัญชี วิสาหกิจชุมชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช.

ศิริวรรณ สุ่มเล็ก. (2547). ปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) กรณีศึกษา ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์. (

วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาการบัญชี.

สุภาภรณ์ เพ็งพิศ. (2553). ปัญหาในการจัดทำบัญชีของสำนักงานบัญชีในกรุงเทพมหานคร(รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.