การศึกษาแนวทางการจัดทำเอกสารขนส่งสินค้าขาออก กรณีศึกษาบริษัทเอกชนในเขตสีลม กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

สุนทรี พุฒิวร

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแนวทางการจัดทำเอกสารขนส่งสินค้าขาออก กรณีศึกษา บริษัทเอกชนในเขตสีลม กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขั้นตอนกระบวนการในการจัดทำเอกสารของแผนกขาออก และ เพื่อศึกษาปัญหาในการจัดทำเอกสารใบขนสินค้าขาออกของแผนกเอกสารขาออก เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงวิธีการทำงานใหม่ โดยการนำแนวคิดการปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง หรือแนวคิดไคเซ็น (Kaizen) มาเป็นแนวคิด ในการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในด้านของเวลา และความถูกต้องของเอกสาร คือ ให้มีการตรวจทานใบขนส่งสินค้าให้ถี่ถ้วน โดยการเพิ่มจำนวนครั้งในการตรวจเพิ่มขึ้น รวมถึงให้พนักงานแผนกเอกสารขาออกมีการติดตามประสานงาน และเจรจากับลูกค้าเพื่อขอข้อมูลการส่งออกสินค้า และเอกสารต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบการทำ  ใบขนส่งสินค้าอย่างน้อย 1-2 วันก่อนเรือออก จากการเก็บรวบรวมข้อมูลเวลาการทำงานในแต่ละขั้นตอนการทำงานของพนักงานก่อนการปรับปรุง 1 สัปดาห์ และหลังการปรับปรุงวิธีการใหม่ 1 สัปดาห์ ผลการวิจัยพบว่า หลักการดังกล่าวสามารถลดระยะเวลาการทำงานของพนักงานในการทำงานเอกสารใบขนส่งสินค้าขาออกส่งให้กับลูกค้า จากเดิมใช้เวลาเฉลี่ย 29 ชั่วโมง 50 นาที สามารถลดเวลาโดยเฉลี่ยลงเพียง 7 ชั่วโมงเท่านั้น หลักจากมีการติดตามประสานงาน และการเจรจากับลูกค้าเพื่อขอข้อมูลการส่งออกสินค้าและเอกสารต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบการทำใบขนส่งสินค้าอย่างน้อย 1-2 วัน ก่อนเรือออก สามารถลดระยะเวลาการรอเอกสารจากลูกค้าจากเดิมที่ต้องรอเอกสาร 1-2 วัน ลดเหลือเพียง 4-5 ชั่วโมงโดยเฉลี่ย และในด้านความถูกต้องของเอกสารจากเดิมที่ทำเอกสารใบขนส่งสินค้า จำนวน 40 ชุด มีความผิดพลาดถึง 70% ของงานทั้งหมดใน 1 สัปดาห์ วิธีการปรับปรุงการทำงานใหม่ก็สามารถลดข้อผิดพลาดในการทำเอกสารใบขนสินค้าจำนวน 40 ชุด ได้ถึง 100% ของงานทั้งหมดใน 1 สัปดาห์

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

สุนทรี พุฒิวร, วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, นครปฐม

References

กิตติพงศ์ กลิ่นกุล และมณฑลี ศาสนนนัทน์. (2550). การศึกษาปัจจัยสำคัญแห่งความสำเร็จของกระบวนการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในองค์กรที่บริหารแบบอเมริกันและแบบญี่ปุ่น: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 17(1).

จารุต คงโต. (2551). การศึกษาถึงปัญหาและกำหนดกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการกรณีศึกษา: บริษัท WFS LOGISTICS (THAILAND) CO., LTD. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ฐิติรัตน์ ติยะวิวัฒน์. (2549). การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานปฏิบัติการ กรณีศึกษา: บริษัท ทักจำกัด. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ณัฐกันต์ อ้วนวิจิตร. (2553). การปรับปรุงการทำงานในสายการผลิต กรณีศึกษา: บริษัทไนซ์แอพพาเรล จำกัด.หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (วิศวกรรมอุตสาหะการ), สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหะการและระบบ,คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ประยูร สุรินทร์ และคณะ. (2551). การเพิ่มผลผลิตโดยการปรับปรุงวิธีการทำงาน. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหะการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน.

ภูวนาท เทพศุภร. (2549). ศึกษาความสำเร็จของการปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่องด้วยวิธี Kaizen กรณีศึกษา บริษัท โซนี่ เทคโนโลยี จำกัด. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

รัชพล สิงหฤกษ์. (2551). การศึกษาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ กรณีศึกษา: บริษัท เบสท์ คอมมูเคชั่น จำกัด. กรุงเทพมหานคร, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

วิลาสินี รัตนะรัต. (2549). กลยุทธ์การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารการขนส่งสินค้า กรณีศึกษา: บริษัทเคเอเจนซี่ เวิลด์ เอ็กเปรส (ประเทศไทย) จำกัด. กรุงเทพมหานคร, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ศิริอร คงมนต์. (2550). การศึกษาปัญหาการจัดส่งสินค้าไม่ตรงต่อเวลาและกำหนดกลยุทธ์ เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานที่เหมาะสม กรณีศึกษา: บริษัท KKK จำกัด. กรุงเทพมหานคร.

Ayasanond, C. (2016). Using a Lean Management to Explore the Service Touch Point and Outpatient Satisfaction (The case of Yanhee International Hospital, Bangkok Thailand).[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/16485.aspx. (ที่มา: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, 2560)