รูปแบบการกำจัดขยะอินทรีย์ในครัวเรือนอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลร่องเคาะ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง

Main Article Content

พิรภพ จันทร์แสนตอ
สนธิญา สุวรรณราช
เกศณีย์ สัตตรัตนขจร

บทคัดย่อ

            งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการกำจัดขยะอินทรีย์ในครัวเรือนอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลร่องเคาะ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์นายกองค์การบริหาร ส่วนตำบลร่องเคาะ ผู้นำชุมชน และจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครัวเรือนต้นแบบแต่ละหมู่บ้านจำนวน 17 ครัวเรือน


            ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบการกำจัดขยะอินทรีย์ของชุมชนตำบลร่องเคาะโดยการนำไส้เดือนมาเป็นเครื่องมือในการกำจัดสามารถแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การสร้างองค์ความรู้ ระยะที่ 2 การทดลองโดยต้นแบบครัวเรือน ระยะที่ 3 การติดตามและประเมินผล ระยะที่ 4 การถอดบทเรียน หลังจากดำเนินการตามรูปแบบแล้วพบว่าวิธีการที่เหมาะสมเกี่ยวกับการกำจัดขยะอินทรีย์ในครัวเรือนมี 4 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบที่ 1 ขยะประเภทพืชผลทางการเกษตร กำจัดโดยการทำน้ำหมัก รูปแบบที่ 2 ขยะประเภทน้ำแกง กำจัดโดยนำไปทิ้งในถังหลุมที่มี  ตระแกรงรองรับเศษอาหาร ซึ่งเรียกว่า “มหัศจรรย์ถังน้ำแกงแห่งร่องเคาะ” รูปแบบที่ 3 ขยะประเภทเศษอาหาร กำจัดโดยการนำไปเลี้ยงสัตว์ นำไปฝังกลบเพื่อทำปุ๋ยชีวภาพ รูปแบบที่ 4 ขยะประเภทเศษผัก เศษผลไม้ กำจัดโดยการนำไปเลี้ยงไส้เดือน และสร้างจุดเรียนรู้ร่วมทั้งเครือข่ายการเลี้ยงไส้เดือนเพื่อกำจัดขยะอินทรีย์ เรียกว่า เครือข่าย “ไส้เดือนรักษ์โลก”

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

พิรภพ จันทร์แสนตอ, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

สนธิญา สุวรรณราช, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

เกศณีย์ สัตตรัตนขจร, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

อาจารย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

References

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2559). แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559 – 2564). กรุงเทพฯ: แอคทีฟพริ้นท์ จำกัด

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2544). ชุมชนนิยม: ฝ่าวิกฤตชุมชนล่มสลาย. กรุงเทพฯ: เอเชียนเพลส.

ณรงค์ศักดิ์ จักรกรณ์. (2548). แนวทางการพัฒนาระบบบริหารจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครสู่ความเป็นเลิศด้านการวิจัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร.

ถวิลวดี บุรีกุล. (2548). การมีส่วนร่วม: แนวคิด ทฤษฎีและกระบวนการ. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ปภาวรินท์ นาจำปา. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลคลองใหญ่อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด. (การค้นคว้าอิสระ). มหาวิทยาลัยบูรพา, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ,รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.

วีรกาล อุปนันท์. (2556). การศึกษาแนวทางการกำจัดขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนยอ อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา. (การค้นคว้าอิสระ). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, บัณฑิตวิทยาลัย, วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต.

อรทัย ก๊กผล. (2556). การบริหารปกครองสาธารณะ: การบริหารรัฐกิจในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้ง2ปทุมธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต.

Reeder, W. (1973). Beliefs, disbelief’s and social action. New York: University of Nissouri.