การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ที่บูรณาการศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อสร้างรูปแบบการเรียนรู้ที่บูรณาการศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาความสามารถในการสอนคิดวิเคราะห์ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้ที่บูรณาการศาสตร์พระราชาพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการ ในการคิดวิเคราะห์ โดยการสนทนากลุ่ม ครูและนักเรียน จำนวน 20 คน ขั้นตอนที่ 2 เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการเรียนรู้ โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ประเมินความเหมาะสมและสอดคล้องของรูปแบบ ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบกลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 จำนวน 30 คน ขั้นตอนที่ 4 การประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาครูที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 1 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุป ขั้นตอนที่ 2 แบบประเมินความเหมาะสมและสอดคล้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (X-bar) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ขั้นตอนที่ 3 แบบประเมินความสามารถในการคิดวิเคราะห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (X-bar) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และหาค่าสถิติทดสอบที ขั้นตอนที่ 4 แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (X-bar) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า
1) การศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ พบว่า สภาพการจัดการเรียนการสอน มีการดำเนินการหลายรูปแบบ ได้แก่ การพัฒนาโรงเรียนต้นแบบ การพัฒนาครู การจัดทำหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กิจกรรมพัฒนานักเรียน และมีการสอดแทรกในการจัดการเรียนรู้ มีแผนการจัดการเรียนรู้และการวัดและประเมินผลแต่ไม่ครบทุกชั้นเรียน ไม่มีการวัดและประเมินผลด้านการคิดวิเคราะห์ที่ชัดเจน
2) ผลการสร้างและตรวจสอบคุณภาพของสร้างรูปแบบการเรียนรู้มี 5 องค์ประกอบได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) สาระการเรียนรู้ 4) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน (APPEAR STEP) มีขั้นตอนย่อย ได้แก่ (1) ขั้นตระหนักในความสำคัญ (Awareness) (2) ขั้นนำเสนอบทเรียน(Lesson Presentation) (3) ขั้นฝึกปฏิบัติ/สร้างสรรค์ชิ้นงาน (Practice and Create work) (4) ขั้นประเมินผล (Evaluation) (5) ขั้นคิดวิเคราะห์และนำไปใช้ (Analysis thinking and Application) (6) สะท้อนผลการเรียนรู้และรายงานผล (Reflective and Report) และ 5) การวัดและประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบ โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน พบว่ามีความเหมาะสม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ภาพรวมระดับมาก (X-bar= 4.38, S.D=. 0.59 ) และมีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80-1.00
- ผลการทดลองใช้รูปแบบใช้รูปแบบการเรียนรู้ที่บูรณาการศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ พบว่าความสามารถในการคิดวิเคราะห์ หลังการใช้รูปแบบ สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อรูปแบบการเรียนรู้พบว่า ภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมาก (X-bar= 4.05, S.D =. 0.71)
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
References
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2548). การคิดเชิงวิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศศิธร ขันติธรางกูล. (2551). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้และการจัดการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาทของสถานศึกษาในจังหวัดเลยเลย(รายงานผลการวิจัย). เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
สิทธิพล อาจอินทร์. (2554, มกราคม). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิดวิเคราะห์กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. วารสารวิจัย มข., 16(1).
สำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาจังหวัดเพชรบูรณ์เขต 1. (2560). รายงานผลการติดตามการจัดการศึกษาประจำปี 2560. เพชรบูรณ์: กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการศึกษา.
อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์. (2555). แนวความคิดเรื่องสมรรถนะเรื่องเก่าที่เราหลงทาง. จุฬาลงกรณ์วารสาร, 16(64), 57-78.
Bloom, B S. (1956). Taxonomy of Educational Objectives, the classification of educational goals. Handbook I: Cognitive Domain. New York: McKay.
Eisner, E. (1976). Education connoisseurship and criticism: Their form and function in education evaluation. Journal of Aesthetic Education.
Glaser, Robert. (1968). A dapting the Elementary School Curriculum to Individual Performance, in Mastery Learning : Theory and Practice. 118-119, ed. by Jamws H. Block. New York: Holt, Rinehart and Winston, Inc.
Joyce, Bruce R., & Weil, Marsha. (1996). Models of Teaching. Boston: Allyn and Bacon.
Mager, R. & K. Beach. (1967). Developing Vocational Instruction. California: Pitman Learning.
Marzano, Robert J. (2001). Desinging A New Taxonomy of Educational Objectives. California: Corwin Press, Inc.
Simpson, D. (1972). Teaching physical education: A system approach. Boston: Houghton Mufflin.