การวิจัยเพื่อพัฒนาและประเมินเครื่องมือวัดพฤติกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อมของเยาวชนในชุมชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเพื่อพัฒนาและประเมินเครื่องมือวัดพฤติกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจของแบบวัดพฤติกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อม และ 2) วิเคราะห์ประกอบเชิงยืนยันของแบบวัดพฤติกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยทำการสุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีแบบหลายขั้นตอนกำหนดโควตา (Multi-stage Quota Random Sampling) กลุ่มตัวอย่าง คือ เยาวชนในชุมชน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ จำนวน 400 คน 2) กลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน จำนวน 400 คน รวมทั้งสิ้น 800 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบวัดมาตรประเมินรวมค่า ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ผล โดยแบบวัดพฤติกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อม มีพิสัยค่าอำนาจจำแนกของแบบวัดอยู่ระหว่าง 2.56-7.77 และค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดเท่ากับ 0.86
ผลการวิเคราะห์พบว่า การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ มีองค์ประกอบทั้งหมด 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การร่วมกิจกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อม จำนวน 5 ข้อ ค่า Eigenvalue เท่ากับ 4.94 ค่า Cumulative % เท่ากับ 29.09 2) การทำลายสิ่งแวดล้อม จำนวน 5 ข้อ ค่า Eigenvalue เท่ากับ 3.41 ค่า Cumulative % เท่ากับ 49.15 3) การลดการทำลายสิ่งแวดล้อม จำนวน 4 ข้อ ค่า Eigenvalue เท่ากับ 1.47 ค่า Cumulative % เท่ากับ 57.78 และ 4) การประหยัดน้ำ จำนวน 3 ข้อ ค่า Eigenvalue เท่ากับ 1.06 ค่า Cumulative % เท่ากับ 63.99 รวมทั้งสิ้น 17 ข้อ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า โมเดลกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ Chi-square/ df = 1.28 RMSEA = .026 NFI = .98 CFI = 1.00 GFI = .97 AGFI = .94
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
References
พวงพรภัสสร์ วิริยะ, นาวิน มีนะกรรณ, พิพัฒน์ นนทนาธรณ์ และทิพย์รัตน์ เลาหวิเชียร. (2560). การวิเคราะห์โมเดลองค์ประกอบของปัจจัยการตลาดเพื่อสังคมที่มีต่อพฤติกรรมการซื่อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคในประเทศไทย. วารสารสมาคมวิจัย, 22(1), 67-80.
ไพฑูรย์ พิมดี. (2559). พฤติกรรมการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของนักศึกษา: การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ., 39(3), 317-326.
ศรัญญา เนียมฉาย และประสพชัย พสุนนท์. (2563). การวิเคราะห์องค์ประกอบการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการจัดการแหล่งท่องเที่ยว กรณีศึกษา ตลาดโบราณบางพลี อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(1), 95-108.
Bentler, P.M. (1990). Comparative fit indexes in structural model. Psychological Bulletin, 107, 238-246.
Bentler, P.M., & Bonett, D.G. (1980). Significance tests and goodness-of-fit in the analysis of covariance structures. Psychological Bulletin, 88, 588-600.
Browne, M. W., & Cudeck, K. (1993). Alternative ways of assessing model fit. California: Sage.
Hair, J. F. (2010). Multivariate data analysis: A global perspective. 7th ed. New Jersey: Pearson Prentice Hall.
Joreskog, K. G., & Sorbom, D. (1989). LISREL 7: User’s reference guide. Chicago: SPSS Publications.
Matt, S., Adnan, M., Abdullah, M., Ahmad, C. & Puteh, M. (2015). Confirmatory Factor Analysis of Learning Environment Intrument among High Performance School Student. Creative Education, 6, 640-646.