ผลของการออกกำลังกายด้วยการเดินที่มีต่อเปอร์เซ็นต์ไขมัน มวลไขมันของแขน ขา และลำตัว ของร่างกายในผู้หญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกิน

Main Article Content

สุพล เพ็ชรบัว
นิติพันธ์ บุตรฉุย

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการออกกำลังกายด้วยการเดินที่มีต่อเปอร์เซ็นต์ไขมัน มวลไขมันของแขน ขา และลำตัวของร่างกายในผู้หญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นผู้หญิง อายุระหว่าง 18-23 ปี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 30 คน และแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 15 คน ได้แก่ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยเข้ารับโปรแกรมออกกำลังกายตามหลักความก้าวหน้าด้วยการเดินเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน และนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของเปอร์เซ็นต์ไขมัน มวลไขมันของแขน ขา และลำตัวของร่างกาย ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้สถิติ Paired sample t-test และ Independent sample t-test กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


            ผลการวิจัยพบว่า


            1)  เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเปอร์เซ็นต์ไขมัน มวลไขมันของแขน ขา และลำตัวของร่างกายก่อนและหลังการฝึกด้วยโปรแกรมออกกำลังกายตามหลักความก้าวหน้าด้วยการเดินของกลุ่มทดลอง พบว่า ค่ามวลไขมันแขนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 1.133, p = 0.276) แต่ในส่วนของค่าเปอร์เซ็นต์ไขมัน (t = 2.690, p = 0.026) มวลไขมันขา (t = 2.978, p = 0.010) และมวลไขมันลำตัว (t = 3.586, p = 0.003) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


            2)  เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเปอร์เซ็นต์ไขมัน มวลไขมันของแขน ขา และลำตัวของร่างกาย ระหว่างกลุ่มที่ฝึกโปรแกรมออกกำลังกายตามหลักความก้าวหน้าด้วยการเดิน และกลุ่มที่ไม่ได้รับการฝึก พบว่า ค่ามวลไขมันแขนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 0.454, p = 0.332) แต่ในส่วนของค่าเปอร์เซ็นต์ไขมัน (t = 3.247, p = 0.006) มวลไขมันขา (t = 2.439, p = 0.031) และมวลไขมันลำตัว (t = 1.914, p = 0.015) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์ และสิทธา พงษ์พิบูลย์. (2554). สรีรวิทยาการออกกำลังกาย. กรุงเทพฯ: ตีรณสาร.

นฤมล ลีลายุวัฒน์. (2553). สรีรวิทยาการออกกำลังกาย (Physiology of exercise). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ประทุม ม่วงมี. (2527). รากฐานทางสรีรวิทยาของการออกกำลังกายและการพลศึกษา. กรุงเทพฯ: บูรพาสาส์น.

พูลสมบัติ เยาวพงษ์. (2554). ผลการฝึกโปรแกรมการออกกำลังกายแบบแอโรบิคที่มีต่อภาวะน้ำหนักเกินของนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนปราโมชวิทยารามอินทรา กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาพลศึกษา.

วนิดา พันธ์สอาด. (2555). โรคอ้วนในวัยทำงาน. วารสารวิชาการ สถาบันการพลศึกษา, 4(1), 165-174.

วิชัย เอกพลากร. (บก.). (2553). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 (สุขภาพเด็ก). นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

__________. (2557). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2553). แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและดูแลรักษาโรคอ้วน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สนธยา สีละมาด. (2557). กิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาวะ = Physical activities for wellness. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2557). แนวทางการควบคุมป้องกันภาวะอ้วนในเด็กนักเรียน. นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

__________. (2558). แนวทางการคัดกรองส่งต่อและแก้ปัญหาเด็กอ้วนกลุ่มเสี่ยงในสถานศึกษา สถานบริการสาธารณสุขและคลินิก DPAC. นนทบุรี: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

สิทธา พงษ์พิบูลย์. (2555). การป้องกันและบำบัดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังด้วยการออกกำลังกาย. โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สุดารัตน์ วาเรศ. (2556). ผลการออกกำลังกายด้วยการเดินที่มีต่อดัชนีมวลกายและเปอร์เซ็นไขมันของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาการจัดการเรียนรู้พลศึกษา.

เสก อักษรานุเคราะห์. (2534). การออกกำลังกายสายกลางเพื่อสุขภาพและชะลอความแก่. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Hong, H. R., Jeong, J. O., Kong, J. Y., Lee, S. H., Yang, S. H., Ha, C. D., & Kang, H. S. (2014). Effect of walking exercise on abdominal fat, insulin resistance and serum cytokines in obese women. Journal Exercise Nutrition & Biochemistry, 18(3), 277-285.

Jinajin, S. & Kritpet, T. (2008). Effect of walking on health-related physical fitness in overweight working group. Journal of Sports Science and Health, 9(2), 48-62.

Kenneth, H. C., & Mildred, C. (1988). The New Aerobic for Women for Women. New York: Bantam Book.

Melam, G. R., Alhusaini, A. A., Buragadda, S., Kaur, T., & Khan, I. A. (2016). Impact of brisk walking and aerobics in overweight women. The Journal of Physical Therapy Science, 28(1), 293-297.

Miller, W. C., Koceja, D. M., & Hamilton, E. J. (1997). A meta-analysis of the past 25 years of weightLoss research using diet, exercise or diet plus exercise intervention. International Journal of Obesity, 21(10), 941-947.