วิถีชีวิตที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านชาวลาหู่ ชุมชนป่าคาสันติสุข บ้านแม่แจ๋ม อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง

Main Article Content

สุประวีณ์ แสงอรุณเฉลิมสุข

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์วิถีชีวิตที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านชาวลาหู่ ชุมชนป่าคาสันติสุข บ้านแม่แจ๋ม อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง ผลการวิจัยพบว่า วิถีชีวิตที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านชาวลาหู่ ชุมชนป่าคาสันติสุข แบ่งได้เป็น 5 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านความเชื่อ แบ่งได้ 7 ประเภท คือ ความเชื่อดั้งเดิม ความเชื่อทางไสยศาสตร์ ความเชื่อเรื่องคำสาปแช่ง ความเชื่อเรื่องกรรม ความเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด ความเชื่อเรื่องโชคลาง และความเชื่อเกี่ยวกับศาสนาคริสต์  2. วิถีชีวิตด้านค่านิยม แบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้ ค่านิยมต่อตนเอง พบ 3 ด้าน คือ ความกล้าหาญ  เคารพกฎหมาย และความไม่ประมาท และค่านิยมต่อสังคม พบ 4 ด้าน คือ ความกตัญญู การรักษาสัจจะ ผู้ชายเป็นผู้นำ และความสามัคคี  3. การปกครอง แบ่งได้ 2 ประเภท คือ อำนาจของผู้ปกครอง และคุณสมบัติของผู้นำ  4. การประกอบอาชีพ พบเพียงด้านเดียวคืออาชีพแบบดั้งเดิมเพื่อดำรงชีพ ได้แก่ การปลูกข้าว การล่าสัตว์ การทำสวนผลไม้ การหาของป่า การหาปลา และการเกี่ยวหญ้าคา และ 5. ด้านครอบครัว แบ่งได้ 3 ประเด็น คือ การเลี้ยงดูบุตร การครองเรือน และหน้าที่ของบุตร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขจัดภัย บุรุษพัฒน์. (2538). ชาวเขา. กรุงเทพฯ: แพร่พิทยา.

จงรักษ์ รัตนวิฑูรย์ และสนมครุฑเมือง. (2560, กรกฎาคม-ธันวาคม). การวิเคราะห์นิทานพื้นบ้านชาวเขาเผ่าม้งในจังหวัดน่าน. วารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน, 8(2), 41-61.

ประยูร ทรงศิลป์ และทรงธรรม ปานสกุณ. (2558, พฤษภาคม-สิงหาคม). แหล่งประวัติศาสตร์และโบราณคดีในนิทานพื้นบ้านเขมร. วารสาร Veridian E Journal สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(2), 2616-262.

มัทนา ขุนศรี, บุญเหลือ ใจมโน และสนม ครุฑเมือง. (2564, มกราคม-มิถุนายน). นิทานพื้นบ้านไทยและเมียนมา: การศึกษาเปรียบเทียบกลวิธีการเล่าเรื่อง และกฎเกณฑ์นิทานพื้นบ้านของเอกเซล โอลริค. พิฆเนศวร์สาร, 17(1), 27-36.

สุภัทรา บุญปัญญโรจน์. (2558). คติชนสำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เอื้อมพร จรนามล. (2556, กันยายน-ธันวาคม). โลกทัศน์ที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านไทลื้อ อำเภอเชียงคำจังหวัดพะเยา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 1(3), 28-38.

สัมภาษณ์

ดอกคำ ปอส่าง. (2562, 27 เมษายน). ชุมชนป่าคาสันติสุข บ้านแม่แจ๋ม อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง, สัมภาษณ์.

ดอกคำ ปอส่าง. (2562, 28 เมษายน). ชุมชนป่าคาสันติสุข บ้านแม่แจ๋ม อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง, สัมภาษณ์.

ดอกคำ ปอส่าง. (2562, 10 พฤษภาคม). ชุมชนป่าคาสันติสุข บ้านแม่แจ๋ม อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง, สัมภาษณ์.

แตหละ ปอขุน. (2562, 27 เมษายน). ชุมชนป่าคาสันติสุข บ้านแม่แจ๋ม อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง, สัมภาษณ์.

นามี ปอขุน. (2562, 28 เมษายน). ชุมชนป่าคาสันติสุข บ้านแม่แจ๋ม อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง, สัมภาษณ์.

ปะจอง ปอยู. (2562, 28 เมษายน). ชุมชนป่าคาสันติสุข บ้านแม่แจ๋ม อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง, สัมภาษณ์.

เปาล นานานิยม. (2562, 10 พฤษภาคม). ชุมชนป่าคาสันติสุข บ้านแม่แจ๋ม อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง, สัมภาษณ์.

มาลา สานสุทธิวงศ์. (2562, 10 พฤษภาคม). ชุมชนป่าคาสันติสุข บ้านแม่แจ๋ม อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง, สัมภาษณ์.

สรคำ วิวัฒน์พงษ์. (2562, 10 พฤษภาคม). ชุมชนป่าคาสันติสุข บ้านแม่แจ๋ม อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง, สัมภาษณ์.

แสง ก๋อง. (2562, 27 เมษายน). ชุมชนป่าคาสันติสุข บ้านแม่แจ๋ม อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง, สัมภาษณ์.

แสง ก๋อง. (2562, 28 เมษายน). ชุมชนป่าคาสันติสุข บ้านแม่แจ๋ม อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง, สัมภาษณ์.

ลัดดา คำทอง. (2562, 28 เมษายน). ชุมชนป่าคาสันติสุข บ้านแม่แจ๋ม อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง, สัมภาษณ์.

ลัดดา คำทอง. (2562, 10 พฤษภาคม). ชุมชนป่าคาสันติสุข บ้านแม่แจ๋ม อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง, สัมภาษณ์.