ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อลางสาดจังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

ศิริกานดา แหยมคง

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาด พฤติกรรมผู้บริโภคและการตัดสินใจซื้อลางสาดจังหวัดอุตรดิตถ์ และเพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อลางสาดจังหวัดอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริโภคที่ซื้อลางสาดจังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 400 ตัวอย่าง และสุ่มตัวอย่างตามความสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ


            ผลการวิจัยพบว่า โดยภาพรวมผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นต่อส่วนประสมทางการตลาดลางสาดจังหวัดอุตรดิตถ์อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ มีค่าคะแนนสูงสุดอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านราคา และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภคลางสาดจังหวัดอุตรดิตถ์ พบว่า ซื้อลางสาดเพื่อการบริโภคเอง ตัดสินใจซื้อเพราะรสชาติ ซื้อที่ตลาดสด/ตลาดนัด ซื้อครั้งละ 2 กิโลกรัม ตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง ความถี่ในการซื้อน้อยมาก แหล่งข้อมูลข่าวสารจากการแนะนำจากคนรู้จักการตัดสินใจซื้อลางสาดโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการรับรู้ปัญหา มีค่าคะแนนสูงสุดอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านการค้นหาข้อมูลและด้านการประเมินทางเลือก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ส่วนประสมทางการตลาดส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อลางสาดจังหวัดอุตรดิตถ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  ทั้ง 4 ด้าน โดยเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการส่งเสริมการตลาด มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อลางสาดจังหวัดอุตรดิตถ์ มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 34.6 รองลงมาคือ ด้านราคา คิดเป็นร้อยละ 24.1 ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย คิดเป็นร้อยละ 20.5 และด้านผลิตภัณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 15.2 ตามลำดับ ซึ่งสามารถพยากรณ์ทำนายปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อลางจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้ร้อยละ 65.60

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมประชาสัมพันธ์. (2563). มูลค่าการผลิตลางสาด ลองกอง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG200922172924454. (วันที่ค้นข้อมูล: 10 พฤศจิกายน 2564).

จังหวัดอุตรดิตถ์. (2564). ประวัติความเป็นมาของจังหวัด. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www2.uttaradit.go.th/frontpage. (วันที่ค้นข้อมูล: 15 ตุลาคม 2563).

ดลนัสม์ โพธิ์ฉาย. (2562). ปัจจัยทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจบริโภคผลไม้พรีเมี่ยมกรณีศึกษาผู้บริโภคในอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปกร.

ภรณี แย้มพันธ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้แปรรูปตราดอยคำ. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อาน แปลงดี. (2564). ลองกองทำเงิน กลางสวนผสมผสาน ที่เมืองลับแล. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www. technologychaoban.com/bullet-news-today/article_185320. (วันที่ค้นข้อมูล: 25 กรกฎาคม 2564).

พิทักษ์ ชูมงคล. (2563). การวิจัยตราสินค้า Brand Research. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัชราภรณ์ สุริยาภิวัฒน์. (2556). วิจัยธุรกิจยุคใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วุฒิ สุขเจริญ. (2561). วิจัยการตลาด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.

สำนักงานจังหวัดอุตรดิตถ์. (2564). แผนพัฒนาจังหวัดอุตรดิตถ์ (พ.ศ.2561-2565) ฉบับทบทวน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.uttaradit.go.th/utt new/img/file/_แผนพัฒนาจังหวัดอุตรดิตถ์%202561-2565. (วันที่ค้นข้อมูล: 11 กุมภาพันธ์ 2564).

อดุลย์ ก๋องระบาง. (2549). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อผลไม้สดของผู้บริโภคในตลาดสดแม่ริม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้าแบบอิสระ หลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อาทิตย์ อุทธวัง. (2550). พฤติกรรมของผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อผลไม้สดตัดแต่งในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ในจังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้าแบบอิสระ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อิราวัฒน์ ชมระกา. (2545). การผลิตและการตลาดลางสาดในจังหวัดอุตรดิตถ์. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒิ.

Best, J. W. (1981). Research in education. New jersey: Prentice-Hall.

Lind, A. D., Marchal, W. G., & Wathen, S. A. (2010). Statistical techniques in business and Economics. New York: McGraw-Hill.

Nunnally, J., & Bernstein, I. (1994). Psychological Methods. New York: McGraw-Hill.

สัมภาษณ์

วาสนา เชื้อมี. (2562, 27 มิถุนายน). เกษตรกรพื้นที่ตำบลแม่พูล ปัญหาการจัดจำหน่ายผลผลิต ลางสาดและลองกอง จังหวัดอุตรดิตถ์, สัมภาษณ์.