การพัฒนาการตลาดสินค้าเกษตรของชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ให้มีศักยภาพการแข่งขันในอาเซียน

Main Article Content

นัทธ์หทัย เถาตระกูล
ภัทรพรรณ วรรณลักษณ์

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาศักยภาพการจัดการสินค้าเกษตรของชุมชนจังหวัดเชียงใหม่  2) เพื่อวิเคราะห์มาตรฐานสินค้าเกษตรพรีเมี่ยมของชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ และ 3) เพื่อพัฒนาการตลาดสินค้าเกษตรของชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ให้มีศักยภาพการแข่งขันในอาเซียน  ทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 6 อำเภอ 14 ชุมชน 18 ผลิตภัณฑ์ ที่มีความพร้อมที่จะพัฒนาศักยภาพด้านการตลาดสินค้าเกษตรเพื่อเข้าสู่ประชมคมอาเซียน  โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบประเมินคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าของกลุ่มเกษตรของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้เกณฑ์การพิจารณาคุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ในการประเมินจัดกลุ่มระดับผลิตภัณฑ์ของแต่ละชุมชนออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ระดับผลิตภัณฑ์พรีเมี่ยม ระดับผลิตภัณฑ์คลาสิค ระดับผลิตภัณฑ์สแตนดาร์ด และระดับผลิตภัณฑ์ดาวเด่น และแบบสัมภาษณ์ ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ทั้ง 18 ผลิตภัณฑ์ แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ประกอบด้วย 1) ระดับพรีเมี่ยม จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์  2) ระดับคลาสิค จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์  3) ระดับสแตนดาร์ด จำนวน 12 ผลิตภัณฑ์ และ 4) ระดับดาวเด่น  ไม่พบผลิตภัณฑ์ถูกจัดอยู่ในกลุ่มนี้ ทั้งนี้ ผลการวิเคราะห์ระดับตลาดผลิตภัณฑ์เกษตรกร พบว่า กลุ่มผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ทั้ง 18 ผลิตภัณฑ์ อยู่ในตลาดระดับประเทศ โดยแต่ละผลิตภัณฑ์จำเป็นต้องพัฒนาการดำเนินงานบางประการ เพื่อยกระดับเป็นสินค้าระดับพรีเมี่ยมอย่างสมบูรณ์และมีความพร้อมสำหรับการก้าวไปสู่ตลาดอาเซียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลทิพย์ คำใจ. (2561). การวิจัยเพื่อพัฒนาการตลาดสินค้าเกษตรของชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ให้มีศักยภาพการแข่งขันในอาเซียน(รายงานผลการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

กรมการพัฒนาชุมชน. (2560). หลักเกณฑ์และแนวทางการใช้เครื่องหมายผลิตภัณฑ์ OTOP. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://district.cdd.go.th/wanyai/wp-content/uploads/sites. (วันที่ค้นข้อมูล: 2 มีนาคม 2562).

กรมพัฒนาอาชีพ. (2558). ความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dsd.go.th/DSD/Home. (วันที่ค้นข้อมูล: 1 มีนาคม 2562).

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (2557). เปิดประตูสินค้าเกษตรไทย..สู่เศรษฐกิจอาเซียน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view.php. (วันที่ค้นข้อมูล: 2 มีนาคม 2562).

จุไรรัตน์ แสงบุญนำ. (2558). การเตรียมความพร้อมของข้าราชการเมื่อเข้าสู่ข้อตกลงของ ประชาคมอาเซียน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://personnel.obec.go.th/personnel. (วันที่ค้นข้อมูล: 1 มีนาคม 2562).

นุชจารี กล้าหาญ และสุดาพร สาวม่วง. (2557, มกราคม). กลยุทธ์การตลาดส่งออกเครื่องสำอางจากธรรมชาติของประเทศไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 6(1), 73-86.

พงศ์ศรันย์ พลศรีเลิศ. (2555). ตัดสินใจในมุมมองของลูกค้าต้องมาก่อนมุมมองด้านการเงิน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.phongzahrun.wordpress.com. (วันที่ค้นข้อมูล: 3 พฤษภาคม 2562).

ลักษณ์ วจนวัช. (2561). กระทรวงเกษตรฯ เปิดตัวแหล่งจำหน่ายสินค้า “ออร์แกนิก” มาตรฐาน 149 สาขาทั่วประเทศตอบโจทย์ผู้บริโภครักสุขภาพ ชี้เป้าเข้าถึงสินค้าคุณภาพ ปลอดภัย พร้อมขยายช่องทางตลาดช่วยผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

วิรัชนี โลหะชุมพล. (2561). แนวทางการรับรองเกษตรอินทรีย์ในระบบสากล และการแสดงฉลากสินค้าเกษตรอินทรีย์. สำนักกำหนดมาตรฐาน สำนักมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ.

ศราวุธ แก่นแก้ว และนวลฉวี แสงชัย. (2560, กรกฎาคม-ธันวาคม). ความพร้อมของกิจการในการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ: กรณีศึกษาผู้ส่งออกข้าวหอมมะลิ จังหวัดยโสธร. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 27(2), 81-98.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ศุภร เสรีรัตน์ และปริญ ลักษิตานนท์. (2560). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: Diamond In Business World.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว). (2561). เกษตรแปรรูปออนไลน์ เทคโนโลยีเพิ่มมูลค่าสร้างรายได้ให้เกษตรกร. งานพัฒนาองค์ความรู้สําหรับ SME (Knowledge Center).